ข่าวดี!!จีนคุยอาเซียน เตรียมเปิดท่องเที่ยวใช้วัคซีนพาสปอร์ตปรับฐานห่วงโซ่ผลิตในอาเซียนใหม่ 10 มิย.64
การประชุมระหว่างอาเซียนและจีน ปี 2564 มีความพิเศษเพราะเป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ในวาระพิเศษ ครบรอบ 30 ปี ที่นครฉงชิ่ง ประเทศจีน มีนายหวังอี้ รมต.ต่างประเทศเป็นเจ้าภาพ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 7-8 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา
เว็บไซต์ globaltimes รายงานอ้างนักวิเคราะห์ในฝั่งจีนว่า ในช่วงเวลาที่มหาอำนาจสหรัฐและจีน แข่งขันกันดุเดือด แข่งกันเป็นมิตรที่ดีต่ออาเซียน แต่เมื่อหันมาดูความสัมพันธ์ของอาเซียนและจีนจะพบว่า มีความต่อเนื่อง 2 ฝ่ายหารือกัน พูดจากันและร่วมมือกันต่อเนื่อง ไม่เคยสะดุดที่เป็นเช่นนั้น เพราะทุกชาติต้องการให้ภูมิภาคนี้ สงบ มั่นคง ไม่ให้เกิดสงคราม และไม่ชอบให้เกิดการขัดแย้ง
นักวิเคราะห์จีนพูดชัดเจนว่า เจตนาของสหรัฐคือ”การปิดล้อมจีน” อาเซียนเป็น “ภูมิรัฐศาสตร์” สำคัญเพราะที่ตั้งติดอยู่กับจีน อาเซียนตั้งอยู่บนเส้นทางออกทะเลทางตะวันตกของจีน หากอาเซียนตัดสัมพันธ์กับจีนได้ การออกทะเลฝั่งนี้ก็ไม่ง่าย จะส่งผลให้
การค้าที่มีต่อกันไม่ง่าย การลงทุนก็จะยากขึ้น ความมั่งคั่งของจีนก็จะวางแผนได้ยากด้วยแต่ความจริง สถานการณ์ปัจจุบัน ไม่เป็นเช่นนั้น การค้าค้าอาเซียนกับจีน กำลังไปได้ดีการลงทุน มีการเติบโตต่อเนื่องความช่วยเหลือด้านวัคซีนฉุกเฉินยามวิกฤติ เกิดขึ้นตลอดเวลา
นี่คือแนวคิดของจีนที่มีต่ออาเซียน สำหรับการประชุมล่าสุดนี้ มีการกำหนดวาระสำคัญคือ “ยกระดับการเป็นพันธมิตรทางกลยุทธ”
ระหว่างกันให้ลึกซึ้งมากขึ้น โดยจะความร่วมมือแบบลงลึกให้มากกว่าเดิม เช่น
- การวิจัยและพัฒนาวัคซีนร่วมกัน
- การผลิตและการจัดซื้อวัคซีน
- การจัดการและการฉีดวัคซีน
- การจัดตั้งศูนย์ผลิตและกระจายวัคซีนแห่งอาเซียน
ซูหลี่ปิง ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผยว่า ความสัมพันธ์จีน-อาเซียนเป็นหุ้นส่วนที่ประสบความสำเร็จและมีพลวัตที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และได้สร้างกลไกความร่วมมือหลายมิติขึ้นมากมาย นอกนั้นยังมีข่าวดีเพิ่มเติมจากการประชุมนั่นก็คือทั้งอาเซียนจะจีน จะร่วมกันเปิดพรมแดน รับการท่องเที่ยว ภายใต้เงื่อนไข การฉีดวัคซีนโดยจะมีการใช้วัคซีนพาสปอร์ตสำหรับการฟื้นท่องเที่ยวระหว่างกัน ในปี 2562 ก่อนการระบาดโควิด19 ชาวจีนเดินทางมาท่องเที่ยวอาเซียนมากถึง 154.6 ล้านคนเป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่สุดของอาเซียน
นอกจากนั้น จะสร้างความร่วมมือที่ลึกซึ้ง รอบด้าน ในฐานะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ภายใน 30 ปีต่อจากนี้
โดยจะกำหนดรายละเอียดร่วมกันต่อไป ในเรื่อง
- ความร่วมมือในเศรษฐกิจกิจดิจิทัล
- ความร่วมมือเทคโนโลยี5G
- การลดความยากจน
- คุ้มครองสิ่งแวดล้อม และสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง
- การปรับโครงสร้างใหญ่ ของห่วงโซ่การผลิต
หรือ supply Chain ในกลุ่ม RCEP ระหว่างจีนและอาเซียน โดยอาเซียนคือคู่ค้าเบอร์ 1 ของจีนแซงหน้า อียู ซึ่งประเด็นนี้คือหัวใจของการประชุมอีกเรื่องหนึ่ง เพราะในช่วงโควิด19 ระบบห่วงโซ่การผลิตในหลายประเทศถูกกระทบใหญ่ เช่นการปิดโรงงานใอินเดียและยุโรป รวมทั้งในอาเซียนเอง ทำให้สินค้าต้นทุนผลิตไม่ได้ ชะงักงัน ขณะที่ประเทศสำคัญในห่วงโซ่การผลิตโลกล้วนอยู่ในอาเซียน และจีน หากจับมือพูดคุยกันได้ โรงงานจะเปิดเดินเครื่องได้ ผลักดันเศรษฐกิจในภูมืภาคให้เดินหน้า และฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้งอย่างมีความหวัง