ทนายดัง! แจงข้อกฎหมาย"ไอ้ไข่"อยู่ในสถานที่สาธารณะไม่ผิดลิขสิทธิ์
จากกรณีกระแส ไอ้ไข่ วัดเจดีย์ จ.นครศรีธรรมราช รูปปั้นเด็กน้อยใส่แว่นดำ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่กำลังอยู่ในความสนใจของบรรดาคอหวยและพ่อค้าแม่ขาย เพราะเชื่อกันว่า มีความขลังและให้เลขเด็ดแม่นๆ มาหลายงวดโดยมีตำนานเกี่ยวกับไอ้ไข่จากหลายที่มา ซึ่งความนิยมและความเชื่อเหล่านี้กลายเป็นจุดขาย ที่ทำให้ไอ้ไข่ โผล่เป็นวัตถุมงคลที่วัดอื่นๆ ทั่วประเทศ จนวัดเจดีย์ ต้องขอจด “ลิขสิทธิ์” แสดงความเป็นเจ้าของซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในโลกโซเชียลว่าสามารถทำได้หรือไม่
ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปพบกับทางทนายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร ประธานเครือข่ายรณณรงค์ทวงคืนความยุติธรรมในสังคมเพื่อสอบถามถึงข้อกฏหมายโดยทางทนายรณณรงค์ กล่าวว่า ไอ้ไข่เป็นงานกฎหมายอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์หมายถึงคนสร้างผลงานชิ้นนี้ออกมา การสร้างเอง การว่าจ้างหรือ ซื้อต่อมาจากการโอนสิทธิ์ ไอ้ไข่ที่เราเห็นเป็นงานปั้นอย่างหนึ่งเป็นงานปฏิมากรรมทางกฏหมาย ส่วนผ้ายันต์เป็นงานจิตรกรรม เหรียญเป็นงานปฏิมากรรม ทั้ง 3 อย่างกำลังมีปัญหากันในตอนนี้ ซึ่งทางวัดเจดีย์ออกมาบอกว่าตัวเองไปยื่นจดลิขสิทธิ์ไว้ และมีแจ้งรายการมา11 รายการ มีเรื่องงานวรรณกรรมทำประวัติของไอ้ไข่
ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่ว่าวัดอื่นหรือคนอื่นอยากจะทำไอ้ไข่เลียนแบบว่ามีความผิดไหม ใน พรบ.ลิขสิทธิ์รายงานประติมากรรมที่ตั้งอยู่ในสถานที่สาธารณะ ถ้ามีการไปทำซ้ำดัดแปลงได้รับการยกเว้น ไม่มีความผิดทางกฎหมาย อย่างเช่นกรณีของหอไอเฟลที่ประเทศฝรั่งเศส ทำไมถึงมีคนมาทำประติมากรรมหอไอเฟล ในประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศสได้ โดยไม่ผิดกฎหมายไม่ถูกดำเนินคดีเรื่องลิขสิทธิ์ เพราะว่าเป็นของที่อยู่ในสถานที่สาธารณะ อย่างเช่นเมืองไทยก็จะมีประสาทหินพนมรุ้ง หรือสถานที่สำคัญหลายๆอย่างที่คนเอามาทำเป็นปูนพลาสเตอร์เป็นงานประติมากรรมที่จำลองขึ้นมาแล้วเอามาขายจะไม่โดนเรื่องลิขสิทธิ์ ตามข้อยกเว้น ตามมาตรา 37 พรบ.ลิขสิทธิ์
เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE