รีเซต

หน้ากากอนามัยจากกระดาษข้าว ใช้แล้วปลูกใหม่กลายเป็นดอกไม้

หน้ากากอนามัยจากกระดาษข้าว ใช้แล้วปลูกใหม่กลายเป็นดอกไม้
TNN ช่อง16
13 มีนาคม 2564 ( 18:21 )
547

นับตั้งแต่ผู้คนทั่วโลกเริ่มสวมหน้ากากอนามัย เพราะมันกลายเป็นสิ่งจำเป็นท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 หน้ากากอนามัยก็กลายเป็นขยะที่เริ่มปรากฏขึ้นทั่วท้องถนน บนชายหาด และลองอยู่กลางมหาสมุทร ซึ่งก็กลายเป็นเรื่องที่น่ากังวลมากกว่าปัญหาขยะพลาสติกเสียด้วยซ้ำ เนื่องจากในตอนนี้เราก็ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการรีไซเคิลหน้ากากอนามัยใช้แล้ว

ดังนั้นจึงมีหลายคนพยายามคิดวิธีแก้ปัญหาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ตัวอย่างเช่นผลงานโดยนักออกแบบชื่อ Marianne De Groot จากบริษัทออกแบบสัญชาติดัตช์ Pons Ontwerp ที่ได้คิดค้นหน้ากากที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพชื่อ Marie Bee Bloom 


แนวคิดหน้ากากอนามัยที่ย่อยสลายได้นั้นเกิดขึ้นหลังจากที่นักออกแบบเริ่มสังเกตเห็นหน้ากากอนามัยจำนวนนับไม่ถ้วนที่กองอยู่ยับยู่ยี่อยู่ข้างถนน หรือฝังอยู่ในกองขยะ และติดอยู่บนกิ่งไม้ ดังนั้นจึงได้คิดที่จะออกแบบหน้ากากอนามัย ทำจากกระดาษข้าวแบบหลายชั้น ที่เมื่อใช้เสร็จแล้วก็สามารถฝังลงไปในดินได้ 

และบนหน้ากากยังเต็มไปด้วยเมล็ดพันธุ์ดอกไม้ที่สามารถแตกหน่อและบานได้ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม นอกจากนี้ส่วนของเชือกที่คล้องหูก็จะทำจากขนแกะ แม้แต่กาวที่ใช้บนหน้ากากก็ยังเป็นมิตรกับธรรมชาติด้วยการทำมาจากแป้งมันฝรั่ง


ถึงแม้ในตอนนี้หน้ากากจะถูกออกแบบมาให้สามารถรีไซเคิลและการย่อยสลายได้ง่าย แต่ก็จะมีการพัฒนาต่อไปเพื่อให้มั่นใจได้ว่าเป็นหน้ากากอนามัยที่ปลอดภัยและป้องกันเชื้อไวรัสต่าง ๆ ได้จริง อย่างไรก็ตามผลงานชิ้นนี้ก็ยังเป็นตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่ใส่ใจธรรมชาติที่น่าสนใจเลยทีเดียว


ขอบคุณข้อมูลจาก

interestingengineering

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง