แลกคนละครึ่งเป็นเงินสด ผิดไหม? เปิดข้อกฎหมาย ร้านค้ารับแลกเงินสดคนละครึ่งเฟส 4
หลังจากที่มีการเปิดลงทะเบียนคนละครึ่งเฟส 4 สำหรับประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้เข้าร่วมคนละครึ่งเฟส 3 (ประชาชนทั่วไป) เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นวันแรก ขณะนี้มีผู้ลงทะเบียนสิทธิคนละครึ่งครบแล้วจำนวน 29 ล้านสิทธิ ซึ่งประชาชนทั่วไปฯ ที่ลงทะเบียนคนละครึ่งเฟส 4 สำเร็จ จะสามารถเริ่มใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 2565
ส่วนประชาชนที่เข้าร่วมคนละครึ่งเฟส 3 ยังสามารถกดยืนยันสิทธิเข้าร่วมคนละครึ่งเฟส 4 ผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” อย่างต่อเนื่อง โดยจะต้องเริ่มใช้สิทธิ ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 22.59 น. หากพ้นกำหนดดังกล่าวจะถูกตัดสิทธิ์
แต่ก็เริ่มร้านค้า ผู้ประกอบการคนละครึ่ง เริ่มกระทำความผิดเงื่อนไขโครงการฯ ในลักษณะไม่มีการซื้อขายสินค้าหรือบริการจริงซึ่งกระทรวงการคลังได้มีการระงับสิทธิผู้ประกอบการดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว และจะเข้าสู่กระบวนการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยเฉพาะมีการเปิดกลุ่มเฟซบุ๊ก หรือร้านค้ารับแลกเงินสดคนละครึ่ง แลกเงินคนละครึ่งออนไลน์ สำหรับคนที่ไม่ต้องการใช้สิทธิแต่อยากได้เงินสดแทน กระทรวงการคลังได้ออกมาเตือนแล้วว่าไม่เข้าเงื่อนไขการใช้จ่าย และมีโทษตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย
เพจตำรวจสอบสวนกลาง จึงขอเตือนพี่น้องประชาชน อย่าหลงเชื่อ แลกสิทธิคนละครึ่งเด็ดขาด หากเจ้าหน้าที่ตรวจพบการกระทำความผิด จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยมีกฎหมายระบุชัดเจนดังนี้
- เจ้าของสิทธิที่เอาสิทธิไปแลกเงินจะมีความผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกง” ตาม ป.อาญา ม.341
- ส่วนคนรับแลกสิทธิ อาจมีความผิดฐาน “ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยไม่ชอบ ตาม” ตาม ป.อาญา ม.269/5
ดังนั้นแลกคนละครึ่งเป็นเงินสด ผิดไหม? จึงสรุปได้ว่า รับแลกสิทธิคนละครึ่งเป็นเงินสด “ผิดกฎหมาย” ทั้งเจ้าของสิทธิและร้านรับแลกเงินสดคนละครึ่ง
ข้อมูล กองปราบปราม
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.
คลิกเลย >>> TrueID Community <<<