รีเซต

ปธน.ฝรั่งเศสใช้สงครามหาเสียง ชิงบทบาทนักเจรจา ในวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน

ปธน.ฝรั่งเศสใช้สงครามหาเสียง ชิงบทบาทนักเจรจา ในวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน
TNN ช่อง16
8 กุมภาพันธ์ 2565 ( 14:47 )
82
ปธน.ฝรั่งเศสใช้สงครามหาเสียง ชิงบทบาทนักเจรจา ในวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน

---ปูตินพร้อมประนีประนอมในวิกฤตยูเครน หลังเจรจามาครง---


ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน หารือร่วมกับประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ที่ทำเนียบเครมลิน กรุงมอสโกในวันจันทร์ (7 กุมภาพันธ์เพื่อหาทางออกเรื่องวิกฤติการณ์บริเวณพรมแดนรัสเซียกับยูเครน


ในช่วงเริ่มต้นของการประชุม ประธานาธิบดีมาครงกล่าวกับปูตินว่า การหารือครั้งนี้อาจเป็นจุดเริ่มต้นในทิศทางที่เราควรเดินไป คือการลดระดับความตึงเครียด หลีกเลี่ยงสงคราม และสร้างสภาพการณ์ที่นำไปสู่ความเชื่อมัน เสถียรภาพและความชัดเจนสำหรับทุกฝ่าย ขณะที่ ปูติน กล่าวว่า รัสเซียจะทำทุกอย่างเพื่อหาทางประนีประนอม ที่เหมาะกับทุกฝ่าย 


อย่างไรก็ตาม ก่อนการหารือจะเริ่มขึ้น โฆษกรัฐบาลรัสเซีย ดิมิทรี เพสคอฟ กล่าวว่า “สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นน้ันมีความซับซ้อนเกินกว่าที่จะคาดหมายว่าจะเกิดความคืบหน้าสำคัญใด  จากการประชุมเพียงครั้งเดียว” และว่า ยังไม่มีอะไรใหม่จากทางชาติตะวันตกเกี่ยวกับการรับประกันความมั่นคงปลอดภัยของรัสเซีย


รัสเซียได้ส่งกำลังทหารมากกว่า 100,000 คนไปประจำการอยู่บริเวณชายแดนติดกับยูเครน โดยประเทศตะวันตกเกรงว่าปูติน อาจส่งทหารบุกเข้าไปในยูเครน “ได้ตลอดเวลา"


หลังการหารือกับปูติน มาครงจะเดินทางต่อไปยังกรุงเคียฟ เพื่อพบหารือกับประธานาธิบดียูเครน เซเลนสกี ในวันอังคาร


---ไบเดนคุยผู้นำเยอรมนี ลั่นหยุด “นอร์ดสตรีม 2”---


ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ ให้คำมั่น ปิดท่อส่งก๊าซสำคัญของรัสเซีย “นอร์ดสตรีม 2”  ไปยังเยอรมนี หากรัสเซียบุกยูเครน แต่ไม่ได้บอกวิธีการว่าจะดำเนินการอย่างไรในการรับประกันว่า ท่อส่งก๊าซนี้จะไม่ถูกใช้ 


ไบเดนกล่าวหลังหารือกับนายกรัฐมนตรีโอลาฟ โชลซ์ ผู้นำเยอรมนี ในกรุงวอชิงตัน ว่า สหรัฐฯจะ “ยุติ” โครงการท่อส่งก๊าซนอร์ด สตรีม 2 ซึ่งการเจรจาของผู้นำทั้ง 2 มีขึ้นขณะที่ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส พบหารือกับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซียในกรุงมอสโก และแสดงความหวังว่า สามารถหลีกเลี่ยงสงครามได้


โครงการพลังงานที่สร้างความแตกแยกมากที่สุดของยุโรป “นอร์ดสตรีม 2” ถูกกำหนดขึ้นโดยบริษัทก๊าซพรอม บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของรัสเซีย เพื่อส่งก๊าซธรรมชาติจำนวนเพิ่มขึ้นสองเท่าจากรัสเซียมุ่งตรงสู่เยอรมนี ซึ่งท่อก๊าซรัสเซียก่อนหน้านี้ ปกติจะผ่านยูเครน


สหรัฐฯ และเยอรมนี ได้แสวงหาความเป็นเอกภาพร่วมกันในการขัดขวางการรุกรานยูเครนของรัสเซีย โดยไบเดนประกาศสองประเทศ “มีมาตรฐานเดียวกัน” แม้ว่าจะมีคำถามเกี่ยวกับความมุ่งมั่นของเยอรมนีที่จะเร่งดำเนินการท่อส่งพลังานที่สำคัญนี้ 


ด้าน โชลซ์ กล่าวที่ทำเนียบขาวในวันจันทร์ว่า เยอรมนีและสหรัฐฯ ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อรับประกันว่า มาตรการคว่ำบาตรสามารถบังคับใช้ได้อย่างรวดเร็วในกรณีที่รัสเซียโจมตียูเครนครั้งใหม่ มันจะเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมากสำหรับรัสเซีย 


โอลาฟ โชลซ์ นายกรัฐมนตรีของเยอรมนี ขึ้นดำรงตำแหน่งแทนที่นางแองเกลา แมร์เคิล ผู้นำหญิงที่ครองตำแหน่งยาวนานถึง 16 ปี เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา .. และท่าทีของโชลซ์ต่อรัสเซีย ก็ดูจะอ่อนกว่าสหรัฐฯ และชาติพันธมิตรอื่น  


---ศึกชิงบทบาทภายในอียู---


เยอรมนี ไม่ร่วมกับสหรัฐฯฝรั่งเศสสเปน และชาติอื่น  ในการเคลื่อนกำลังพลไปยังยุโรปตะวันออก อีกทั้งยังปฏิเสธ ไม่ให้ชาติพันธมิตรนาโต อย่าง เอสโตเนีย ในการส่งปืนใหญ่ howitzers ซึ่งผลิตในเยอรมนีไปยังยูเครน แต่ส่งอุปกรณ์อย่างอื่นไปช่วยเหลือแทน เช่น เตียงสนาม และ หมวกกันน็อก 


เพราะโชลซ์มีเรื่อง ท่อส่งก๊าซ นอร์ดสตรีม 2 ค้ำคออยู่ .. จะเดินหน้าอนุมัติก็ไม่ได้ จะคว่ำบาตรก็ไม่ได้ เพราะนั่นหมายถึงคุณภาพชีวิตชาวเยอรมันหลายสิบล้านคนที่ประสบภาวะขาดแคลนพลังงานรุนแรง


นี่เอง ที่ทำให้ “โชลซ์” ไม่สามารถแสดงบทบาทนำของอียู เหมือนอย่างที่เยอรมนีเคยเป็นผู้นำยักษ์ใหญ่แห่งอียูมาโดยตลอดได้


และนี่เองที่ทำให้ “มาครง” ถือโอกาสในการนำตัวเองขึ้นสู่เวทีใหญ่ เพื่อแสดงความเป็นผู้นำของชาติอียูในวิกฤตยูเครนครั้งนี้ แทนที่นางแมร์เคิล อีกทั้งเพื่อหวัง “คะแนนเสียง” ที่กำลังจะมีการเลือกตั้งในเร็ว  นี้แล้วด้วย


---มาครงใช้สงครามหาเสียง?---


ยิ่งใกล้เลือกตั้งฝรั่งเศสมากเท่าไหร่ มาครงก็ยิ่งพยายามแสดงบทบาทผู้นำอียูมากเท่านั้น .. โดยมีรายงานว่า นอกจากการพบกันตัวเป็น  เมื่อ 2 วันก่อนนี้..  มาครงยังได้ต่อสายตรงหาปูตินหลายครั้งในเวลาเพียง 1 สัปดาห์ เพื่อพยายามเจรจาหาหนทางทางการทูตในการยับยั้งวิกฤตนี้ .. พร้อมกันนี้ ยังต่อสายถึงไบเดน อย่างน้อย 3 ครั้ง เมื่อสัปดาห์ก่อน เพื่อหารือด้วยเช่นกัน 


ย้อนกลับไปเมื่อปี 2019 สมัยที่โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่มีความสัมพันธ์ไม่ใคร่ดีนักกับนาโต มาครงกล่าวอย่างตรงไปตรงมาว่า ยุโรปกำลังเผชิญกับภาวะสมองตายของนาโต ซึ่งเกิดจากการที่สหรัฐฯ ไม่ใส่ใจพันธมิตรข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก จึงเรียกร้องให้อียูมีบทบาทมากขึ้นในด้านการป้องกันประเทศ โดยที่จะได้ไม่ต้องพึ่งพิงสหรัฐฯ ตลอดไป


ทำเนียบปธน.ฝรั่งเศสเปิดเผยว่า สำหรับปูติน ได้กล่าวชื่นชมมาครงว่าเป็น “คู่เจรจาที่มีคุณภาพ

—————

แปล-เรียบเรียงภัทร จินตนะกุล

ภาพ: CHRISTIAN HARTMANN / POOL / AFP

ข่าวที่เกี่ยวข้อง