รีเซต

อนามัยโพล เผย คนไทย 47% กังวลการระบาดโควิดโอไมครอน

อนามัยโพล เผย คนไทย 47% กังวลการระบาดโควิดโอไมครอน
TNN ช่อง16
9 ธันวาคม 2564 ( 14:44 )
73
อนามัยโพล เผย คนไทย 47% กังวลการระบาดโควิดโอไมครอน

วันนี้ (9 ธ.ค.64) นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย ระบุถึงประเด็นโควิด-19 กับ PM 2.5 ว่า ผลสำรวจอนามัยความกังวลต่อสถานการณ์ระบาดโควิดในช่วง และพฤติกรรมป้องกันโรคประชาชนในช่วงต้นเดือนธันวาคม 

 

พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ มีความกังวลมาก เกี่ยวกับสายพันธุ์ใหม่โอไมครอน ร้อยละ 47 กังวลต่อความเปิดบ้านเปิดเมืองผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดการระบาดร้อยละ 10.5 ประชาชนการ์ดตก เช่น สวมหน้ากากอนามัยไว้ใต้คาง ไม่เว้นระยะห่าง ไม่ล้างมือ ร้อยละ 9.7 

 

 

ขณะที่ การสำรวจพฤติกรรมการป้องกันโรคของประชาชนช่วงเดือนพฤศจิกายน พบว่า ประชาชนร้อยละ 94.4 มีการสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาในที่สาธารณะ ร้อยละ 91.5 ล้างมือหลังสัมผัสสิ่งสกปรก ร้อยละ 86.2 เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1-2 เมตร 

 

ขณะที่ ช่วงเดือนธันวาคมของทุกปีเป็นช่วงเปลี่ยนฤดูกาล สภาพอากาศเริ่มเย็นลง โดยสิ่งที่ตามมาคือปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ขณะนี้มี 5 พื้นที่ที่มี ฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานได้แก่กรุงเทพฯ สมุทรสาคร สมุทรปราการ พิจิตร และพิษณุโลก 

 

โดยมีการจัดทำผลสำรวจอนามัยโพลต่อความวิตกกังวลต่อฝุ่น PM 2.5 ว่าจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพหรือไม่ พบว่าร้อยละ 79.7 มีความกังวล อีกร้อยละ 23 ไม่กังวล 

 

เหตุผลที่กังวล ร้อยละ 65.34 กังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็กในระยะยาว ร้อยละ 59.82 ทำให้โรคประจําตัวมีอาการรุนแรงมากขึ้น ร้อยละ 36.2 ทำให้โควิด-19  ระบาดมากขึ้น ร้อยละ 30.67 ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันฝุ่น ร้อยละ 21.17 ไม่รู้วิธีป้องกันอันตรายจากฝุ่น

 

โดยประชาชนกว่าร้อยละ 90.5 มีความรู้ถึงสาเหตุการเกิดฝุ่น PM 2.5 อันดับ 1 มาจากการจราจร อันดับ 2 มาจากการเผาขยะ อันดับ 3 มาจากการเผาพื้นที่ทำการเกษตร และอันดับ 4 มาจากโรงงานอุตสาหกรรม 

 

 

ในคนปกติ PM 2.5 จะทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจของคนปกติ อักเสบ ทำให้มีโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อโควิค-19มากขึ้นได้ ในกรณีผู้ป่วยที่หายจากโควิด แล้ว แล้วอยู่ท่ามกลางสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 อาจจะมีบางคนที่มีอาการระคายคอ ไอ มีเสมหะง่าย มีน้ำมูก โดยคนกลุ่มนี้ อาจจะได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 ที่เพิ่มขึ้นด้วย 

 

 

สำหรับคำแนะนำประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเองทั้งในช่วงโควิด 19 และฝุ่น PM2.5 ให้มีการติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้าน สำรองหน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่นไว้ด้วย ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ 

 

ซ่อมแซมปิดช่องโหว่ตามขอบประตูหน้าต่างเพื่อป้องกันฝุ่น PM 2.5 วันที่ฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานหลีกเลี่ยงทำกิจกรรมกลางแจ้งเปลี่ยนมาออกกำลังกายภายในอาคารแทน ผู้ที่มีโรคประจำตัวให้เตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นไว้ตลอดเวลา ทำความสะอาดจุดสะสมฝุ่นภายในบ้าน

 

ที่สำคัญสังเกตอาการผิดปกติของตัวเอง เช่น ไอบ่อย หายใจไม่ออก เจ็บหน้าอก ใจสั่น วิงเวียนศีรษะ หากมีอาการเหล่านี้ให้รีบพบแพทย์ ส่วนการแก้ไขปัญหาระยะยาว คือ ต้องช่วยกันลดฝุ่น PM 2.5 งดการเผาในที่โล่งลดการใช้รถที่ปล่อยควันดำ ร่วมกันปลูกต้นไม้เพื่อถ้วยดักฝุ่นละออง.

 

 

 

ภาพจาก AFP , Reuters , แถลงข่าวกระทรวงสาธารณสุข

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง