รีเซต

คนดีต้องมีที่ยืน โลกต้องดีกว่า : ประมงพื้นบ้านอ่าวคั่นกะได ทะเล คือ “ธนาคาร”

คนดีต้องมีที่ยืน โลกต้องดีกว่า : ประมงพื้นบ้านอ่าวคั่นกะได ทะเล คือ “ธนาคาร”
TNN ช่อง16
8 กรกฎาคม 2566 ( 07:47 )
85
คนดีต้องมีที่ยืน โลกต้องดีกว่า : ประมงพื้นบ้านอ่าวคั่นกะได ทะเล คือ “ธนาคาร”


เค้าหว่านปลาอยู่เราเอาเรือวิ่งไปขวาง ไม่ให้เค้าหว่านเลย จะชนกันก็มี จะยิงกันก็มี คิดถึงแต่จะจับให้ได้มากที่สุด  จับปลาชนิดไหนก็ได้ ตัวเล็กตัวน้อยยังไงก็ให้ได้มากที่สุด เมื่อก่อนเค้าเรียกเราพวกกองปราบปลา เดี๋ยวนี้เค้าเรียกเราพวกบ้าอนุรักษ์ เข้ามาทำอะไรก็ห้ามไปหมด ที่เราได้กลับมาเนี่ยมันเห็นผล มันทำให้เรารู้สึกหวงแหน 




แต่ถ้าช่วงพีคๆ ได้เยอะๆ เลยน้ำนึงก็ 10 ตันเหมือนกัน 15 วัน


บางคนก็ไม่เห็นด้วยกับเราในสิ่งที่เราทำเราทำมา 10 กว่าปีจนเค้าเห็น แล้วเค้ามายอมรับเราว่าเออ พวกมึงทำกันจริงอะไรจริงก็ยอมรับ สัตว์น้ำที่มันหายไปจากบ้านเรา หาไม่ได้เลย ถึงขนาดบางคนเลิกเรือ บางคนขายเรือ


เคยทำประมงที่ผิดมาก่อนไหม? 


แน่นอนครับ เมื่อก่อนนี้เราจับลูกปลาใช้อวนปลาหลังเขียว 2.9 เซนต์ แล้วมันมีอ้วนปลาออกกะแร้ชี ที่ 2.5 เซนต์ 2.5 เซนต์เรานำไปจับลูกปลาทู ลูกปลาหลังเขียว 2.5 ไม่พอเราลดลงไปจนเหลือ 2.3 จับจนหมดอ่ะหน้าบ้านเรา หน้าประจวบในอ่าวมะนาวนี่เราไปลักลอบจับหมด ไปที่ไหนก็จับปลาหมด เรามารู้ตัวอีกทีก็ตอนที่ปลามันหมดหน้าบ้านไปแล้ว ไม่มีปลาให้จับ

38 ปี ทำแต่ประมง?


38 ปีครับ ไม่เคยทำอาชีพอื่นเลยครับนอกจากทำประมง เริ่มออกเรือตั้งแต่อยู่ ป. 5 ช่วงเย็น มาเอาจริงๆ จังๆ ก็คือช่วงจบประถมศึกษาปีที่หก ผมไม่ได้เรียนต่อก็ออกเรือเลย ไปครั้งแรกจำได้หรือว่าไปอวนกุ้งนะครับ แล้วก็มันมีคลื่น คลื่นใหญ่มาก เมาคลื่นนอนอยู่ข้างแคม ทำอะไรไม่ได้เลยพ่อต้องเอาวิ่งมาส่งที่ฝั่ง เป็นครั้งแรกเลยที่เมาคลื่น ถ้าเป็นประสบการณ์ในการเมาคลื่นเนี่ยผมจำได้ 30 กว่าปีที่ผมทำประมงมา ผมเมาคลื่นแค่สามครั้ง หลังจากนั้นมาไม่มีความรู้สึกว่าเมาคลื่นหรือมึนหัว หรืออะไรกับคลื่นลมอีกเลย มันหายไปเลย มันไม่เคยมีความรู้สึกแบบนั้นเลย


เมื่อก่อนนี่ใช้เส้นเรือโขนนะครับเป็นเรือนอนท้อง การปล่อยอวนก็ใช้แจวปล่อยเอา


ถ้าย้อนกลับไปอ่าวคั่นกะไดที่เราเห็นเรือมากมายเนี่ย สมัยนั้นมีเรืออยู่แค่ห้าลำ เป็นอวนหอยกับอวนกุ้ง แล้วก็จับหมึกก็จะใช้ตะเกียงเจ้าพายุจับ เมื่อก่อนไม่มีเบ็ดตกอโย ตกหมึกนะครับ เราใช้เข็มกลัด เราหาเหยื่อเอาปลามาแล้วก็ใช้เข็มกลัดเกี่ยว แล้วก็เอาลูกตะกั่วทิ้งไว้สักพักนึงแล้วก็ค่อยๆ สาวขึ้นมา แล้วเอาสวิง เวลาหมึกมันมากินปลา เราก็ใช้สวิงตัก เราก็เอาขึ้นมาทีละตัว 


สมัยนั้นปลาเยอะมากครับ ไม่ต้องออกเรือไปไกลแค่แจวเรือออกไปแล้วก็ปล่อยอวนแล้วก็ได้ปลามาเยอะมาก


เดี๋ยวนี้ถ้าจะจับปลาทูจริงๆ ต้องออกไปนอก 3 ไมล์ครับ ต้องออกไป 5ไมล์ 7 ไมล์ นู้นละครับ จับปลาทู


จนมาประมาณซักปี 37 , 38 มันเริ่มมีเรือเพิ่มขึ้น เริ่มชาวประมงมากขึ้น แล้วก็เริ่มมีแม่ค้าคนกลางเข้ามารับซื้อ เริ่มมีโรงน้ำแข็ง เริ่มมีแพปลา มันทำให้การทำประมงในช่วงนั้นน่ะมันเริ่มเปลี่ยนจากเรือ 5 ลำกลายเป็น 10 ลำ 20 ลำ 30 ลำ ปัจจุบันนี้เรือสำรวจเมื่อห้าปีที่แล้ว 80 ลำ ที่มีอยู่ในอ่าวนี้ แล้วทรัพยากรมันก็ลดลงด้วยตามจำนวนเรือมันกลายเป็นธุรกิจไปแล้วมันต้องจับปลาให้ได้มากเพื่อที่จะนำมาขาย


ปลาทู ปลาตุ๊กตา หมึกกระเพรา ปลาลิ้นหมา อะไรพวกนี้อ่ะครับที่มันหายไปเลย



มันหลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วยสภาวะโลกร้อน ที่มันมีผล ที่รองลงมาที่เห็นก็คือเครื่องมือของชาวประมงที่ไม่มีการพัฒนามากขึ้น เมื่อก่อนไม่มีดาวเทียมไม่มีโซลาร์ เมื่อก่อนแม้กระทั่งเรือใหญ่เองหาปลาก็เริ่มมาจากหาปลาที่หัวเรือ มองปลาที่หัวเรือ จากประสบการณ์ในการทำประมงก็คือหัวลองปั่นไฟ  กับหัวลาก เพราะว่าสองเครื่องมือนี้อย่างเช่นยกตัวอย่างหัวลากเนี่ยล่ะ ลากอวนไปโดยไม่ได้สนใจว่าอะไรบ้างที่จะเข้าไปในท้องอวน สัตว์น้ำที่มันเข้าไปอยู่ข้างใต้มันก็ตายหมดมันก็ไม่มีโอกาสรอดไม่ว่าจะเป็นลูกปลาเล็กปลาน้อย ไม่ว่าจะเป็นเต่า ไม่ว่าจะเป็นหว่าน ถ้าเข้าในถุงก็มีโอกาสรอดน้อยมาก


แต่ถ้าเราเห็นที่มันไม่รอดคืออวนล้อมปลากะตัก ในเวลากลางคืน ตาอวนเค้าจะ 0.6 มิลลิเมตร เท่ากับมุ้งเราอ่ะครับ เวลาที่ปั่นไฟแล้วมันก็รวบสัตว์น้ำขึ้นมาทั้งหมด ก็เลือกเอาปลากะตักเอาปลาอะไรมาตากแห้งขาย ปลาอื่นก็ขายเป็นปลาเป็ดปลาไก่ มันก็ทำให้สัตว์น้ำลดจำนวนลง



ประมงพื้นบ้านเรา เราจับสัตว์น้ำตามฤดูกาล เราจะจับปลาทูเราต้องเอาอวนปลาทูไปจับ เราจะไปจับหมึกเราต้องใช้ไดไปปั่น เราจะออกกุ้งเราต้องใช้อวนกุ้งไปจับ มันไม่ได้ใช้เครื่องมือเดียวจับได้ทุกอย่าง ดังนั้นเรือประมงพื้นบ้านจะมีหลายเครื่องมือเวลาที่สัตว์อะไรได้เราก็จะเอาเครื่องมือนั้นไปจับ มันทำให้ต้นทุนมันสูงขึ้นนะครับ ขั้นต่ำก็ต้องมีถึงหลักแสนขึ้นน่ะครับ อุปกรณ์เครื่องมือของชาวประมงเนี่ยขึ้นเยอะมาก แต่ราคาปลาไม่ขึ้นเลย 


อวนมันแพงครับ เราก็พยายามที่จะต้อง พอกระแสน้ำมันไหล ธงมันเยอะอ่ะครับ ถ้าไปติดอะไรอย่างเนี้ยเราก็ต้องแก้ไขให้ทัน ถ้าเราช้าปั๊บเราก็มีโอกาสที่จะหมดตัวได้เลย


ชาวประมงทุกคนรักทะเลทุกคนแหละครับ มันก็อยู่ที่เราสามารถดูแลได้แค่ไหน คั่นกะไดเราเนี่ยตั้งเป็นสมาคมเราก็ดูแลทะเลด้วยกัน ไม่ใช้เครื่องมือผิดกฎหมาย ไม่จับลูกปลา ไม่ทิ้งขยะลงทะเล มีกิจกรรมอะไรที่ช่วยทะเลได้เราก็จะรณรงค์ช่วยกันครับ


และวิธีการเอาไปลงทะเลนี้พี่เอาไปลงยังไง


งานหนักที่สุดของบ้านปลาก็คือว่าการขนลูกปูนหนักประมาณ 50 กิโลลงเรือ สมมติปูนมันแห้งดีปั๊บเราก็จะช่วยกันยกคว่ำลงมา แล้วก็กระแทกๆ ให้มันขยับแล้วก็ชักกระบะออก ยกคนเดียวไม่ไหวครับ หนักมาก



อย่างนี้ก็คือเสร็จเรียบร้อยครับ รอขนลงเรือ ขนลงเรือแล้วก็จะเอาเชือกผูกที่หูนี่ อีกด้านหนึ่งก็ผูกที่ตูดไม้พาย ตูดไม้พายก็เจาะรู แล้วในระวางเชือก ก็จะเป็นทางมะพร้าวครับ



แล้วอย่างนี้งบประมาณที่เราเอามาทำอันนี้คือเอามาจากไหน


14 กุมภาพันธ์ เราก็จะดมทุนจากชาวเรือชาวประมงด้วยกันแล้วก็มีงบของสมาคมเองบ้างครั้งที่สองก็จะเป็นอบต. อ่าวน้อยที่สนับสนุนเราปีละ 50,000 บาท ครั้งที่สามก็จะมีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สนับสนุนงบมาปีละ 10,000 บาทนะครับ ปีนี้ได้มา 15,000 บาท เดี๋ยวเรากำลังติดต่อหาไม้พาย ไม้พายเราก็ต้องซื้อลำละ 120 บาท ก็ต้องซื้อต้องสั่งเขามา เชือกก็แพง




ในสมาคมเค้ามีการบริหารงบประมาณยังไง


จะมีเงินอยู่ในบัญชีก็สองในสามที่จะเบิกได้ สมมติว่าเสร็จเรียบร้อยปั๊บวันต่อไปพี่น้อยก็จะมาชี้แจงแล้วว่า ค่าปูนสามคิวเท่าไหร่ ค่าเชือกหกก้อนเท่าไหร่ ค่าเครื่องดื่มกาแฟในการที่จะมาทำงานค่าข้าวค่ากับข้าวอะไรอย่างนี้ก็ต้องชี้แจงครับ เรื่องเงินสำคัญครับ  ต้องโปร่งใสที่สุด


ปรากฏว่าทำแล้วมันได้ผล ปลาที่มันไม่มีมันเริ่มกลับมา ที่นี่ก็ทำกันต่อเนื่องมานะครับตั้งแต่ปีห้าหนึ่งจนปัจจุบันนี้ กฎกติกาที่เราทำในเรื่องของซั้งก็คือว่า ห้ามอวนทุกชนิดหว่านล้อมซั้งที่เราทำขึ้นมา บางทีมีเรือจากต่างพื้นที่มาทำประมงเราก็ไปบอกเขาหรือว่าวิทยุ บางคนก็รู้จักกันก็ขึ้นเสียงมาหากินหน้าบ้านเราได้ทุกลำ แต่ว่าต้องใช้เครื่องมือให้เหมือนเรา ไม่ใช้อวนตาถี่ ไม่หวานล้อมซั้ง


โกงงบประมาณพันธุ์สัตว์น้ำ


ที่บ้านผมนี่แหละ เขียนงบประมาณไปขอพันธ์ุสัตว์น้ำเพื่อที่จะเอามาปล่อย รู้สึกว่าจะเป็นกุ้งนะฮะจะ 500,000 ตัว เอามาดูแล้วว่าเฮ้ยปริมาณมันไม่ถึงอ่ะ มันก็เกิดการร้องเรียนกัน นี่ขนาดเป็นแค่สัตว์น้ำขนาดเล็กนะมันไม่ได้ฟิกว่า 500,000 ตัวมันแค่ไหน แต่ว่าถ้าคุณจริงใจถ้าคุณตั้งใจทำจริงๆ อ่ะมันต้องได้มากกว่า 500,000 ตัว



ปลาเต็มทะเลครับ แล้วชาวประมงก็ไม่ต้องใช้อวนเยอะ อดเปรี้ยวไว้กินหวาน ไม่จับลูกปลาปล่อยให้ปลามันได้โตได้ขยายพันธุ์ ทะเลไม่ต้องรดน้ำไม่ต้องพวนดินไม่ต้องใส่ปุ๋ย ถ้าเราทำประมงแบบใส่ใจผลที่เราได้กลับมามันมหาศาลครับ เพราะเราไม่ต้องไปลงทุนในเรื่องของพวกปุ๋ยพวกอะไรอยู่แล้ว แค่เราทำประมงแบบรับผิดชอบ



มีรถมีครอบครัวผมได้มาจากทะเลทั้งหมดเลย เงินไปขอเมียก็ได้มาจากการออกเรือ ถอยรถมาคันนึงก็ออกเรือ ส่งลูกเรียนก็ทะเลทั้งหมดเลย ทะเลเปรียบเสมือนธนาคาร เวลาที่เราอยากได้เงินเราก็เอาเรือออกไปปล่อยอวนแล้วก็ได้ปลามาขายก็ได้เงิน





ความรู้สึกของเรามันก็เหมือนชาวประมงทั่วไป ทุกวันที่เราออกไปถ้าเราได้ปลากลับมามันก็มีความสุข ถึงไม่ได้ปลามันก็มีความสุขถ้าได้ออกทะเล ได้ไปถ่ายรูปพระอาทิตย์ ไปถ่ายรูปวิวทะเลมันก็มีความสุขของเรา แต่ว่าความสุขของเราคือเราเห็นรุ่นลูกเรารู้สึกว่าเราสามารถที่จะส่งต่อให้กับลูกหลานเราในชุมชนเราได้ ถ้าเรามองไปกลับหมู่บ้านอื่นที่ทำประมงอย่างเดียวไม่ได้ทำเรื่องงานอนุรักษ์หาชาวประมงที่จะมาเป็นเด็กรุ่นใหม่ยากมากครับ





ข่าวที่เกี่ยวข้อง