คลัสเตอร์ฟันน้ำนม ต้องการสิ่งนี้! กลุ่มเปราะบางที่น่าห่วง เมื่อต้องสู้โควิด-19
คลัสเตอร์ฟันน้ำนม กลุ่มเปราะบางที่น่าเป็นห่วงอย่างมากในสถานการณ์โควิดระบาดทั่วประเทศ เนื่องจากผู้ป่วยเป็นเพียงเด็กเล็กที่อาจเป็นไปได้ว่ายังไม่เข้าใจเกี่ยวกับโรคระบาดที่เกิดขึ้น ซึ่งการที่เด็กป่วยเป็น โควิด-19 ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบร่างกายเท่านั้น แต่มีผลกระทบต่อสภาพจิตใจด้วยเช่นกัน และนี่จึงเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนที่ทีมแพทย์ผู้รักษาต้องพร้อมรับมือและหามาตรการในการดูแลเด็กเล็กอย่างเข้าอกเข้าใจ เนื่องจากเด็กเล็กที่ติดเชื้อต้องเข้ารับการกักตัวนานอย่างน้อย 14 วัน การกักตัวเด็กเล็กที่ติดเชื้อโควิด-19 ส่งผลกระทบทางด้านจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นการถูกจำกัดพื้นที่ การต้องแยกจากพ่อแม่หรือครอบครัว โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ยังดูแลตนเองไม่ได้
ทั้งนี้ กรณีคลัสเตอร์ฟันน้ำนมล่าสุดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมาเกิดขึ้นที่จังหวัดขอนแก่นพบเด็กเล็กติดเชื้อมากถึง 34 คน เป็นครูในศูนย์เด็กฯ 8 คน รวมติดเชื้อ 42 คน ส่วนอีก 5 คน รอผลตรวจซ้ำ โดยคลัสเตอร์ครั้งนี้เกิดจากเด็ก 2 ขวบ ที่อยู่ในครอบครัวผู้ป่วยยืนยันในพื้นที่ ซึ่งเป็นยาย
เมื่อไลท์เรียงไทม์พบว่า ครอบครัวนี้ได้มีการสัมผัสแม่ของเด็กที่ได้เดินทางมาจาก จ.ชลบุรี แล้วเข้ามาอยู่มาสัมผัสกับครอบครัวใน อ.สีมชมพู ประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นได้กลับไปทำงานที่ จ.ชลบุรี ต่อมายายของเด็ก มีอาการไข้ ไอ มีเสมหะ แพทย์เข้าตรวจพบติดเชื้อโควิด-19 จากนั้นได้ส่งไป รพ.ชุมแพ ได้ 1 วัน มีอาการทางปอด แพทย์จึงได้ส่งต่อโรงพยาบาลศรีนครินทร์ พร้อมตรวจครอบครัวของยาย จาก 3 คน พบ 2 คน ติดเชื้อคื อตาและหลาน 2 ขวบ
เด็ก 2 ขวบ ได้ไปอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กศรีสุข ต.สีชมพู อ.สีชมพู ทำให้แพทย์ต้องเข้าสอบสวนโรคภายในศูนย์เด็กเล็ก จึงทำให้พบมีผู้สัมผัสเกี่ยวข้อง 117 คน ส่วนอาการของเด็ก 2 ขวบ พบว่ามีอาการปอดบวม จึงได้ส่งตัวมารักษาต่อที่ รพ.ศรีนครินทร์แล้ว
ขณะที่ทาง ศ.นพ.ทรงศักดิ์ เกียรติชูสกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ศรีนครินทร์ ยืนยันมีความพร้อมในการรับผู้ป่วยมาทำการรักษาพร้อมทำการรักษาอย่างเต็มที่ เต็มความสามารถ และพร้อมให้ความช่วยเหลือสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น หากมีการประสานงานมา ซึ่งได้จัดเตรียมทีมบุคลากรทางการแพทย์ อุปกรณ์ สถานที่ พร้อมดำเนินการรักษาต่อไป
คลัสเตอร์ฟันน้ำนม เด็กติดเชื้อโควิดได้อย่างไร?
จากกรณีดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า โดยทั่วไปแล้วในเด็กก่อนวัยเรียน เด็กมักจะอยู่ที่บ้านเป็นส่วนใหญ่จึงมีโอกาสที่จะสัมผัสความเสี่ยงได้น้อย การได้รับเชื้อของเด็กกลุ่มนี้จึงเกิดจากผู้ใหญ่ คนในครอบครัวทั้งพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือพี่เลี้ยงที่นำเชื้อมาติดเด็ก
ดังนั้น สิ่งที่ผู้ใหญ่ หรือคนในครอบครัวต้องทำนั่นคือ การป้องกันตัวเองอย่างเคร่งครัดเพื่อไม่ให้กลุ่มเปราะบางอย่างเด็กเล็ก ลูก ๆ หลาน ๆ ต้องป่วยโควิด-19
- ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง ใส่ให้ถูกต้อง ใส่ตลอดเวลา
- ล้างมือบ่อย ๆ
- ตามมาตรการเว้นระยะทางสังคม
- งดไปพื้นที่ชุมชนหรือพื้นที่เสี่ยง
- กลับมาถึงบ้านถอดเสื้อผ้าแยกซัก
- กลับถึงบ้านต้องอาบน้ำก่อนเสมอ
และนี่คือสิ่งที่คนในครอบครัวที่ใกล้ชิดต่อเด็กเล็ก ต้องทำ ต้องใส่ใจเพื่อเป็นการป้องกันทั้งตัวเองและเด็ก ๆ ที่อาจจะต้องมาสัมผัสมาติดเชื้อจากผู้ใหญ่ หรือคนในครอบครัวโดยที่ไม่รู้จัดโรคโควิด ไม่รู้ว่าทำไมต้องออกจากอกพ่อแม่
เป็นส่วนหนึ่งช่วย คลัสเตอร์ฟันน้ำนม สู้โควิด-19 ได้
ทั้งนี้ สามารถร่วมสนับสนุน ของใช้เด็ก เครื่องอุปโภคบริโภค เพื่อสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยเด็ก ที่กำลังรักษาตัวเช่น
- ผ้าอ้อม (เบอร์L-XL,)
- นมกล่อง
- ขนม
- ของเล่น
โดยสามารถ นำสิ่งของมามอบได้ ณ ห้องบรรยาย1 โรงพยาบาลศรีนครินทร์ หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ งานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์
1. คุณสุทธิกานต์ โทร.086-2357799
2. คุณนันทภัค โทร. 095-1974169
3. คุณภูริทัศ โทร. 098-0969915
4. คุณสุรัสวดี โทร.097-1623539
อย่างไรก็ตาม ผู้ใหญ่ที่อยู่ร่วมกันกับเด็กเล็กต้องร่วมกันป้องกันตามมาตรการอย่างเคร่งครัด เพราะโอกาสที่คนในบ้านจะติดเชื้อโควิดต้องยอมรับว่ามีภาวะเสี่ยงสูงอย่างมาก
ข่าวเกี่ยวข้อง :
- 'หนูไม่อยากติดโควิด' เปิด 6 วิธี พ่อแม่ต้องทำเมื่อกลับถึงบ้าน
- อย่าทิ้งพวกหนู! เปิดวิธีดูแล 'น้องหมา-น้องแมว' เมื่อคุณติดเชื้อโควิด
- รู้ก่อน...แตะ! เช็คเชื้อโควิด-19 อยู่ที่ไหนนานบ้าง?