รีเซต

ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ประเมินความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยจะกลับมา หลังโควิด-19

ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ประเมินความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยจะกลับมา หลังโควิด-19
TNN ช่อง16
21 พฤษภาคม 2563 ( 15:29 )
74

 

วันนี้ (21 พ.ค.63) ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า  สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยไตรมาส 1 ปี 2563 เป็นช่วงเวลาที่สะท้อนผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ ไวรัส COVID-19 ต่อการลงทุนในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และการซื้อขายที่อยู่อาศัยอย่างเป็นรูปธรรม โดยภาพรวมชะลอตัวลงทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทาน ซึ่งเป็นการปรับสมดุลของตลาดลดความเสี่ยงปัญหาอุปทานส่วนเกิน 

 

โดย สถานการณ์ด้านความต้องการที่อยู่อาศัยไตรมาส 1 ปี 2563 ประเมินจากข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย พบว่าภาพรวมทั่วประเทศในช่วงไตรมาส 1 ปี 2563 มีหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์จำนวน 89,024 หน่วย ลดลงจากไตรมาส 4 ปี 2562 ร้อยละ -16.7 แต่เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5  มีมูลค่ารวม 210,294 ล้านบาท 

 

ซึ่งศูนย์ข้อมูลฯคาดการณ์ว่าในปี 2563 จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ทั่วประเทศจำนวน 311,719 หน่วย ลดลงร้อยละ -16.7 จากปี 2562 มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์รวม 746,206 ล้านบาท ลดลงร้อยละ – 14.8 จากปี 2562  ส่วนภาพรวมสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลปล่อยใหม่ทั่วประเทศ พบว่าในไตรมาส 1 ปี 2563 มีมูลค่ารวม 138,238 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -13.0 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยคาดการว่าปี 2563 จะมีจำนวนสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลปล่อยใหม่ทั่วประเทศรวม 571,196 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -10.8 จากปี 2562 

 

สำหรับอุปทานใหม่ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2563 พบว่ามีการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ จำนวน 60,165 หน่วย ลดลงร้อยละ -17.9 จากไตรมาส 4 ปี 2562 และลดลงร้อยละ -27.7 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562  โดยคาดการณ์ว่าในปี 2563 จะมีการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยทั่วประเทศจำนวน 256,601 หน่วย ลดลงร้อยละ-16.5 เมื่อเทียบจากปี 2562 

 

อย่างไรก็ตาม จากการประเมินสถานการณ์ โดยภาพรวมจากสถิติข้อมูลทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทาน ศูนย์ข้อมูลฯคาดการว่าในปี 2563 แม้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศจะชะลอตัว แต่ในส่วนของตลาดที่อยู่อาศัยจะไม่เกิดปัญหารุนแรงเช่นที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2541 เนื่องจากมีการปรับตัวทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทาน ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค นอกจากนี้กระแส New Normal ซึ่งจะเกิดขึ้นกับตลาดที่อยู่อาศัยหลายภาคส่วนมีความเห็นว่าผู้บริโภคจะให้ความสนใจต่อการอยู่อาศัยในโครงการบ้านจัดสรรมากกว่าอาคารชุด แต่ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณและความพร้อมทางด้านการเงิน ในที่สุดผู้บริโภคก็ยังคงต้องเลือกซื้อที่อยู่อาศัยในระดับราคาที่สอดคล้องกับความสามารถในการผ่อนชำระ และคาดว่าในช่วงไตรมาสสุดท้ายผู้ที่มีความมั่นคงทางรายได้ เช่น กลุ่มข้าราชการ และผู้ที่มีเงินเดือนประจำ จะกลับมาซื้อที่อยู่อาศัยอีกครั้ง 

 

 

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com 
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง