รีเซต

เก็บเงินล้านแรกไม่ยาก เริ่มต้นจากหลักพันต่อเดือน!

เก็บเงินล้านแรกไม่ยาก เริ่มต้นจากหลักพันต่อเดือน!
NewsReporter
29 มีนาคม 2565 ( 15:04 )
165

การเก็บเงินเป็นประจำคือเรื่องที่ดี แต่การหาการลงทุนที่ได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมนั้นดียิ่งกว่า ดังนั้นนอกเหนือจากการลงทุนเป็นประจำแล้ว สิ่งที่ควรให้ความใส่ใจคือการ “เพิ่มการลงทุน” ในจังหวะที่เรามีศักยภาพมากพอ เช่น หากช่วงไหนหาเงินได้มาก ก็เก็บออมและลงทุนให้มากขึ้น เพื่อทำให้การไปถึงเงินล้านสามารถทำได้ไวขึ้น วันนี้ TrueID จะพาไปดูแนวทางการเก็บเงินล้านแรกว่ามีวิธีอย่างไร

 

1. ฝากประจำ

การฝากประจำถือเป็นการเก็บเงินล้านแรกที่ง่ายที่สุด ซึ่งอาศัยเพียงวินัยและความตั้งใจในการเก็บเงินก็สามารถทำได้แล้ว แต่ก็แลกมาด้วยระยะเวลาที่ยาวนานและผลตอบแทนที่ในบางครั้งอาจไม่สูงพอที่จะชนะเงินเฟ้อได้

 

วิธีการ คือ ให้เริ่มต้นด้วยการวางแผนลงทุนในแต่ละเดือนว่าจะลงทุนเท่าไหร่ ต้องได้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีกี่เปอร์เซ็นต์ แล้วมาดูกันว่าจะเห็นเงิน 1 ล้านบาทตอนอายุเท่าไหร่ 

 

ปัจจุบันอายุ

25 ปี

รายได้ต่อเดือน

30,000 บาท

หักเงินไปลงทุนต่อเดือน

4,500 บาท

ประมาณการผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี (%)

6%

 

 

อายุที่ลงทุน

เงินลงทุนต่อปี  พร้อมผลตอบแทน (บาท)

 25

55,739

30

388,800

37

1,052,479

40

1,430,971

45

2,229,170

50

3,297,340

55

4,726,793

60

6,639,723

 

หากเริ่มต้นลงทุนตอนอายุ 25 ปี เดือนละ 4,500 บาท (ปีละ 54,000 บาท) ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 6% จะได้หยิบเงิน 1 ล้านบาท ตอนอายุ 37 ปี และสมมติว่านำเงิน 1,052,479 บาท ลงทุนต่อ ใส่เงินลงทุนเดือนละ 4,500 บาท ได้ผลตอบแทนเหมือนเดิม (เฉลี่ยปีละ 6%) จะได้หยิบเงิน 2 ล้านบาท ตอนอายุ 44 ปี และ 3 ล้านบาท ตอนอายุ 39 ปี พอถึงวันเกษียณ คือ อายุ 60 ปี จะมีเงินทั้งสิ้น 6,639,723 บาท 


สมมติว่า หากเริ่มต้นลงทุนตอนอายุ 25 ปี เดือนละ 2,500 บาท (ปีละ 30,000 บาท) ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 6% จะได้หยิบเงิน 1 ล้านบาท ตอนอายุ 43 ปี และสมมติว่าลงทุนต่อและใส่เงินลงทุนเดือนละ 2,500 บาท ได้ผลตอบแทนเหมือนเดิม (เฉลี่ยปีละ 6%) จะได้หยิบเงิน 2 ล้านบาท ตอนอายุ 52 ปี และพอถึงวันเกษียณ คือ อายุ 60 ปี จะมีเงินทั้งสิ้น 3,688,735 บาท


จากตัวอย่าง ถ้าต้องการมีเงิน 1 ล้านบาทให้ได้เร็วๆ นอกจากต้องเริ่มลงทุนกันแต่เนิ่นๆ แล้วก็ต้องลงทุนในระดับที่เหมาะสม ซึ่งตามทฤษฎีการวางแผนการเงินควรหักเงินไปลงทุนอย่างน้อย 15% ต่อเดือน ขณะเดียวกันยิ่งได้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีสูงๆ ยิ่งเห็นเงินล้านได้เร็วขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม คนที่เพิ่งเริ่มต้นลงทุนตอนอายุเยอะๆ เช่น 40 ปี, 50 ปี ถ้าอยากเห็นเงินล้านในเวลาอันรวดเร็วก็ต้องใส่เงินลงทุนในแต่ละเดือนเป็นจำนวนมาก และต้องได้รับผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีสูงอีกด้วยเพื่อให้ได้เป้าหมาย 1 ล้านบาท ภายในเวลาที่กำหนด ขอนำเสนอ 3 กลยุทธ์

  1. วินัยการออม การฝึกใจและปฏิบัติการวางแผนการออม เป็นเรื่องที่ท้าทายมาก แม้หลายๆ คน จะมีความตั้งใจว่าจะทำให้ได้อย่างที่วางแผนไว้ แต่ระหว่างทางอาจมีเหตุจำเป็นที่จะต้องใช้เงินตามเหตุผลต่างๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อมีเป้าหมายแล้ว ควรมุ่งมั่นให้ได้ตามที่วางแผน ที่สำคัญควรเริ่มต้นลงมือกันตั้งแต่อายุน้อยๆ


  2. การหาข้อมูลเรื่องการลงทุนและหาที่ปรึกษาทางการเงินเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อเริ่มลงทุนและได้ 1 ล้านบาทแรก เป้าหมายเพื่อให้มีเงินพอใช้หลังวัยเกษียณก็ไม่ใช่เพียงความฝัน แต่สิ่งสำคัญคือ การหาข้อมูลและปรึกษาที่ปรึกษาทางการเงิน หรือนักวางแผนการเงิน ซึ่งการได้รับคำปรึกษา นอกจากจะรู้วิธีการสร้างผลตอบแทนให้เงินงอกเงยแล้ว ยังได้รู้จักตัวเองว่าเป็นผู้ลงทุนประเภทไหน รับความเสี่ยงได้เพียงใด เพื่อสามารถเลือกสินทรัพย์ที่เหมาะกับความเสี่ยง และผลตอบแทนในระดับที่เหมาะสมได้


  3. กำหนดเป้าหมายในแต่ละช่วงเวลา (Milestones) และเช็กสถานะในแต่ละช่วงว่าเป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่ เช่น การปรับจำนวนเงินลงทุนที่มากขึ้นตามรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้น การเช็กสถานะของพอร์ตการลงทุน และการปรับแนวทางการลงทุนในทรัพย์สินให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจและความเสี่ยงในช่วงนั้นๆ จะช่วยทำให้เป้าหมายการลงทุนเป็นไปตามที่คาดหวังอย่างไม่ประมาท การปฏิบัติเช่นนี้ ถือเป็นเรื่องที่ควรต้องพิจารณาอย่างสม่ำเสมอ เพราะปัจจัยแวดล้อมต่างๆ มีความเปลี่ยนแปลง ไม่แน่นอน

 

เงินล้านแรกคือเป้าหมายที่ดีสำหรับคนเริ่มต้นออม แต่รู้หรือไม่ว่าหากคุณอายุราวๆ 30 และต้องการเกษียณในวัย 60 ปี คุณอาจต้องมีเงินเก็บเพื่อใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพจนถึงอายุ 80 ราว 7-8 ล้านบาทเลยทีเดียว เนื่องจากเงินเฟ้อมีโอกาสทำให้ค่าของเงินในมือคุณ ณ ปัจจุบันลดลง

 

การต่อยอดเงิน 1 ล้านแรกจึงเป็นสิ่งจำเป็น นอกเหนือจากการลงทุนแล้ว การสร้างพื้นฐานชีวิตที่ดี เช่น กระจายความเสี่ยงด้วยการทำประกันชีวิตและการทำประกันสุขภาพ เพื่อที่วันข้างหน้าจะลดค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่หากเกิดการป่วยไข้หรือเกิดเหตุไม่คาดฝัน การต่อยอดนั้นอาจรวมไปถึงการจัดสรรเงินส่วนหนึ่งเพื่อทำธุรกิจหรือลงทุนเพิ่มเติม ช่วยให้การเก็บเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

ข้อมูล : SCB , Krunsri

Photo by maitree rimthong

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง