รีเซต

คู่มือการเลือกตั้ง อบต. 2564 : องค์การบริหารส่วนตำบล คืออะไร?

คู่มือการเลือกตั้ง อบต. 2564 : องค์การบริหารส่วนตำบล คืออะไร?
TeaC
20 ตุลาคม 2564 ( 11:16 )
1.4K
คู่มือการเลือกตั้ง อบต. 2564 : องค์การบริหารส่วนตำบล คืออะไร?

คู่มือการรับสมัครรับเลือกตั้ง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปี 2564 มาทำความเข้าใจกันหน่อยว่า องค์การบริหารส่วนตำบลคืออะไร? มีความสำคัญอย่างไร?

 

องค์การบริหารส่วนตำบล คืออะไร?

เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความสำคัญต่อท้องถิ่นเป็นอย่างมาก มีขนาดเล็กและอยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ชนบท ซึ่งจัดตั้งโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เพื่อดูแลและจัดทำบริการสาธารณะแก่ประชาชนในหมู่บ้าน ตำบล มีฐานะเป็นนิติบุคคล

 

ในปัจจุบันมีองค์การบริหารส่วนตำบล หรือ อบต. จำนวน 5,300 แห่ง (ข้อมูล ณ วันที่ 9 กันยายน 2563)

 

ส่องจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

สำหรับสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน เขตเลือกตั้งละ 1 คน โดยกำหนดเขตหมู่บ้านเป็นเขตเลือกตั้ง เว้นแต่ หมู่บ้านใดมีราษฎรไม่ถึง 25 คน ให้รวมหมู่บ้านนั้นกับหมู่บ้านที่มีพื้นที่ติดต่อกัน และรวมกันแล้วมีราษฎรถึง 25 คน เป็นเขตเลือกตั้งเดียวกัน อายุของสภาองค์การบริหารส่วนตำบล มีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง

 

หาก อบต. ใดมีเขตเลือกตั้งไม่ถึง 6 เขตเลือกตั้ง (หมู่บ้าน) ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น ประกอบด้วยสมาชิก (ส.อบต.) จำนวน 6 คน โดย

 

  • ถ้ามี 1 เขตเลือกตั้ง ให้มี ส.อบต. 6 คน
  • ถ้ามี 2 เขตเลือกตั้ง ให้มี ส.อบต. ได้เขตเลือกตั้งละ 3 คน
  • ถ้ามี 3 เขตเลือกตั้ง ให้มี ส.อบต. ได้เขตเลือกตั้งละ 2 คน
  • ถ้ามี 4 เขตเลือกตั้ง ให้มี ส.อบต. ได้เขตเลือกตั้งละ 1 คนก่อน แล้วเพิ่มให้เขตเลือกตั้งที่มีจำนวนราษฎรมากที่สุด 2 เขตเลือกตั้งแรก เขตเลือกตั้งละ 1 คน
  • ถ้ามี 5 เขตเลือกตั้ง ให้มี ส.อบต. ได้เขตเลือกตั้งละ 1 คน และเพิ่มให้เขตเลือกตั้งที่มีจำนวนราษฎรมากที่สุดอีก 1 คน

 

และกำหนดให้มีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่มาจากการเลือกตั้ง จำนวน 1 คน โดยใช้เขตตำบลเป็นเขตเลือกตั้ง มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้ ในกรณีดำรงตำแหน่งไม่ครบ 4 ปี ก็ให้ถือว่าเป็น 1 วาระและเมื่อได้ดำรงตำแหน่ง 2 วาระ ติดต่อกันแล้วจะดำรงตำแหน่งได้อีกเมื่อพ้นระยะเวลา 4 ปีนับแต่วันพ้นตำแหน่ง

 

ข้อมูล : https://www.ect.go.th/

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง