รีเซต

"อุตสาหกรรมการบิน" จะปล่อยคาร์บอนเป็น 0 ให้ได้ภายในปี 2050

"อุตสาหกรรมการบิน" จะปล่อยคาร์บอนเป็น 0 ให้ได้ภายในปี 2050
TNN ช่อง16
3 เมษายน 2565 ( 20:55 )
157
"อุตสาหกรรมการบิน" จะปล่อยคาร์บอนเป็น 0 ให้ได้ภายในปี 2050

Pratt & Whitney ยักษ์ใหญ่ด้านการบินและอวกาศลงนามกับ Air bp ผู้ผลิต "เชื้อเพลิงด้านการบินที่ยั่งยืน" (sustainable aviation fuel หรือ SAF) เพื่อสร้าง SAF 100% ที่ใช้สำหรับทดสอบเครื่องยนต์และการวิจัยด้านการบินที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อตั้งเป้าที่จะให้อุตสาหกรรมการบินจะก้าวเข้าสู่การปล่อยคาร์บอนให้เป็น 0 ภายในปี 2050 (carbon net-zero)

  • ปัจจุบันอุตสาหกรรมการบินปล่อยคาร์บอนคิดเป็น 2% ของการปล่อยคาร์บอนทั่วโลก

  • Pratt & Whitney และ Air bp จะศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับการลดการปล่อยไอเสียโดยใช้ SAF

  • เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา Airbus ได้ทำการบินด้วยเครื่อง A380 สองชั้น (double-decker) โดยใช้ SAF100% ที่ทำมาจากน้ำมันปรุงอาหารเป็นหลัก [อ่านต่อได้ที่นี่]
     
  • Rolls-Royce ยังได้ทำการทดสอบในการเพิ่มพลังให้กับเครื่องยนต์ เพื่อให้ใช้เชื้อเพลิงทางเลือกที่ยั่งยืนในอนาคตได้

  • เทคโนโลยีการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในปัจจุบันยังไม่ก้าวหน้ามากพอที่จะสามารถจ่ายพลังงานให้กับเครื่องบินโดยสารในระยะไกลได้


ขอบคุณภาพจาก : inceptivemind.com

 

SAF ยังไม่ใช่เชื้อเพลิงยั่งยืนที่บริษัทเหล่าต่างๆ ใช้กันเพื่อแก้ปัญหาหารลดการปล่อยคาร์บอนลง

  • Pratt & Whitney กำลังพัฒนาระบบไฟฟ้าไฮบริดและเทคโนโลยีเชื้อเพลิงไฮโดรเจน

  • Airbus ประกาศว่าจะใช้เครื่องบินโดยสาร A380 เพื่อทดสอบระบบขับเคลื่อนไฮโดรเจนภายในปี 2026

  • Graham Webb หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านความยั่งยืนของ Pratt & Whitney มองว่าอุตสาหกรรมการบินเชิงพาณิชย์ต้องใช้แนวทางที่หลากหลายในการจัดการกับความท้าทายของการบินอย่างยั่งยืน โดยประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ที่เรียบง่าย ช่วยลดการปล่อยมลพิษลงได้เป็นอย่างมาก
ขอบคุณภาพจาก : rolls-royce.com

 

ปัจจุบันองค์การบริหารการบินแห่งชาติ Federal Aviation Administration หรือ FAA อนุญาตให้ใช้ SAF 50% ผสมเข้ากับน้ำมันก๊าดเท่านั้น บริษัทต่างๆ อย่าง Pratt & Whitney, Airbus, Rolls-Royce และอื่นๆ กำลังพยายามเพื่อให้ทาง FAA รับรองการใช้ SAF 100% ซึ่งจะช่วยได้มากในการทำให้อุตสาหกรรมการบินบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนออกมาเป็น 0 ภายในปี 2050 (carbon net-zero) 


แหล่งที่มา interestingengineering.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง