ประชุม APEC 2022 เรื่องอะไรบ้าง ไทยเป็นเจ้าภาพประชุม Apec 2022 ได้อะไรบ้าง
ประชุม APEC 2022 วันที่ 14 - 19 พ.ย. 65 โดยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพเอเปค ครั้งที่ 29 โดยไฮไลท์ เรื่องในการประชุมเอเปค 2565 หรือ ประชุม APEC 2022 จะมีเรื่องอะไรบ้าง ไปเช็กกัน
ประชุม APEC 2022
การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 หรือ ประชุม APEC 2022 จัดขึ้นที่ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 14 - 19 พฤศจิกายน 2565 โดยวันที่ 14 - 16 พ.ย. 65 เป็นการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส วันที่ 17 พ.ย. 65 เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรี และ วันที่ 18 - 19 พ.ย. 65 เป็นการประชุมผู้นำและกิจกรรมคู่สมรส
ประชุม APEC 2022 เรื่องอะไรบ้าง
9 ประเด็นไฮไลท์ที่เอเปคให้ความสำคัญ" ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาของสมาชิกเอเปค
- การคลังและการธนาคาร: ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล มุ่งสู่การเงินการคลังยั่งยืน
- การค้า: ผลักดัน FTAAP เป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก
- ท่องเที่ยว: การท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน ท่องเที่ยวชุมชน ยลวิถีชีวิต
- ป่าไม้: ลดการทำลายป่า ต่อต้านการค้าไม้ผิดกฎหมาย
- สาธารณสุข: ฐานข้อมูลข้อจำกัดการเดินทางข้ามแดน ประวัติการฉีดวัคซีนโควิด-19
- มั่นคงทางอาหาร: ไม่ขาดแคลนอาหาร ขยะอาหารเป็นศูนย์
- ภัยพิบัติ: เตรียมตัว รับมือ และฟื้นฟูจากภัยพิบัติ สร้างสังคมและธุรกิจที่ยั่งยืน
- SME: สนับสนุน Start up เข้าถึงแหล่งเงินทุนและไปไกลถึงตลาดโลก
- สตรีและเศรษฐกิจ: ส่งเสริมบทบาทสตรี เข้าถึงแหล่งทุนและตลาด เป็นผู้นำในทุกระดับ
ประชุมเอเปค 2565 วันนี้ เรื่องอะไร
วันที่ 14 พ.ย. 65 มีการประชุมพิจารณาร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุม 3 ฉบับ (ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค) โดยเอกสารหลักที่จะพิจารณา คือ ร่างเป้าหมายกรุงเทพฯ (Bangkok Goals) โดยมีเป้าหมาย 4 ประการ ได้แก่
- การจัดการกับปัญหาสภาพภูมิอากาศ ความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์
- การสนับสนุนการค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน
- การบริหารจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ
- การลดและบริหารจัดการของเสีย
ประชุม apec 2022 ได้อะไรบ้าง
ไทยเป็นเจ้าภาพประชุม Apec 2022 ได้ประโยชน์ ดังนี้
- ใช้ประโยชน์จากการหารือภายใต้กรอบเอเปค ในการแสวงหาความร่วมมือกับสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปค เพื่อปฏิรูปและยกระดับมาตรฐานทางเศรษฐกิจของไทยให้ทันสมัยและเป็นสากล
- ยกระดับการค้าและการลงทุนภายในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
- ได้พัฒนาระบบเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า
- ลดข้อจำกัดและอุปสรรคทางการค้าระหว่างเขตเศรษฐกิจ
- สร้างโอกาสทางการค้าการลงทุนระหว่างไทยกับเขตเศรษฐกิจเอเปค
- ได้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาครัฐและภาคเอกชน
- เสริมสร้างศักยภาพให้ผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยของไทยเข้าสู่ระบบการค้าโลกได้
- เป็นการสนับสนุนการนำไปสู่การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ซึ่งถือเป็นการดำเนินงานที่สอดรับกับบริบทโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Disruption)
- ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากคณะทำงานของเขตเศรษฐกิจอื่น ๆ
- ถ่ายทอดเทคโนโลยี และการเข้าถึงองค์ความรู้จาก Think Tank ที่สำคัญ เช่น Pacific Economic Cooperation Council (PECC) และ Organization for Economic Cooperation and development (OECD)
นอกจากนี้ การเป็นเจ้าภาพการประชุมของไทยท่ามกลางบรรยากาศการฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ โดยเฉพาะภาคการเดินทางและท่องเที่ยว ภาคธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและการค้าดิจิทัล ซึ่งเป็นการฟื้นฟูการเดินทางและการทำธุรกิจแบบพบหน้า ส่งผลให้เกิดการกระจายรายได้ ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และลดความเหลื่อมล้ำอันก่อให้เกิดการพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืน รวมถึงเป็นโอกาสในการแสดงความพร้อมว่าไทยสามารถปรับตัว และอยู่ร่วมกับสถานการณ์โควิด-19 โดยที่ยังสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปพร้อมกันได้
ข้อมูล https://www.apec2022.prd.go.th
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.
คลิกเลย >>> TrueID Community <<<