รีเซต

เปิดประวัติ "สนามศุภชลาศัย" ที่ BLACKPINK จัดคอนเสิร์ตใหญ่ระดับโลก!

เปิดประวัติ "สนามศุภชลาศัย" ที่ BLACKPINK จัดคอนเสิร์ตใหญ่ระดับโลก!
TNN ช่อง16
5 มกราคม 2566 ( 19:56 )
190
เปิดประวัติ "สนามศุภชลาศัย" ที่ BLACKPINK จัดคอนเสิร์ตใหญ่ระดับโลก!

เปิดประวัติความเป็นมา "สนามศุภชลาศัย" ที่หลายคนอาจยังไม่รู้ จากวังสวยสู่สนามกีฬา ก่อน BLACKPINK มาแสดงคอนเสิร์ตระดับโลก



ภาพจาก TNN Online

 


นับเวลาถอยหลังกี่ไม่กี่ชั่วโมงก็จะมีการทัวร์คอนเสิร์ตในไทยของ 4 สาว BLACKPINK (แบล็กพิงก์) เกิร์ลกรุ๊ปชื่อดังสุดฮอตจากเกาหลีใต้ จีซู, เจนนี่, โรเซ่, และลิซ่า จากค่าย YG Entertainment  พวกเธอกลับมาพร้อมผลงานล่าสุดสำหรับเวิลด์ทัวร์ BORN PINK ใน BLACKPINK WORLD TOUR [BORN PINK] SCHEDULE  ANNOUNCEMENT โดยคอนเสิร์ตในไทยครั้งนี้ จัดขึ้นในวันที่ 7-8 มกราคม 2566 ณ สนามกีฬาแห่งชาติ (สนามศุภชลาศัย) ซึ่งมีราคาบัตรอยู่ที่  9,600 / 6,800 / 6,600 / 5,800 / 5,600 / 4,800 / 3,800 / 2,800 / 2,000 บาท



ภาพจาก กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

 


ทำความรู้จัก สนามกีฬาแห่งชาติ (สนามศุภชลาศัย)

แต่เดิมการแข่งขันกรีฑานักเรียน จะจัดอยู่ที่สนามโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ต่อมา นาวาโท หลวงศุภชลาศัย ร.น. อธิบดีกรมพลศึกษาคนแรก ได้ย้ายสนามแข่งขันไปแข่งขันที่ท้องสนามหลวง เมื่อ พ.ศ. 2477 และในปีเดียวกันก็ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินบริเวณตำบลวังใหม่ กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตรง บริเวณที่เดิมเป็นวังวินเซอร์ ซึ่งเป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ สร้างพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกฏราชกุมาร เพื่อสร้าง สนามกีฬา และโรงเรียนพลศึกษากลาง สนามกีฬาแห่งใหม่นี้ใช้ชื่อว่า สนามกรีฑาสถาน เริ่มงานตั้งแต่ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480 จวบจนแล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ.2484


กรมพลศึกษาย้ายมาอยู่ที่ สนามกีฬาแห่งใหม่นี้เมื่อ พ.ศ.2481 พร้อมทั้งย้ายการแข่งขันกรีฑาประชาชนชาย ประจำปี พ.ศ. 2481 จากสนามหลวงมาจัดที่นี่ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันท มหิดล เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานพิธีเปิดการแข่งขัน ณ สนามกรีฑาสถานเป็นครั้งแรก


เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 กรมพลศึกษา ได้เปลี่ยนชื่อสนามกรีฑาสถาน เป็น สนามศุภชลาสัยกรีฑาสถานแห่งชาติ เพื่อเป็นเกียรติแก่ หลวงศุภชลาศัย ปัจจุบันนิยมเรียกสั้น เพียงว่า สนามศุภชลาศัย หรือสนามกีฬาแห่งชาติ


ปัจจุบัน สนามศุภชลาสัยได้อยู่ในความดูแลของกรมพลศึกษา และได้คืนพื้นที่บางส่วนให้เป็นสถานที่เรียน ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และใช้สถานที่บางส่วนเป็นที่ทำการของกรมพลศึกษา นอกจากนั้นยังเป็นที่ตั้งของหน่วยงาน สมาคมเกี่ยวกับกีฬา และนันทนาการอื่นๆ



ภาพจาก กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

 


วัตถุประสงค์

-เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลระดับชาติเฉพาะรอบรองชนะเลิศ หรือรอบชิงชนะเลิศ หรือกีฬาฟุตบอลระหว่างประเทศ

-เพื่อใช้ในการแข่งขันกรีฑาระดับชาติ หรือกรีฑาระหว่างประเทศ

-เพื่อใช้จัดกิจกรรมทางการกีฬา หรือกิจกรรมอื่นที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อลู่วิ่งและอุปกรณ์ประจำสนาม ซึ่งกรมพลศึกษาจะพิจารณาอนุญาตเป็นรายๆ ไป

-การจัดกิจกรรมอื่นๆ ในการให้บริการประชาชน


ผู้มีสิทธิขอใช้สนามศุภชลาศัย

หน่วยงานของทางราชการ สมาคมกีฬาสมัครเล่น หรือหน่วยงานอื่นที่กรมพลศึกษาให้ความร่วมมือทั้งภาครัฐและภาคเอกชนหน่วยงานอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น


สนามศุภชลาศัย

1. ขนาดสนาม กว้าง 72 ยาว 110 เมตร(สนามฟุตบอล กว้าง 68 เมตร ยาว 105 เมตร)

2. ลู่วิ่ง 8 ลู่

3. ความจุที่นั่ง 19,615 ที่นั่ง ด้านมีหลังคา 5,804 ที่นั่ง , ด้านฝั่งตรงข้ามมีหลังคา 5,486 ที่นั่ง , อัฒจันทร์ด้านเหนือ 3,942 ที่นั่ง , อัฒจันทร์ด้านใต้ 4,383 ที่นั่ง

4. ห้องพักนักกีฬา 4 ห้อง

5. ห้องผู้ตัดสิน 1 ห้อง

6. ห้องผู้สื่อข่าว 1 ห้อง

7. ห้องรับรองวีไอพี 1 ห้อง

8. ห้องพยาบาล 1 ห้อง

9. ห้องแถลงข่าว 1 ข่าว (จุได้ 50 คน)


อัตราค่าใช้บริการ สนามศุภชลาศัย

1. กิจกรรมทางการกีฬา นันทนาการ วิทยาศาสตร์การกีฬา

   - ค่าบริการสนามและอาคารสถานกีฬา ชั่วโมงละ 2,500 บาท

   - ค่าบริการสกอร์บอร์ด ชั่วโมงละ 500 บาท 

   - ค่าบริการเครื่องเสียง วันละ 1,000 บาท

   - ค่าไฟฟ้าส่องสนาม ชั่วโมงละ 3,000 บาท

   - ค่าสาธารณูปโภค วันละ 2,000 บาท 

   - หลักประกันความเสียหาย ครั้งละ 10,000 บาท


2. กิจกรรมกีฬา กิจกรรมนันทนาการ วิทยาศาตร์การกีฬา (มีการจำหน่ายบัตร)

   - ค่าบริการสนามและอาคารสถานกีฬา ชั่วโมงละ 5,000 บาท

   - ค่าบริการสกอร์บอร์ด ชั่วโมงละ 500 บาท 

   - ค่าบริการเครื่องเสียง วันละ 1,000 บาท

   - ค่าไฟฟ้าส่องสนาม ชั่วโมงละ 3,000 บาท

   - ค่าสาธารณูปโภค วันละ 2,000 บาท 

   - ค่าบริการพิเศษ ครั้งละ 100,000 บาท

   - หลักประกันความเสียหาย ครั้งละ 100,000 บาท


การแข่งขันกีฬารายการสำคัญที่ใช้งาน

-เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 5 ประจำปี พ.ศ. 2509

-เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2513

-เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 8 ประจำปี พ.ศ. 2521

กีฬาแหลมทอง (ซีเกมส์)

-กีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2502

-ซีเกมส์ ครั้งที่ 13 ประจำปี พ.ศ. 2528

-ฟุตบอลถ้วยพระราชทาน

-ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ

-ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานควีนสคัพ

-งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์

-ฟุตบอลประเพณีจตุรมิตรสามัคคี

-ฟุตบอลโลกหญิง รอบคัดเลือกโซนเอเชีย ประจำปี พ.ศ. 2550

-ฟุตบอลในกีฬามหาวิทยาลัยโลก ครั้งที่ 24 ประจำปี พ.ศ. 2550

-เอเอฟซี เอเชียนคัพ 2007

-ไทยลีกคัพ

-ไทยเอฟเอคัพ



ภาพจาก TNN Online

 




ที่มา กรมพลศึกษา / wikipedia

ภาพจาก กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา / @blackpinkofficial

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง