รีเซต

กรมวิทย์ฯ ขออย่าตระหนก เจอโควิดสายพันธุ์เบต้า ใน กทม. ยืนยันยังคุมได้!

กรมวิทย์ฯ ขออย่าตระหนก เจอโควิดสายพันธุ์เบต้า ใน กทม. ยืนยันยังคุมได้!
TNN ช่อง16
28 มิถุนายน 2564 ( 12:28 )
33
กรมวิทย์ฯ ขออย่าตระหนก เจอโควิดสายพันธุ์เบต้า ใน กทม. ยืนยันยังคุมได้!

จากกรณีผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เบต้า หรือสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ที่ส่วนใหญ่พบในพื้นที่4 จังหวัดภาคใต้ ล่าสุดมีรายงานว่า ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบติดเชื้อแล้ว 1 คน สอบสวนโรคเบื้องต้นมีความเชื่อมโยงมาจากผู้ติดเชื้อที่ จ.นราธิวาส นั้น

วันนี้ (28 มิ.ย.64) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อธิบายบริบทการแพร่ระบาดโควิดของไทยปัจจุบันก่อนว่า สายพันธุ์ที่มีการแพร่ระบาดมากที่สุด ยังคงเป็น "สายพันธุ์อัลฟ่า" หรือสายพันธุ์อังกฤษ โดยในรอบสัปดาห์นี้เพิ่มขึ้น 2,218 ราย สะสม 7,859 ราย คิดเป็น 86.31% 

รองลงมาคือ "สายพันธุ์เดลต้า" หรือสายพันธุ์อินเดีย สัปดาห์นี้พบ 459 ราย รวมสะสม 1,120 ราย คิดเป็น 12.30% และ "สายพันธุ์เบต้า" หรือสายพันธุ์แอฟริกาใต้ สัปดาห์นี้เพิ่มมา 89 ราย รวมสะสม 127 รายคิดเป็น 1.39% โดยแนวโน้ม พบว่า สายพันธุ์เดลต้ามีการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นทุกสัปดาห์ ดังนั้นจึงคาดกาณ์ว่า อีก 2-3 เดือน สายพันธุ์นี้ จะกลายมาเป็นสายพันธุ์หลักที่แพร่ระบาดในไทยเป็นจำนวนมาก แทนตำแหน่งของสายพันธุ์อัลฟ่า

ส่วนสายพันธุ์เบต้า สัปดาห์นี้ พบผู้ป่วยเพิ่มมา 89 ราย ส่วนใหญ่อยู่ใน จ.นราธิวาส 84 ราย จ.สุราษฎร์ธานี 1 ราย ยะลา 1 ราย พัทลุง 1 ราย และกรุงเทพมหานคร 1 ราย โดยประเด็นที่หลายคนให้ความสนใจ กรณีพบผู้ป่วยสายพันธุ์นี้ ใน กทม. อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า พบผู้ป่วยรายนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน ที่ผ่านมา เป็นชายคนหนึ่งประกอบอาชีพลูกจ้างในตลาดแห่งหนึ่ง การสอบสวนโรค พบว่า ติดเชื้อจากลูกชายที่เดินทางมาจาก จ.นราธิวาส มาเยี่ยม โดยไม่มีอาการ เมื่อเดินทางกลับไปที่ จ.นราธิวาส พบว่าไม่สบาย จึงไปตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด-19 ก่อนเข้ารับการรักษาในรพ. ที่ จ.นราธิวาส ส่วนญาติใกล้ชิด 2 คน และเพื่อนร่วมงานอีกประมาณ 7 คน ที่อยู่ในกรุงเทพฯ ตรวจแล้ว ยังไม่พบเชื้อ ดังนั้นขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก เพราะยังอยู่ในระดับความคุมได้ 

จากกรณีนี้เห็นความเชื่อมโยงของการติดเชื้อได้ชัดเจน หากสามารถควบคุมได้ก็ถือว่าจบ เพราะแพร่กระจายไม่ได้รวดเร็วเท่าสายพันธุ์เดลตา(อินเดีย) แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่ได้ห้ามการเดินทางอย่างเด็ดขาด ก็ต้องเฝ้าระวัง

นพ.ศุภกิจ ยังได้เปิดเผยผลการศึกษาประสิทธิภาพวัคซีนซิโนแวค 2 เข็มกับความสามารถในการป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์อัลฟ่า ผลการศึกษาใน จ.ภูเก็ต สามารถป้องกันเชื้อได้ร้อยละ 90 จ.สมุทสาคร สามารถป้องกันเชื้อได้ร้อยละ 90.5 จ.เชียงราย สามารถป้องกันเชื้อได้ ร้อยละ 82.8 ส่วนภาครวมสามาถป้องกันติดเชื้อได้ ร้อยละ 70.9 ซึ่งยังถือว่ารับมือได้กับสถานการณ์ปัจจุบันที่ยังมีสายพันธุ์อัลฟ่ามากที่สุด และสายพันธุ์เดลต้า และเบต้ายังมีไม่มาก ส่วนอนาคตจะมีการเพิ่มเข็มที่ 3 เพื่อรับมือเบต้ากับเดลต้าหรือไม่ อยู่ระหว่างศึกษาข้อมูล

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง