รีเซต

เก็บเห็ดพิษหน้าฝน มีพิษเสี่ยงอะไรบ้าง?

เก็บเห็ดพิษหน้าฝน มีพิษเสี่ยงอะไรบ้าง?
TeaC
1 พฤษภาคม 2566 ( 13:59 )
199
1
เก็บเห็ดพิษหน้าฝน มีพิษเสี่ยงอะไรบ้าง?

ข่าววันนี้ เก็บเห็ดพิษหน้าฝน มีพิษเสี่ยงอะไรบ้าง? ช่วงหน้าฝนแบบนี้ เห็ดขึ้นเยอะ! หลายคนชื่นชอบกินอาหารป่า คือการกินเห็ด ซึ่งต้องระวังอาจเผลอเก็บเห็ดมีพิษมากินจนอาจทำให้เกิดท้องเสีย หรือเมาได้ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดซ้ำซาก เนื่องจากมีรายงานปี 2563 พบผู้ป่วยจากการเก็บเห็ดพิษกินกว่า 1,200 ราย เสียชีวิต 10 ราย ทั้งที่สามารถป้องกันได้ TrueID จะพาไปรูัจักเรื่องเห็ดพิษให้มากขึ้น จะได้ระวังไม่เก็บเห็ดมีพิษมากิน

 

'เก็บเห็ดพิษหน้าฝน' มีพิษเสี่ยงอะไรบ้าง?

 

สำหรับเห็ดพิษหลายคนอาจคิดว่าพบได้แต่ในแหล่งธรรมชาติเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วสามารถพบเห็ดพิษได้ตามสนามหญ้า ข้างถนน หรือพื้นที่รกร้าง ส่วนการเกิดพิษจากเห็ดนั้น นอกจากเป็นเพราะสารพิษของเห็ดที่เป็นพิษต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกายแล้ว ยังมีสาเหตุอื่น ๆ อีก เช่น

 

  • เชื้อแบคทีเรียที่ติดมากับเห็ด
  • สารเคมีที่ปนเปื้อน
  • การดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับการเก็บเห็ดบางชนิดมากิน
  • ลำไส้อุดตัน

 

เห็ดไม่สด อันตรายหรือไม่?

ส่วนเห็ดที่ไม่สด เริ่มเน่าเปื่อยแล้ว มีโอกาสพบการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียได้มาก การดองเห็ดในขวดโหลหรือเก็บเห็ดในถุงสูญญากาศอาจทำให้เชื้อกลุ่มไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic) เช่น เชื้อคลอสทริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) เจริญเติบโต เมื่อนำมากินก็อาจได้รับพิษจากสารพิษโบทูลินัม (botulinum toxin)

 

สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามอย่างมากหากใครคิดเก็บเห็ดที่กินได้นั้น หากเก็บเห็ดมาจากบริเวณที่มีการใช้สาเคมีต่าง ๆ เช่น ยาฆ่าแมลง ย่าฆ่าหญ้า ตามข้างถนน สวนสาธารณะ หรือไร่นา ต่างมีโอกาสได้รับพิษได้เช่นเดียวกัน และไม่ควรเก็บเห็ดกินร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เหล้า เนื่องจากเห็ดบางชนิด เช่น เห็ดสกุลโคปรินัสบางชนิดทำให้เกิดอาการพิษที่มีความรุนแรงได้ ส่งผลทำให้มีีอาการพิษเกิดขึ้น เช่น อาเจียน หายใจขัด คลื่นไส้ หมดสติ เป็นต้น

 

3 กลุ่มอาการจากสารพิษของเห็ดพิษ หน้าฝน

อาการพิษที่เกิดจากการเก็บเห็ดมีพิษกิน แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ พิษต่อเซลล์และเนื้อเยื่อที่สำคัญ พิษต่อระบบทางเดินอาหาร และพิษต่อระบบประสาท โดยเมื่อลงลึกในรายละเอียดของอาการมีดังนี้ 

 

  • พิษต่อเซลล์และเนื้อเยื่อที่สำคัญ เช่น ตับ ไต ทำให้เซลล์และเนื้อเยื่อเหล่านี้ตาย จนเกิดอาการตับวาย ไตวาย เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญ
  • พิษต่อระบบทางเดินอาหาร ซึ่งพบได้บ่อย อาการอาจไม่รุนแรงมากถึงขั้นต้องส่งโรงพยาบาล ซึ่งอาการจะคล้ายคลึงกับกรณีอาหารเป็นพิษ เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย
  • พิษต่อระบบประสาท ทำให้เกิดอาการ เช่น ประสาทหลอน วิงเวียนศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชัก และเสียชีวิตได้

 

 

ใครเก็บเห็ดมีพิษกิน ช่วยได้ 

หากพบผู้ป่วยจากการกินเห็ดมีพิษ จะต้องปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อน ด้วย 6 ข้อที่ควรปฏิบัติในการช่วยเหลือ

  • ให้ดื่มน้ำผสมเกลือ
  • ล้วงคอทำให้อาเจียน เพื่อลดการดูดซึมของสารพิษ
  • ให้กินผงถ่าน (activated charcoal) ที่ผสมกับน้ำให้ข้นเหลวคล้ายโจ๊ก (slurry) โดยผู้ใหญ่ใช้ 30-100 กรัม เด็กใช้ 15-30 กรัม เพื่อดูดสารพิษของเห็ดในทางเดินอาหาร
  • ถ้าไม่มีผงถ่านก็ให้ใช้ไข่ขาวแทน 
  • ส่งโรงพยาบาล พร้อมกับนำตัวอย่างเห็ดที่กินไปด้วย เพื่อเป็นแนวทางในการตรวจสอบชนิดของเห็ด และวางแผนการรักษาที่ถูกต้อง

 

ลักษณะเห็ดที่มีพิษ 

การสังเกตเห็ดพิษไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน เห็ดมีสีฉูดฉาดหรือสีเข้ม มีเกล็ดหรือปุ่มขรุขระอยู่บนส่วนหมวกเห็ด อาจมีวงแหวนรอบก้านเห็ด หรือลักษณะอื่น ๆ ที่ผิดจากชนิดที่เคยกิน ก็ไม่ควรเก็บหรือซื้อมากิน 

 

ลักษณะเห็ดที่กินได้

เห็ดที่กินได้แน่นอนต้องปรุงให้สุกก่อนทุกครั้ง เพราะเห็ดที่กินได้เหล่านี้อาจมีสารพิษ แต่เป็นสารพิษที่ไม่คงตัวเมื่อถูกความร้อน การปรุงให้สุกด้วยความร้อนจะช่วยทำลายสารพิษเหล่านี้ได้

 

สิ่งสำคัญสำหรับคนชอบกินเห็ด คือ หากพบเห็ดที่ไม่รู้จัก ไม่เคยกิน ควรสงสัยไว้ก่อนว่าอาจจะเป็นเห็ดพิษ จากนั้นสิ่งที่ต้องทำคือ หลีกเหลี่ยงไม่เก็บเห็ด 

 

วิธีป้องกันไม่ให้เจอเห็ดพิษในไทย

 

  • กินเห็ดที่เคยกิน และมั่นใจว่าเป็นเห็ดที่กินได้เท่านั้น
  • ต้องปรุงให้สุกก่อนทุกครั้ง
  • ห้ามกินเห็ดสด หรือเห็ดดองโดยเด็ดขาด
  • เลือกเห็ดที่มีลักษณะสดใหม่ ไม่เน่าเสีย ไม่มีเมือก
  • ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับกินเห็ด
  • ไม่กินเห็ดในคราวละมาก ๆ เพราะเห็ดเป็นอาหารที่ย่อยยาก
  • ไม่ควรเก็บเห็ดที่ขึ้นตามบริเวณที่อาจมีการใช้สารเคมี เช่น สนามหญ้า ข้างถนน เป็นต้น

 

รู้แบบนี้แล้วก่อนเก็บเห็ดสังเกตให้ดี ๆ ไม่แน่ใจก็ไม่ควรเก็บเห็ดมากิน เพราะส่งผลเสียต่อร่างกายเกิดอาการท้องเสีย เมา และอาจเสี่ยงเกิดอันตรายได้ด้วย

 

 

ข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)

 

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง