รีเซต

เอดีบีคงคาดการณ์ 'เศรษฐกิจกัมพูชา' ปี 2022 โต 5.3%

เอดีบีคงคาดการณ์ 'เศรษฐกิจกัมพูชา' ปี 2022 โต 5.3%
Xinhua
21 กันยายน 2565 ( 19:25 )
44
เอดีบีคงคาดการณ์ 'เศรษฐกิจกัมพูชา' ปี 2022 โต 5.3%

พนมเปญ, 21 ก.ย. (ซินหัว) -- วันพุธ (21 ก.ย.) ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาในปี 2022 คงไว้ที่ร้อยละ 5.3 ทว่าปรับลดตัวเลขคาดการณ์สำหรับปี 2023 เหลือร้อยละ 6.2 จากเดิมร้อยละ 6.5 เนื่องด้วยการเติบโตของเศรษฐกิจของโลกที่ซบเซา

 

ผลผลิตสินค้าประเภทเครื่องแต่งกาย สินค้าเพื่อการเดินทาง และรองเท้าของกัมพูชายังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.8 เมื่อเทียบปีต่อปี ในช่วงครึ่งแรกของปี 2022 แม้เศรษฐกิจของสหรัฐฯ และยุโรปจะชะลอตัวภาคการผลิตที่ไม่ใช่เครื่องแต่งกายยังคงมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้านภาคการก่อสร้างฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปโดยมีมูลค่าการนำเข้าวัสดุการก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.8 ส่วนผลผลิตอุตสาหกรรมคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 ในปีนี้ ก่อนจะลดลงเหลือร้อยละ 8.6 ในปี 2023 เนื่องด้วยอุปสงค์ภายนอกที่อ่อนแอลงเจโยสนา วาร์มา ผู้อำนวยการธนาคารฯ ประจำกัมพูชา ระบุว่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในกัมพูชาที่เพิ่มขึ้นและการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปของภาคการก่อสร้างและบริการ ได้เกื้อหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาในปี 2022 แม้การเติบโตของภาคการเกษตรจะลดลงเนื่องด้วยราคาเชื้อเพลิงและปุ๋ยที่พุ่งสูงขึ้น รวมถึงฝนตกหนักวาร์มาระบุว่ามาตรการสนับสนุนทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาลอย่างโครงการจัดสรรเงินช่วยเหลือแก่ครัวเรือนที่ยากจนและด้อยโอกาส มีประสิทธิภาพในการบรรเทาผลกระทบของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูงขึ้นทั่วโลกต่อกลุ่มคนยากจนขณะเดียวกันธนาคารฯ ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปี 2022 ของกัมพูชา เป็นร้อยละ 5 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ในเดือนเมษายนที่ร้อยละ 4.7 เนื่องด้วยผลกระทบอันรุนแรงของราคาเชื้อเพลิงที่พุ่งสูงจากความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ขณะคงตัวเลขคาดการณ์ของปี 2023 ไว้ที่ร้อยละ 2.2ธนาคารฯ ระบุถึงความเสี่ยงต่อแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชา ได้แก่ การอุบัติของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ชนิดกลายพันธุ์ใหม่ๆ ที่อันตรายกว่าเดิม การแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิง สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การเติบโตที่อ่อนแอของคู่ค้ารายใหญ่ ภาวะหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก รวมถึงราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูงเกินคาดการณ์ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง