อึ้ง! นายกฯลงภูเก็ต พบเต่า-สัตว์น้ำตายถึงร้อยละ 40
TNN ช่อง16
8 สิงหาคม 2567 ( 13:22 )
8
เมื่อเวลา 11.10 น.นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ด้วย นายจักรพงษ์ แสงมณี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายเกรียง กัลป์ตินันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และคณะ เดินทางมายังศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากสิรีธาร ตำบลวิชิต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เยี่ยมชมการบริหารจัดการช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายากในพื้นที่ทะเลอันดามัน จ.ภูเก็ต โดยการลงพื้นที่ครั้งนี้นายกฯได้ใช้รถตู้ทะเบียนขง 4477 ภูเก็ต โดยทันทีที่เดินทางมาถึงนายกรัฐมนตรีได้ฟังบรรยายสรุปสถานการณ์ภาพรวมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากสิรีธาน และ ดูเต่ากระ เต่าตนุ เต่าหญ้า ที่บาดเจ็บ จากขยะในทะเล ประมาณ 40% โดยมีสัตวแพทย์ อธิบายถึงการรักษา ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้สอบถามถึงปัญหาเศษขยะที่อยู่ในทะเล ที่ทำให้เกืดผลกระทบต่อ สัตว์ทะเล ว่าเป็นขยะประเภทไหน โดยสัตวแพทย์แจ้งว่าส่วนใหญ่จะเป็นขยะในทะเลทั่วไป ขยะมาจากกิจกรรมทำการประมง รวมถึงพลาสติกต่างๆ ซึ่งสร้างความเสียหายจากการเสียดสีขูดขีดและเป็นรอยถลอกโดยเฉพาะเต่าที่มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากโอกาสนี้นายกฯยังได้เยี่ยมชมบ้านพักของเจ้าหน้าที่ โดยบอกว่ารัฐบาลมีความเป็นห่วงเป็นใยข้าราชการ โดยคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณบ้านพักให้กับข้าราชการทหารตำรวจ ขณะเดียวกัน รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงยุติธรรม ก็บอกว่ากรมราชทัณฑ์ก็มีพนักงานที่อยู่ตรงนี้ จึงอยากให้มีการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ซึ่งวันนี้ตนมาดู เพื่อให้เกิดความสะดวก ที่อยู่อาศัยถือเป็นเรื่องสำคัญ เท่าที่เห็นบ้านพักเก่ามากแล้ว วันนี้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไป การที่เราต้องสร้างขวัญกำลังใจให้ข้าราชการเป็นเรื่องสำคัญ วันนี้รัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาด้วย เรื่องที่อยู่อาศัยของข้าราชการเป็นเรื่องสำคัญ ที่นี่อยู่กันร้อยกว่าครอบครัว อยากให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบ ทั้งเฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า โดยจ่ายในอัตราที่เหมาะสม เพื่อให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น สิ่งสำคัญคือกฎที่อยู่อาศัย จะต้องดูแลกันให้ดี เพื่อส่งต่อให้คนรุ่นใหม่ได้ ตรงนี้จึงขอฝากไว้เป็นนโยบาย ทุกอย่างต้องค่อยๆทยอยทำ เพื่อเป็นตัวอย่าง ย้ำตรงนี้เราให้ความสำคัญกับชีวิตความเป็นอยู่ข้าราชการ จะได้ไม่ขาดแคลนบุคลากรที่อยากจะเข้ามารับใช้ประเทศชาติ เพื่อเขามีเกียรติ มีศักดิ์ศรี โดยต้องสร้างให้เสมอภาคเท่าเทียมกันด้วย สิ่งที่ต้องมีคือกฎกติกาไม่เช่นนั้นบ้านจะเสื่อมโทรม คนที่หลังมาอยู่วันข้างหน้าจะลำบาก ตรงนี้ขอความกรุณาด้วย ขอให้เร่งดำเนินการ นอกจากนี้นายกรัฐมนตรี ยังได้ดูโครงการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์สิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทยเฉลิมพระเกียรติ โดยนายกฯ อยากให้สร้างการเรียนรู้ว่าเต่าและสัตว์ทะเลที่เจ็บป่วย 40% เกิดจากขยะ ตรงนี้ต้องสร้างจิตใต้สำนึกให้คนทราบด้วย โครงการนี้ถือเป็นโครงการดีๆควรจะต้องสอดไส้ ความรู้ไปด้วยจากนั้น นายกฯได้ประชุมพิจารณามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาดินโคลนถล่ม ณ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันดามันตอนบน (ภูเก็ต) ตำบลวิชิต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ตโดย นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า แผนระยะยาวก็ทำกันไป ซึ่งตนเดินทางมาที่นี่ตั้งแต่คราวที่แล้วที่มาพื้นที่สีแดงในเกาะภูเก็ต 3 จุด แต่ถ้าทั่วประเทศ ที่เป็นพื้นที่สีแดง ถ้าไม่ทำแผนป้องกันเมื่อเข้าฤดูฝนจะเกิดปัญหา ตรงนี้ขอฝากให้เป็นเรื่องเร่งด่วนขอบคุณที่มาที่เรามาอยู่ตรงนี้ซึ่งเป็นโครงการในองค์อุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญา ดูแล้วน่าประทับใจ หลายๆอย่างถ้าเราไม่มาดูกันเอง ไม่ว่าจะเป็นคณะทำงานของตนแม้กระทั่งผู้สื่อข่าว เป็นการทำงานที่เรียกว่าลงรายละเอียดอย่างมาก นับว่าเป็นเรื่องที่เราสามารถมาเรียนรู้อะไรหลายอย่าง มีผลกระทบในระยะยาว เช่น เต่าทะเลไม่ทราบเลยว่า 40 % ทะเลของเต่าทะเลที่บาดเจ็บเสียชีวิตเกิดมาจากขยะทั้งนั้น ตรงนี้ถ้าเราสามารถนำเสนอได้ดี และปกป้องได้ดีเรื่องพวกนี้จะหายาก จะแพร่พันธุ์ได้ง่ายขึ้นและมีชีวิตยืนยาว นายกฯ กล่าวด้วยว่า เดินผ่านมาเห็นพิพิธภัณฑ์ที่กำลังก่อสร้างเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว และสนับสนุน การท่องเที่ยว เหนือสิ่งอื่นใดต้องปลูกฝังจิตใต้สำนึก สัตว์ทะเลที่หายาก เพราะเสียชีวิตจากความสะเพร่าหรือมักง่ายของมนุษย์ ฉะนั้นต้องปลูกฝังเรื่องการทิ้งขยะถือป็นเรื่องสำคัญ อยากให้เร่งให้ความรู้กับประชาชนทั่วไปนอกจากนี้ ในส่วนของบ้านพักข้าราชการ จริงๆแล้วข้าราชการที่อยู่ที่นี่มีประมาณ 80 - 100 กว่าครอบครัว ในหลายมิติเราอาจมองข้าม การเข้าสู่ระบบราชการ ตอนหลังไปภาคเอกชน เพราะมีผลตอบแทนที่ดีกว่า ข้าราชการปิดทองหลังพระอย่างองค์กรนี้ต้องอยู่ที่นี่ ไปอยู่ที่อื่นไม่ได้ เมื่ออยู่ที่นี่การเดินทางก็ลำบากทฉะนั้นการสร้างที่อยู่อาศัยให้กับพนักงานถือเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งที่อยู่อาศัยตรงนี้มีมา 40-50 ปีแล้ว เช่นเดียวกับหลายพื้นที่ที่ตนลงไปไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ทหาร พยาบาล รัฐบาลนี้ให้ความสำคัญกับสวัสดิการของข้าราชการ ให้ดำเนินการ เช่นเดียวกับกระทรวงอื่นๆ ส่วนเรื่องการป้องกันดินโคลนถล่มได้รับฟังข้อเสนอแนะและปัญหาต่างๆถือเป็นปัญหาที่ใหญ่พอสมควรซึ่งการประสานงานกับทุกหน่วยงานสำคัญ แม้บางท่านไม่ได้อยู่ตรงนี้ กระทรวงคมนาคมหรือกรมทางหลวง การสร้างสะพานต่างๆอาจเป็นอุปสรรคทางไหลของน้ำ จึงขอสั่งการทางผู้ว่าราชการจังหวัดประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดี อธิบดีกรมชลประทาน ก็ได้มีการเสนอแผนงานมาแล้ว ต้องทำความเข้าใจประชาชนในพื้นที่ให้ดี อธิบายให้ฟังว่าประเด็นคืออะไร รวมถึงพื้นที่สีแดงที่มีความเสี่ยงสูง ที่เราเห็นในแผนที่ ซึ่งภูเก็ตมี 3 พื้นที่ มีมาตรการเร่งด่วนหรือไม่ ที่จะต้องโฟกัส เพราะตอนนี้เริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูฝนแล้วเป็นช่วงอันตรายที่เราต้องดูแลกันต่อไป และให้กรมทรัพยากรธรณี ตั้งอุปกรณ์แจ้งเตือนภัย ที่ต้องมีการซักซ้อม เพื่อให้เข้าถึงประชาชนทุกครัวเรือน ทั้งน้ำป่า ภัยพิบัติ โคลนถล่ม พร้อมกันนี้ ให้ร่วมกันออกแบบการเฝ้าระวังและเตือนภัย ทั้งในจังหวัดภูเก็ตและพื้นที่อื่นที่เป็นพื้นที่สีแดง โดยใช้ข้อมูลทางเทคโนโลยีเช้ามาช่วย เพราะความเป็นอยู่ของประชาชนและเรื่องสำคัญไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นอีกที่มาข่าว:TNN