รีเซต

วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ของทุกปี

วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ  ตรงกับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ของทุกปี
TrueID
7 กุมภาพันธ์ 2566 ( 11:00 )
93

วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ 25 กุมภาพันธ์ ของทุกปี  ซึ่งกิจการวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติเกิดขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ.2471

วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ

โดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และการคมนาคมในสมัยนั้น ซึ่งได้ตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้นที่ตึกที่ทำการไปรษณีย์ปากคลองโอ่งอ่าง ตำบลวัดราชบูรณะ โดยใช้ชื่อว่า “สถานี 4 พีเจ (4PJ)" และต่อมาได้มีการประกอบเครื่องส่งคลื่นขนาดกลาง 1 กิโลวัตต์ และทดลองที่ตำบลศาลาแดงโดยใช้ชื่อว่า “เอช เอส หนึ่ง หนึ่ง พีเจ (HS 11 PJ)” ซึ่งคำว่า PJ มาจากคำว่า “บุรฉัตรไชยากร” ซึ่งเป็นพระนามเดิมของพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน

 

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน / สาธารณสมบัติ

 

ต่อมาในวันที่ 25 กุมภาพันธ์  พ.ศ.2473 ได้มีการเปิดการส่งวิทยุเป็นปฐมฤกษ์ โดยใช้ชื่อสถานีว่า “สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท” (Radio Bangkok at Phyathai) ตั้งอยู่ที่วังพญาไท มีกำลังส่ง 2.5 กิโลวัตต์ ซึ่งพิธีการเปิดได้อัญเชิญกระแสพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เข้าไมโครโฟนถ่ายทอดไปตามสาย เข้าเครื่องส่งแล้วกระจายเสียงสู่พสกนิกร โดยมีใจความว่า “การวิทยุกระจายเสียงที่ได้เริ่มจัดขึ้น และทำการทดลองตลอดมานั้น ก็ด้วยความมุ่งหมายว่าจะส่งเสริมการศึกษาการค้าขายและการบันเทิง แก่พ่อค้า ประชาชน เพื่อควบคุมการนี้เราได้ให้แก้ไขพระราชบัญญัติดังที่ได้ประกาศใช้เมื่อเดือนกันยายนแล้ว และบัดนี้ดั่งเครื่องกระจายเสียงอย่างดีมาตั้งที่สถานีวิทยุโทรเลขพญาไทเสร็จแล้ว เราจึงถือโอกาสสั่งให้เปิดใช้เป็นปฐมฤกษ์ตั้งแต่บัดนี้ไป”   นับเป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดเสียงทางวิทยุในประเทศไทย 

 

จากนั้นในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2484 กรมโฆษณาการได้เปลี่ยนชื่อเรียกสถานีวิทยุจากเดิม "สถานีวิทยุกรุงเทพฯที่พญาไท ( Radio Bangkok at Phyathai) เป็น สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (Radio Thailand) มีฐานะเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ ภายหลังและกรมโฆษณาการหาที่ตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงได้ใหม่ที่ซอยอารีย์ แขวงสามเสน กรุงเทพฯ จึงได้ตั้งเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง ณ ที่แห่งใหม่นี้

 

ความสำคัญทางการศึกษาของวิทยุ มีอะไรบ้าง

  1. ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านภาษาจากการฟังรายการทุกประเภท เนื่องจากรายวิทยุส่วนใหญ่จะใช้ภาษาถูกต้องตามหลักภาษาและแบบแผนของทางราชการ
  2. ให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง โดยอาศัยเทคนิคของวิทยุ เช่น การพูดจูงใจการใช้เสียงดนตรี เสียงประกอบ การเสนอซ้ำ ๆ
  3. เปิดโอกาสให้นำวิทยากรผู้มีชื่อเสียงหรือผู้ชำนาญการสอน ถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้รับจำนวนมากพร้อมกัน
  4. ปลูกฝังความรู้สึกด้านคุณธรรม ค่านิยมต่าง ๆ ได้ดี เช่น ความรักชาติ ตลอดจนค่านิยมทางศาสนาและจริยธรรมต่าง ๆ
  5. คุณสมบัติด้านเสียงของวิทยุเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการสอนด้านภาษา ขับร้องดนตรี
  6. ส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย เนื่องจากสามารถรับฟังได้ทุกเวลา ทุกสถานที่

 

ที่มาข้อมูล : สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง