รีเซต

เคลียร์ให้ชัด! เปิดเกณฑ์วันหยุดประจำภาค ให้หยุดเฉพาะภาคนั้นๆ

เคลียร์ให้ชัด! เปิดเกณฑ์วันหยุดประจำภาค ให้หยุดเฉพาะภาคนั้นๆ
TNN ช่อง16
2 มีนาคม 2564 ( 01:14 )
893
เคลียร์ให้ชัด! เปิดเกณฑ์วันหยุดประจำภาค ให้หยุดเฉพาะภาคนั้นๆ

วันนี้ (2มี.ค.64) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2563 มีมติกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ และการกำหนดวันหยุดราชการประจำภูมิภาค รวมทั้งการเลื่อนวันหยุดชดเชยวันหยุดราชการ ประจำปี 2564  เพื่อเป้าหมาย กระตุ้นการบริโภค-การท่องเที่ยว ภายในประเทศ


ทั้งนี้ จึงส่งผลให้ในเดือนมีนาคม 2564 มีวันหยุดยาว ติดต่อกัน 3 วันได้แก่


วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2564 ซึ่งเป็นวันหยุดเทศกาลไหว้พระธาตุ ของภาคเหนือ


วันเสาร์ที่ 27 มีนาคม 2564 เป็นวันหยุดประจำสัปดาห์


วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม 2564 เป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ 


สำหรับ วันหยุดประจำภาค ตามมติ ครม. ซึ่งกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ แบบหยุดทั้งประเทศ และวันหยุดราชการประจำภาค ประจำปี 2564 เป็นการเฉพาะ 


ภาคเหนือ : วันศุกร์ที่ 26 มี.ค. 64 คือ วันหยุดประเพณีไหว้พระธาตุ


ภาคอีสาน : วันจันทร์ที่ 10 พ.ค. 64 คือ วันหยุดประเพณีงานบุญบั้งไฟ


ภาคใต้ : วันพุธที่ 6 ต.ค. 64 คือ วันหยุดประเพณีสารทเดือนสิบ


ภาคกลาง : วันพฤหัสบดีที่ 21 ต.ค. 64 คือ วันหยุดเทศกาลออกพรรษา


วันหยุดประจำภาคไหน ก็จะให้หยุดเฉพาะภาคนั้นและหยุดเฉพาะหน่วยงานของรัฐ โดยดูจากสถานที่ตั้งของหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ โรงเรียนว่าอยู่ในจังหวัดไหน ก็ให้หยุดตามวันหยุดประจำภาคนั้น 


ท่ากับว่า 1 คน จะมีวันหยุดประจำภาค 1 วัน ส่วนพนักงาน ลูกจ้าง ของภาคเอกชนและธนาคารให้พิจารณาตามความเหมาะสม แต่รัฐบาลก็ขอความร่วมมือเพื่อให้เกิดความพร้อมเพรียงกัน


สำหรับเกณฑ์การพิจารณาว่าจังหวัดไหนอยู่ภาคไหน ระบุว่าต้องอ้างอิงจากประกาศ "คณะกรรมการนโยบายการบริหารจังหวัด และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ" ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 60 โดยหลักเกณฑ์วันหยุดประจำภาค กำหนดให้


ภาคกลาง (จังหวัดภาคกลาง+ตะวันออก) : กทม. ชัยนาท อยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว


ภาคใต้ (จังหวัดภาคใต้+ภาคใต้ชายแดน) : ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี สงขลา กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง สตูล นราธิวาส ปัตตานี ยะลา


ภาคอีสาน : บึงกาฬ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี


ภาคเหนือ : เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน เชียงราย น่าน พะเยา แพร่ ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร อุทัยธานี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง