รีเซต

รู้จักภาวะเลือดเป็นกรด อาการที่เกิดขึ้นกับภรรยา หม่ำ จ๊กมก

รู้จักภาวะเลือดเป็นกรด อาการที่เกิดขึ้นกับภรรยา หม่ำ จ๊กมก
NewsReporter
30 มีนาคม 2565 ( 10:22 )
652

จากข่าวที่ มด เอ็นดู วงษ์คำเหลาภรรยาสุดที่รักของ  ‘หม่ำ จ๊กมก’ ถูกหามส่งโรงพยาบาลด่วน โดยในอินสตาแกรม @motjokmok ได้เผยภาพ มด ที่นอนอยู่โรงพยาบาล และมีแคปชั่นว่า "เพลีย ทานข้าวไม่ได้ นอนไม่หลับ ความดันตก เลือดเป็นกรด เลือดเหลือแค่ 20กว่าๆ เครียด พักยาวเลย" วันนี้ TrueID จะพาไปรู้จักกับอาการดังกล่าวว่ามีสาเหตุมาจากอะไร

 

ภาวะ เลือดเป็นกรด คืออะไร?

เลือดเป็นกรด คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับคีโตน และน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ ซึ่งเกิดมาจากการที่ร่างกาย ไม่สามารถใช้พลังงานจากน้ำตาลได้ ตับ จึงทำหน้าที่เผาผลาญไขมัน เพื่อให้เกิดพลังงานขึ้นทดแทน พลังงานเหล่านั้นเรียกว่า คีโตน (Ketone) โดยร่างกาย จะปล่อยคีโตนที่ได้ เข้าสู่กระแสเลือด เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงาน โดยกระบวนการนี้ถูกเรียกว่า คีโตซิส (Ketosis)  มักเกิดกับผู้ป่วยเบาหวาน ประเภทที่ 1 (ผู้ป่วยที่ต้องฉีดอินซูลิน)

 

อาการของ ภาวะคีโตเอซิโดซิส

  • มีระดับน้ำตาล และระดับคีโตนในเลือด หรือปัสสาวะสูง
  • กระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย
  • ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
  • หายใจเร็ว ลมหายใจกลิ่นเหมือนผลไม้
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • น้ำหนักลด เหนื่อย ซึมลง

 

หากไม่ได้รับการรักษา อาการดังกล่าวจะค่อย ๆ รุนแรงขึ้น ผิวหนังจะแดงและแห้ง มีอาการเหม่อลอย ไม่ได้สติ ไม่รู้สึกตัว ช็อกหมดสติ และอาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

ป้องกันภาวะ เลือดเป็นกรด ได้อย่างไรบ้าง?

แม้ว่าภาวะเลือดเป็นกรด มักเกิดขึ้น ในผู้ป่วยผู้ป่วยเบาหวาน ประเภทที่ 1 แต่ไม่ได้แปลว่าผู้ป่วยเบาหวานประเภทอื่น จะไม่มีโอกาสเป็น ดังนั้น การคอยติดตาม ระดับค่าคีโตน เป็นเรื่องที่ดีที่สุดค่ะ เพราะในบางครั้ง การกินยารักษาเบาหวาน อาจไม่เพียงพอต่อการควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือด หากเมื่อไหร่ชะล่าใจ ไม่ได้กินยา หรือลืมกินยาไป ก็อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง จนเข้าสู่ระดับอันตรายได้  ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานประเภทอื่น อาจจะเลือกตรวจค่าคีโตน เมื่อมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงก็ได้

 

เราสามารถตรวจสอบระดับคีโตนได้ ด้วยการใช้แผ่นทดสอบคีโตน ตรวจค่าคีโตนจากปัสสาวะ มาเปรียบเทียบกับตารางสี ที่ได้มากับชุดทดสอบ แต่ปัจจุบัน เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือดบางรุ่น สามารถวัดค่าคีโตนได้ โดยจะแสดงผลออกมาบนหน้าจอ ไม่ต้องเปรียบเทียบสีเหมือนวิธีใช้แผ่นทดสอบคีโตน ซึ่งผู้ป่วยเบาหวาน ที่ต้องวัดระดับน้ำตาลในเลือด เป็นประจำอยู่แล้ว จะเหมาะกับการใช้ เครื่องวัดระดับน้ำตาล ที่มีการแสดงค่าคีโตน เพราะว่าจะช่วยลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก และลดค่าใช้จ่ายลงได้เยอะเลย

 

ดูแลตัวเองอย่างไรไม่ให้ เลือดเป็นกรด ?

  1. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในระดับปกติเสมอ หากไม่สามารถควบคุมได้ ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็วที่สุด

  2. หมั่นสังเกตค่าคีโตนเป็นประจำ หรือตรวจสอบ เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 240 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

  3. ถ้าพบค่าคีโตน หรือระดับน้ำตาลในเลือดสูง ให้หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย

  4. ผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องฉีดอินซูลิน ควรปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด

  5. ไม่ควรงดอาหาร แต่ให้เลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และโภชนาการ

  6. หากสังเกตว่ามีสัญญาณผิดปกติ เช่น ปัสสาวะบ่อยมาก อาเจียน มีอาการเหม่อลอย ให้ปรึกษาแพทย์ทันที

 

วิธีการรักษาภาวะเลือดเป็นกรด

ภาวะเลือดเป็นกรดสามารถรักษาได้เมื่อทราบสาเหตุที่เกิดอย่างแท้จริง โดยเน้นให้ค่าความเป็นกรดด่างหรือค่าพีเอชกลับมาอยู่ในภาวะปกติ วิธีการรักษาจึงขึ้นอยู่กับสาเหตุ ประเภท และระดับความรุนแรงของภาวะนี้เป็นหลัก

 

ภาวะกรดจากระบบหายใจ

แพทย์จะรักษาโดยพยายามช่วยให้ปอดกลับมาทำงานได้ตามปกติและแก้ไขสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด อาจให้ยาขยายทางเดินหายใจ ให้ออกซิเจน หรือใช้เครื่องช่วยหายใจแก่ผู้ป่วยที่มีสิ่งอุดกั้นทางเดินหายใจหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง

 

ภาวะกรดจากกระบวนการเผาผลาญ

จะมีวิธีรักษาแตกต่างออกไปตามสาเหตุของโรคหรือภาวะความผิดปกตินั้นๆ เช่น

  • ภาวะเลือดเป็นกรดร่วมกับคลอไรด์ในเลือดสูง และภาวะเลือดเป็นกรดจากไตล้มเหลว ผู้ป่วยอาจจะต้องรับประทานยาโซเดียมไบคาร์บอเนต
  • ภาวะเลือดเป็นกรดจากการคั่งของสารคีโตซีสในผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยอาจได้รับน้ำเกลือทางหลอดเลือดหรืออินซูลิน เพื่อช่วยปรับสมดุลความเป็นกรดด่างในเลือด
  • ภาวะเลือดเป็นกรดจากกรดแลคติกในเลือดสูง แพทย์อาจให้รับประทานโซเดียมไบคาร์บอเนต ให้น้ำเกลือ ออกซิเจน หรือสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะ ขึ้นอยู่กับสาเหตุหลัก

 

อาหารที่กินแล้วทำให้เลือดเป็นกรด

  • อาหารประเภทแป้งและคาร์โบไฮเดรต โดยเฉพาะอย่างยิ่งแป้งที่ผ่านการขัดสีแล้วจะยิ่งมีความเป็นกรดมากขึ้น
  • อาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาล โดยเฉพาะน้ำตาลทรายขาว ขนมหวาน น้ำอัดลม
  • ของหมักดอง น้ำส้มสายชู
  • น้ำชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่แอลกอฮอล์
  • เนื้อสัตว์ทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ รวมไปถึงนมวัว
  • อาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผงชูรส ลืมผสมอาหาร อาหารที่ทอดด้วยน้ำมัน

 

นอกจากนี้ ความเครียดหรือการนอนหลับไม่เพียงพอยังอาจทำให้ร่างกายเกิดสภาวะเป็นพิษและเสียสมดุลได้ ปัจจุบันแม้จะยังไม่มีข้อสรุปความเครียดเพิ่มปริมาณของกรดในร่างกายได้จริงหรือไม่ แต่มีงานวิจัยจากสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะกรดเกิน กระเพาะอาหารหรือกรดไหลย้อนแย่ลง เพราะความเครียดจะทำให้ร่างกายรับภาวะความเป็นกรดได้รวดเร็วมากขึ้น

 

วิธีลดความเสี่ยงภาวะเลือดเป็นกรด

สำหรับวิธีป้องกันภาวะเลือดเป็นกรดนั้นตอนนี้ยังไม่สามารถป้องกันได้เต็มประสิทธิภาพ แต่มีวิธีลดความเสี่ยงจากการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดได้ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้

ภาวะกรดจากระบบหายใจ

  • การรับประทานยาระงับประสาทหรือยานอนหลับ ควรใช้ตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัดและห้ามใช้ควบคู่กับแอลกอฮอล์ เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะสารพิษในบุหรี่จะทำลายปอดและเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจอื่นๆ ตามมา รวมทั้งหายใจได้ลำบากขึ้น
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคอ้วนและปัญหาในการหายใจได้ลำบาก

ภาวะกรดจากกระบวนการเผาผลาญ

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน เพื่อป้องกันอาการขาดน้ำ
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ และติดตามการรักษาสม่ำเสมอซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากการคั่งของสารคีโตนในเลือด
  • ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์เกินปริมาณที่พอดีต่อวัน เพราะการดื่มอย่างหนักจะเพิ่มการสะสมของกรดแลคติกที่มากขึ้นในเลือดและทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ
  • ควรรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ เภสัชกร หรือข้อบ่งใช้บนฉลากยาอย่างเคร่งครัด

 

ข้อมูล: สำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) , tnnthailand

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง