รีเซต

บทสัมภาษณ์ : ผชช.ชี้สหรัฐฯ ใช้ 'ฟิลิปปินส์-ประเด็นทะเลจีนใต้' สกัดกั้นจีน

บทสัมภาษณ์ : ผชช.ชี้สหรัฐฯ ใช้ 'ฟิลิปปินส์-ประเด็นทะเลจีนใต้' สกัดกั้นจีน
Xinhua
19 ธันวาคม 2566 ( 17:17 )
45
บทสัมภาษณ์ : ผชช.ชี้สหรัฐฯ ใช้ 'ฟิลิปปินส์-ประเด็นทะเลจีนใต้' สกัดกั้นจีน
(แฟ้มภาพซินหัว : นักสำรวจใต้น้ำปลดเชือกบนเรือดำน้ำแบบมีมนุษย์ควบคุมเซินไห่ หย่งซื่อ จากเรือวิจัยทางวิทยาศาสตร์ท่านสั่วอีฮ่าว เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการสำรวจใต้น้ำในทะเลจีนใต้ วันที่ 26 พ.ค. 2023)[/caption]ปักกิ่ง, 19 ธ.ค. (ซินหัว) -- แอนนา มาลินด็อกอุย รองประธานสถาบันศึกษายุทธศาสตร์ศตวรรษแห่งเอเชียของฟิลิปปินส์ (ACPSSI) ซึ่งมีฐานอยู่ในกรุงมะนิลา แสดงความเห็นว่าสหรัฐฯ กำลังใช้ฟิลิปปินส์และประเด็นทะเลจีนใต้เป็นเครื่องมือและหมากในการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์และการดำเนินยุทธศาสตร์สกัดกั้นจีนมาลินด็อกอุยให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหัวว่าประเด็นทางทะเลเป็นเรื่องระหว่างฟิลิปปินส์และจีน ซึ่งสหรัฐฯ ไม่ได้เป็นฝ่ายที่มีความขัดแย้งด้วย จึงควรงดเว้นจากการแทรกแซงหรือเข้ามาก้าวก่ายเรื่องนี้หากพิจารณาจากสนธิสัญญาป้องกันร่วมของฟิลิปปินส์กับสหรัฐฯ การยกระดับความขัดแย้งอาจนำสู่กรณีกองทัพสหรัฐฯ เข้ามามีส่วนร่วมและแทรกแซงในทะเลจีนใต้และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจนำสู่การปะทะโดยตรงระหว่างสหรัฐฯ และจีนการที่สหรัฐฯ เข้ามาก้าวก่ายประเด็นทะเลจีนใต้เหมือนเป็นการสุมเชื้อไฟ ทำให้สถานการณ์ที่สลับซับซ้อนอยู่แล้วยุ่งยากขึ้นอีก และการที่สหรัฐฯ เข้ามามีส่วนร่วมในข้อพิพาททะเลจีนใต้อาจทวีความตึงเครียดยิ่งขึ้น เพิ่มอุปสรรคต่อความพยายามทางการทูตที่มุ่งแก้ไขข้อพิพาทในเชิงปฏิบัติ เชิงการทูต และอย่างสันติมาลินด็อกอุยชี้ว่าการที่สหรัฐฯ ผลักดันให้เคารพกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UNCLOS) ในทะเลจีนใต้ ดูเป็นเรื่องปากว่าตาขยิบ เพราะสหรัฐฯ ไม่ใช่ผู้ลงนามอนุสัญญาฯ โดยตอนสหรัฐฯ ลงนามข้อตกลง แต่ไม่ได้ให้สัตยาบัน"สิ่งนี้บั่นทอนความเป็นเอกภาพและความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในการจัดการประเด็นทะเลจีนใต้ และอาจลดทอนประสิทธิผลของการประชุมพหุภาคีระดับอาเซียนอันมุ่งหมายหาข้อยุติความขัดแย้ง" มาลินด็อกอุยกล่าวผู้เชี่ยวชาญคนนี้ยังเตือนว่าการยกระดับความตึงเครียดระหว่างฟิลิปปินส์และจีนในประเด็นทะเลจีนใต้อาจส่งผลกระทบเป็นระลอกคลื่นทั่วพื้นที่ และอาจเปลี่ยนแปลงระบบระเบียบระดับภูมิภาคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก"หนึ่งในผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทันทีคือความวิตกกังวลด้านความมั่นคงที่รุนแรงขึ้นในหมู่ประเทศอาเซียน" มาลินด็อกอุยกล่าว พร้อมเสริมว่าสิ่งนี้อาจทำให้ภูมิภาคอาเซียนพากันติดอาวุธและแตกแยกยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลเสียต่อการประมงและชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนท้องถิ่นที่ต้องพึ่งพาทะเลมาลินด็อกอุยกล่าวว่าความพยายามทางการทูต มาตรการสร้างความเชื่อมั่น และการบรรลุข้อสรุปของแนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้โดยเร็วอาจจะช่วยลดความตึงเครียดลงได้ โดยแม้มีการเจรจาแต่จริงๆ ยังไม่มีแนวทางแก้ไขข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ที่ครอบคลุมรอบด้านฟิลิปปินส์และจีนควรมุ่งเน้นความร่วมมือเชิงปฏิบัติแทนการโต้แย้ง รวมถึงร่วมกันพัฒนา เพื่อสร้างผลประโยชน์อันดีที่จับต้องได้แก่ทั้งสองฝ่าย โดยฟิลิปปินส์และจีนควรคำนึงถึงการร่วมจัดการการประมง การร่วมสำรวจน้ำมันและก๊าซ การร่วมวิจัยทางทะเล ตลอดจนแผนริเริ่มร่วมปกป้องและคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในทะเลจีนใต้
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง