รีเซต

โรคประจำถิ่น คืออะไร? เปิดเงื่อนไขเปลี่ยนโควิดเป็น “โรคประจำถิ่น” 4 ประเทศเริ่มใช้แล้ว

โรคประจำถิ่น คืออะไร? เปิดเงื่อนไขเปลี่ยนโควิดเป็น “โรคประจำถิ่น” 4 ประเทศเริ่มใช้แล้ว
Ingonn
4 มีนาคม 2565 ( 13:57 )
8.2K

สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยยังคงมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ทางกระทรวงสาธารณสุข มองว่าโควิด-19 สามารถเป็นโรคประจำถิ่นได้ เมื่อความรุนแรงของโรคลดลง ประชาชนมีภูมิต้านทานจำนวนมาก และระบบบริหารจัดการดูแลมีประสิทธิภาพ แต่ประชาชนต้องให้ความร่วมมือในการฉีดวัคซีน ป้องกันตนเอง ตรวจ ATK เป็นประจำ หากติดเชื้อเข้าระบบดูแลรักษาที่บ้าน

 

เมื่อคำว่า โรคประจำถิ่น เข้าใกล้สังคมไทยมากขึ้น วันนี้ TrueID จึงจะมาเปิดรายละเอียดว่า โรคประจำถิ่น คืออะไร ไทยจะเริ่มใช้เมื่อไหร่ และมีประเทศไหน เริ่มใช้แล้วบ้าง


โรคประจำถิ่น คืออะไร 

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการระบาดนั้นมีถึง 4 ระดับด้วยกัน ดังนี้

โรคประจำถิ่น (Endemic) คือ โรคที่เกิดขึ้นประจำในพื้นที่นั้น มีอัตราป่วยคงที่และสามารถคาดการณ์ได้ โดยขอบเขตของพื้นที่อาจเป็นเมือง ประเทศ หรือใหญ่กว่านั้นอย่างกลุ่มประเทศ หรือทวีป เช่น ไข้เลือดออกในประเทศไทย โรคมาลาเรียในทวีปแอฟริกา 

 

การระบาด (Outbreak) คือ เหตุการณ์ที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นผิดปกติ ทั้งในกรณีโรคประจำถิ่น แต่มีจำนวนผู้ป่วยมากกว่าที่คาดการณ์ หรือในกรณีโรคอุบัติใหม่ ถึงแม้จะมีผู้ป่วยเพียงรายเดียว เช่น การระบาดของไข้เลือดออกในปี 2562 การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในเมืองอู่ฮั่น 

 

โรคระบาด (Epidemic) เป็นการระบาดของโรคที่แพร่กระจายกว้างขึ้นในเชิงภูมิศาสตร์ ซึ่งโรคระบาดที่แผ่ไปในพื้นที่ที่กว้างขึ้นนั้นเป็นการระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน และมีจำนวนผู้ติดเชื้อเกินกว่าที่คาดการณ์ได้ เช่น โรคอีโบลาที่ระบาดในทวีปแอฟริกาตะวันตกในปี 2557-2559 การระบาดของ COVID-19 ในประเทศจีน และระบาดต่อมายังประเทศอื่นในทวีปเอเชีย ซึ่งไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่ในช่วงแรกยังไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการก็ได้รับการเรียกขานว่า COVID-19 และค่อย ๆ ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ 

 

การระบาดสูงสุด (Pandemic) การระบาดใหญ่/ทั่วโลก เป็นลักษณะของการระบาดของโรคที่แพร่กระจายไปทั่วโลก เช่น การระบาดของไข้หวัดใหญ่ที่ย้อนกลับไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2461 (Spanish flu) หรือการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และล่าสุดคือการระบาดของ COVID-19 


คำประกาศของ WHO ที่ว่า COVID-19 เป็นการระบาดใหญ่ทั่วโลก จึงไม่เกี่ยวข้องใด ๆ กับการเปลี่ยนแปลงลักษณะของโรค แต่เป็นการยกระดับสถานะคำเตือนและความกังวลเกี่ยวกับการแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ คำประกาศการระบาดใหญ่มักใช้กับโรคโรคใหม่ที่ผู้คนยังไม่มีภูมิคุ้มกันและแพร่กระจายไปทั่วโลกเกินการควบคุมและเกินความคาดหมาย

 

ปัจจัยที่ทำให้ไทยปรับโควิดเป็นโรคประจำถิ่น

แนวโน้มที่จะกลายเป็นโรคประจำถิ่นได้ภายในปี 2565 พิจารณาจาก 3 ปัจจัย คือ 

  1. ผู้ติดเชื้อมีความรุนแรงลดลง จำนวนผู้ป่วยอาการหนัก ใส่เครื่องช่วยหายใจ และผู้เสียชีวิตมีทิศทางลดลง
  2. ประชาชนมีภูมิคุ้มกันจากวัคซีนต่อโรคมากขึ้น 
  3. ระบบบริหารจัดการ การดูแลรักษา ที่มีประสิทธิภาพ และควบคุมการระบาดได้ดี 


ประเทศไทยจะเป็นโรคประจำถิ่นเมื่อไหร่

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้เตรียมแนวทางการปรับให้โรคโควิด-19 จากโรคระบาด(pandemic) เป็นโรคประจำถิ่น(Endemic) ซึ่งเราเป็นการเตรียมแผนสำหรับ 4 เดือนแรกของปี และจะเร่งทำแนวทางออกมาชี้แจงต่อประชาชนภายในวันที่ 15 มีนาคมนี้ เพื่อให้เกิดความร่วมมือและความเข้าใจกับแนวทางปฏิบัติ

 

ประเทศที่ปรับให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่น

จากสถานการณ์แพร่ระบาดโอมิครอนทั่วโลก ที่มีการแพร่ระบาดง่าย แต่อาการไม่รุนแรง เมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดลตา ทำให้หลายประเทศมีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ แม้จะมีผู้ติดเชื้อสูงก็ตาม โดยปรับไม่มีการล็อกดาวน์อีกต่อไป  ซึ่งมีการจัดการในรูปแบบของการเป็นโรคประจำถิ่น ได้แก่ สเปน อินเดีย รัฐแคลิฟอร์เนีย ของสหรัฐอเมริกา จีน ซึ่งกำลังจะยกเลิกมาตรการโควิดเป็นศูนย์ หันมาใช้มาตรการอยู่กับโรคโควิด (Living with Covid) 

 

 

 

 

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง