รีเซต

หุ่นยนต์ใต้น้ำ OceanOneK สำรวจซากเรือลึก 500 เมตร ใต้ท้องทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

หุ่นยนต์ใต้น้ำ OceanOneK สำรวจซากเรือลึก 500 เมตร ใต้ท้องทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
TNN ช่อง16
26 กรกฎาคม 2565 ( 17:27 )
238
หุ่นยนต์ใต้น้ำ OceanOneK สำรวจซากเรือลึก 500 เมตร ใต้ท้องทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ปัจจุบันเทคโนโลยีหุ่นยนต์สำหรับปฏิบัติภารกิจใต้น้ำถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ล่าสุดหุ่นยนต์ OceanOneK เทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่พัฒนาร่วมกันโดยทีมงานวิศวกรในมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐฯ มหาวิทยาลัย KAUST ประเทศซาอุดีอาระเบีย และบริษัทเอกชนในประเทศสหรัฐฯ ถูกนำไปในดำน้ำสำรวจซากเครื่องบิน เรือกลไฟ Le Francesco Crispi และเรือดำน้ำ ความลึก 500 เมตร ใต้ท้องทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศอิตาลี


ทีมงานผู้พัฒนาหุ่นยนต์เปิดเผยคลิปวิดีโอการดำน้ำสำรวจของหุ่นยนต์ OceanOneK แสดงการทำงานใต้น้ำที่คล่องแคล่วคล้ายมนุษย์นักดำน้ำที่เป็นมนุษย์แต่สิ่งที่แตกต่างกันมีเพียงหุ่นยนต์ OceanOneK ไม่มีร่างกายท่อนล่างที่เป็นขาเท่านั้น ในระหว่างการทำงานใต้น้ำหุ่นยนต์สามารถใช้แขนทั้งสองข้างหยับจับวัตถุใต้น้ำได้อย่างนุ่มนวลโดยก่อให้เกิดความเสียหายกับวัตถุตัวอย่างน้อยที่สุด


หุ่นยนต์ใต้น้ำ OceanOneK เป็นหุ่นยนต์ใต้น้ำเวอร์ชันล่าสุดมีลักษณะรูปร่างท่อนบนคล้ายกับมนุษย์ความยาว 1.5 เมตร กล้องจับภาพ 2 ตัว ทำหน้าที่แทนดวงตาของมนุษย์ ติดตั้งแขนหุ่นยนต์สองข้างคล้ายแขนของมนุษย์สำหรับใช้หยิบจับวัตถุใต้น้ำ ระบบขับเคลื่อนใช้มอเตอร์ใบพัด 8 ชุด เพื่อการควบคุมเปลี่ยนทิศทางตำแหน่งระหว่างการดำน้ำ 


หุ่นยนต์สามารถทนทานต่อระดับความลึกถึง 2,000 เมตร โดยใช้การควบคุมระยะไกลจากมนุษย์ที่สวมใส่อุปกรณ์ควบคุมเสมือนแขนของหุ่นยนต์อีกชุดหนึ่งที่อยู่บนผิวน้ำ การเคลื่อนไหวของแขนหุ่นยนต์ใต้น้ำและมนุษย์ผู้ควบคุมสอดรับกันเป็นหนึ่งเดียวแบบเรียลไทม์และด้วยรูปร่างของหุ่นยนต์ที่มีลักษณะท่อนบนคล้ายนักดำน้ำทำให้มันสามารถปฏิบัติภารกิจได้มีประสิทธิภาพมากกว่าโดรนใต้น้ำแบบ ROV  ปกติทั่วไป


ภารกิจดำน้ำใต้ท้องทะเลเมดิเตอร์เรเนียนประสบความสำเร็จหุ่นยนต์สามารถทำหน้าที่ได้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ คือ การดำน้ำลงไปในพื้นที่ที่มนุษย์ไม่เคยเดินทางไปถึงมาก่อนและการแสดงให้เห็นว่าการควบคุมหุ่นยนต์โดยมนุษย์จากระยะไกลสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพสอดรับกันเป็นหนึ่งเดียวแบบเรียลไทม์ ซึ่งจะเป็นการปูทางไปสู่ภารกิจการสำรวจใต้น้ำที่มีความท้าทายมากขึ้นในอนาคต




ที่มาของข้อมูลและรูปภาพ news.stanford.edu 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง