รีเซต

วิวัฒนาการเครื่องวัดแคลอรี จากใช้รังสีอินฟราเรดย่านใกล้สู่แอปพลิเคชั่น

วิวัฒนาการเครื่องวัดแคลอรี จากใช้รังสีอินฟราเรดย่านใกล้สู่แอปพลิเคชั่น
TNN ช่อง16
2 พฤศจิกายน 2565 ( 10:08 )
73

แม้ว่าจะมีตัวเลขแคลอรีระบุอยู่แล้วบนบรรจุภัณฑ์ของอาหารสำเร็จรูป แต่เป็นเรื่องยากที่จะระบุตัวเลขแคลอรีในอาหารปรุงเอง รวมถึงการระบุองค์ประกอบทางโภชนาการด้วย ดังนั้นประเทศญี่ปุ่นจึงได้พัฒนาเครื่องวัดแคลอรีในอาหารเป็นที่แรกของโลกขึ้นมาในปี 2004 ซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างศูนย์เทคโนโลยีอุตสาหกรรมประจำจังหวัดอาโอโมริ และผู้ผลิตชิ้นส่วนเลนส์ในจังหวัดอาโอโมริ

โดยเครื่องวัดแคลอรีในอาหารดังกล่าวมีหน้าตาคล้ายกับเตาอบไมโครเวฟ ซึ่งสามารถระบุตัวเลขแคลอรี และค่าสารอาหาร 3 ชนิด ได้แก่ โปรตีน, ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต อีกทั้งยังสามารถบอกค่าความชื้นและปริมาณแอลกอฮอล์ได้อีกด้วย ในระยะเวลาเพียง 3 - 5 นาที


การวัดด้วยรังสีอินฟราเรดย่านใกล้ (Near Infrared) 

สำหรับหลักการของเครื่องวัดแคลอรีในอาหารนั้น เป็นการใช้รังสีอินฟราเรดย่านใกล้ (Near Infrared หรือ NIR) ในการวัด ด้วยการปล่อยรังสีอินฟราเรดย่านใกล้ไปกระทบกับอาหาร แล้ววัดค่าจากระดับการดูดซึมรังสีของอาหาร หลังจากนั้นค่าที่ได้จะถูกนำไปเทียบกับฐานข้อมูลสำหรับการคำนวณอัตโนมัติที่ป้อนไว้ในคอมพิวเตอร์ของอุปกรณ์ เพื่อแสดงผลออกมาเป็นตัวเลข


โดยฐานข้อมูลสำหรับการคำนวณอัตโนมัตินี้มาจากการตรวจสอบจริงของอาหารประเภทต่าง ๆ ประมาณ 900 ชนิด ซึ่งได้รับการวิเคราะห์ทางเคมีทีละรายการ


แต่เป็นที่น่าเสียดาย เพราะเครื่องวัดแคลอรีของศูนย์เทคโนโลยีอุตสาหกรรมประจำจังหวัดอาโอโมริ และผู้ผลิตชิ้นส่วนเลนส์ในจังหวัดอาโอโมริไม่สามารถบรรลุความต้องการใช้งานในระดับครัวเรือนได้ เนื่องจากราคาขายที่สูง ซึ่งมาจากต้นทุนที่สูงของส่วนประกอบที่สร้างรังสีอินฟราเรดย่านใกล้


แอปพลิเคชันสำหรับวัคแคลอรี 

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเราไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องสำหรับวัดแคลอรีแล้ว เพราะมันได้ถูกพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบของแอปพลิเคชัน ยกตัวอย่างเช่น Bitesnap (ไบต์สแนป), Foodvisor (ฟู้ดไวเซอร์) และอื่น ๆ ซึ่งสามารถตรวจวัดปริมาณแคลอรีในอาหารได้จากภาพถ่าย อีกทั้งแต่ละแอปฯ ยังมีฟีเจอร์ที่แตกต่างกันออกไป เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุมโภชนาการของตนเองได้ตามต้องการ

ข้อมูลและภาพจาก web-japan.org

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง