รีเซต

เมคานิคอล คีย์บอร์ด (Mechanical Keyboard) คืออะไร ทำไมเป็นที่นิยม?

เมคานิคอล คีย์บอร์ด (Mechanical Keyboard) คืออะไร ทำไมเป็นที่นิยม?
NewsReporter
23 สิงหาคม 2565 ( 10:33 )
309

การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 นั้น ได้ส่งผลให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นมียอดขายสูงขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะกับกลุ่มคนที่ยังคงต้องทำงานจากที่บ้าน ทำให้มีการมองหาอุปกรณ์เพื่อมาช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานมากขึ้น แน่นอนว่าอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์เป็นหนึ่งในสินค้าที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งรวมไปถึงตัวเมคานิคอล คีย์บอร์ดด้วยเช่นกัน เมคานิคอลคีย์บอร์ดคืออะไร? วันนี้ TrueID จะพาไปหาคำตอบกัน

 

เมคานิคอล คีย์บอร์ด (Mechanical Keyboard) คืออะไร?

เมคานิคอล คีย์บอร์ด (Mechanical Keyboard) มีลักษณะที่โดดเด่นคือตัวสวิตช์กลไกจะมีความซับซ้อนและทำงานแยกจากกันเป็นอิสระ ทำให้มีอิสระในการเลือกใช้งาน และสามารถปรับแต่งให้เหมาะสมกับผู้ใช้งานที่แตกต่างกันออกไป แต่เนื่องจากเมคานิคอล คีย์บอร์ดนั้นมีต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างสูง จึงทำให้คีย์บอร์ดปุ่มยาง หรือ Rubber Dome Keyboard นั้น เป็นคีย์บอร์ดชนิดที่พบได้มากที่สุดในตลาด เนื่องจากมีต้นทุนในการผลิตต่ำกว่าและผลิตได้ง่ายกว่า



คีย์บอร์ดกลไก หรือ เมคานิคอล  คีย์บอร์ด (Mechanical Keyboard) ที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุด น่าจะเป็น “คีย์บอร์ดสำหรับเล่นเกม (เกมมิ่งคีย์บอร์ด)” นั่นเอง เหตุผลที่เกมเมอร์ส่วนใหญ่มักจะเลือกคีย์บอร์ดประเภทนี้เป็นอาวุธประจำกาย นั่นก็เพราะว่าเมคานิคอลคีย์บอร์ดนั้น “ใช้สนุกและพิมพ์สบาย” คีย์บอร์ดประเภทนี้จะมีแรงต้านทำให้ไม่เผลอกดได้ง่ายๆ เมื่อเกมเมอร์กดคอมโบในเกมก็จะมีเสียงคลิ๊กๆๆๆ ดุเดือดเร้าใจ!

 

สิ่งที่ทำให้เมคานิคอลคีย์บอร์ดแตกต่างตากคีย์บอร์ดปุ่มยางนอกจากจะมีเรื่องสัมผัสการกดแล้ว ยังมีเรื่องความทนทานที่เมคานิคอลคีย์บอร์ดเหนือกว่าคีย์บอร์ดปุ่มยางจนเทียบกันไม่ติด นั่นก็เพราะว่าเมคานิคอลคีย์บอร์ดนั้นใช้สปริงโลหะประกอบกับกลไกภายในปุ่มทำให้คีย์บอร์ดประเภทนี้รองรับการกดได้มากกว่า 50 ล้านครั้ง! (ในขณะที่คีย์บอร์ดปุ่มยางรองรับการกดได้เพียง 5 ล้านครั้งเท่านั้น)

 

นอกจากนี้เจ้าเมคานิคอลคีย์บอร์ดยังใช้สวิทช์แยกกันในแต่ละปุ่ม ในขณะที่คีย์บอร์ดปุ่มยางใช้แผงวงจรร่วมกันเป็นแผ่นเดียว ทำให้เมื่อเมคานิคอลคีย์บอร์ดมีปุ่มใดปุ่มใดเสียขึ้นมา (ซึ่งเสียยากมาก) เราก็สามารถส่งซ่อมแยกเป็นปุ่มๆ ได้ ไม่ต้องซ่อมยกแผงเหมือนคีย์บอร์ดปุ่มยางหรือคีย์บอร์ดแผ่นพลาสติกนั่นเอง

 

สวิตช์ คีย์บอร์ด แต่ละสีบ่งบอกอะไร

โดยสวิตช์คีย์บอร์ดสำหรับ Mechanical Keyboard ที่คุ้นตาคนไทยมาก ๆ ก็คงจะเป็น MX switch หรือสวิตช์ ที่มีหน้าตาเป็นรูปเครื่องหมาย + นั่นเอง โดยต้นตำหรับนั้นผลิตโดยบริษัท Cherry ของเยอรมัน แต่หลังจากสิทธิบัตรหมดอายุก็ทำให้มีหลาย ๆ บริษัทพัฒนาสวิตช์ออกมาในรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน และเพื่อป้องกันความสับสนของผู้บริโภคบริษัทส่วนมากจึงพัฒนาสินค้าตามทางที่รุนพี่อย่าง Cherry ทำไว้ก่อนหน้าคือการใช้ “สี” ในการระบุความแตกต่างของสวิตช์

 

 

สวิตช์สำหรับ Mechanical Keyboard นั้นจะแบ่งออกไปได้ 3 แนวหลัก ๆ ดังนี้

Clicky Switch 

Clicky สวิตช์คีย์บอร์ดที่จะมีเสียงเวลากดชัดเจนซึ่งให้อารมร์วินเทจเหมือนเครื่องพิมพ์ดีด รวมไปถึงใครก็ตามที่พิมพ์ได้อย่างคล่องแคล่วว่องไวจะรู้สึกมันมือจนอยากพิมพ์งานของตัวเองตลอดเวลา ซึ่งสีของสวิตช์ตระกูลนี้ก็จะมีสี “ฟ้า (Blue)” “ขาว (White)” และ “เขียว (Green)” ซึ่งแต่ละสีนั้นจะให้น้ำหนักในการกดไม่เท่ากันอันเกิดจากความแข็งของสปริงนั่นเองครับโดยไล่จาก อ่อนสุดไปแข็งสุดตามลำดับ แต่แม้ว่าจะเป็นสปริงแบบอ่อนก็ตามแต่สวิตช์ที่ตระกูล Clicky ก็จะมีสัมผัสในการกดที่ค่อนข้างหนักกว่าแบบอื่น ๆ อยู่ดี โดยที่ตัวที่เป็นที่นิยมของสวิตช์กลุ่มนี้คือ Blue หรือสีฟ้า

 

Linear Switch

ไลน์เนอร์ก็คือสวิตช์ที่เสมือนเส้นตรงเมื่อกดลงไปจะให้สัมผัสแบบลื่นปริ๊ดหัวแตกแบบไม่มีเบรคสวิตช์กลุ่มนี้จะรับรู้ถึงแรงกระแทกไม่ค่อยได้ครับโดยจะมีสี “แดง (Red)” “ดำ (Black)” และ “เทา (Linear Grey)” ซึ่งความแข็งของสปริงก็จะเรียงลำดับจากอ่อนสุดไปแข็งสุดตามลำดับเช่นกันครับ สวิตช์คีย์บอร์ดกลุ่มนี้เป็นที่นิยมของนักเล่นเกม เพราะให้ความรู้สึกและสัมผัสที่รวดเร็ว คล่องแคล่วทำให้รู้สึกเหมือนตอบสนองสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้นนั่นเองครับ สำหรับสวิตช์กลุ่มนี้จะมีสียอดนิยมคือ แดงและดำ

 

Tactile Switch

เป็นสวิตช์แบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ นั่นเองครับ มีความฝืน ๆ ฝืด ๆ แบบ Clicky แต่ไม่มีเสียงแบบ Linear ซึ่งมักจะเป็นสวิตช์ที่คนทั่วไปเลือกใช้กันเพราะชัดเจนทั้งเรื่องการสัมผัส และไม่สร้างความรำคาญให้คนรอบตัว ซึ่งสีของสวิตช์กลุ่มนี้จะได้แก่ “น้ำตาล (Brown)” “ใส (Clear)” และ “เทา (Tactile Grey)” ซึ่งคนส่วนมากจะนิยมตัว Brown มากที่สุด

 

ข้อมูล keychronthailand , mercular

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง