รีเซต

"แก้ปรับหนี้นอกระบบ" กระทบหุ้น Finance แค่ไหน?

"แก้ปรับหนี้นอกระบบ" กระทบหุ้น Finance แค่ไหน?
ทันหุ้น
29 พฤศจิกายน 2566 ( 10:26 )
27
"แก้ปรับหนี้นอกระบบ" กระทบหุ้น Finance แค่ไหน?

#ทันหุ้น - บล.ดาโอ ส่องหุ้น Finance มองเป็นกลางต่อการแถลงแนวทางการแก้หนี้นอกระบบ เนื่องจากเป็นไปตามที่ฝ่ายวิจัยและตลาดคาดว่า 1) ต้องอาศัยระยะเวลาในการจัดการตั้งแต่การไกลเกลี่ยเจรจาผ่านตัวกลางภาครัฐ การปรับโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ให้เป็นธรรมตามกฎหมายที่ไม่คิดดอกเบี้ยเกิน 15% รวมทั้งการติดตามผลการช่วยเหลือลูกหนี้ไม่ให้กลับมาเป็นหนี้นอกระบบซ้ำ และ 2) มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ภายหลังที่เข้ามาอยู่ในระบบแล้วจะเป็นมาตรการช่วยเหลือของธนาคารรัฐที่ให้ความช่วยเหลือในปัจจุบันอยู่แล้ว ทั้งการให้สินเชื่อรายละไม่เกิน 50,000 บาท ไม่เกิน 5 ปี และการให้สินเชื่อสำหรับอาชีพอิสระ

 

ประเมินผลกระทบจำกัดต่อผู้ประกอบการธุรกิจ Finance เนื่องจากฝ่ายวิจัยประเมินว่าผู้ประกอบการจะยังคงเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ, การติดตามหนี้ และการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อป้องกันปัญหาด้าน NPL และค่าใช้จ่ายสำรอง ที่อาจจะเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะภายหลังการสิ้นสุดมาตรการฟ้าส้มในปี 2566E ที่ทำให้ผู้ประกอบการอาจจะไม่ได้รับประโยชน์จากการช่วยเหลือลูกหนี้ในแง่การจัดชั้น และการตั้งสำรอง เหมือนช่วง COVID ฝ่ายวิจัยจึงประเมินว่าผู้ประกอบการต่างๆ มีโอกาสที่จะเข้าร่วมช่วยเหลือลูกหนี้นอกระบบที่น้อย

 

สำหรับกลุ่ม Finance ให้น้ำหนัก “มากกว่าตลาด” และ Top pick เป็น KTC (ซื้อ/เป้า 55.00 บาท) จากการเข้าสู่ช่วง high season และต่อเนื่อง Q1/67E จากผลบวก e-Refund Finance Overweight (maintained)

 

 

ทั้งนี้ รัฐบาลแถลงเรื่องการแก้ปรับหนี้นอกระบบ วานนี้ (28 พ.ย.) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง พร้อมด้วยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รมช.คลัง และ พล.ต.อ.ธนา ชูวงศ์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้แถลงข่าว การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

- กระทรวงมหาดไทย: จะใช้เครือข่าย และข้าราชการท้องถิ่น เช่น นายอำเภอ โดยให้อำนาจดำเนินการให้คู่พิพาททำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยจะเปิดรับลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือ ตั้งแต่วันที่ 1ธ.ค. สำหรับประชาชนที่เดือดร้อนถูกข่มขู่คุกคามหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม

 

- กระทรวงการคลัง: จะดูแลลูกหนี้นอกระบบภายหลังที่มีการปรับโครงสร้าง หรือไกลเกลี่ย โดยจะมีธนาคารของรัฐดูแล อย่าง i. ธนาคารออมสิน ที่ปล่อยกู้ไม่เกิน 50,000 บาท/ราย ไม่เกิน 5 ปี และจะมีการให้สินเชื่อสำหรับอาชีพอิสระรายย่อยเพื่อส่งเสริมอาชีพ ให้กู้ไม่เกิน 100,000 บาท/ราย สูงสุดไม่เกิน 8 ปี ii. ธ.ก.ส. มีให้การสินเชื่อที่ดินขายฝาก หรือติดจำนองที่เกี่ยวกับหนี้นอกระบบ ทาง ธ.ก.ส. จะมีวงเงินให้กับเกษตรกรต่อราย 2.5 ล้านบาท ในการแก้ไขเรื่องที่ดินทำกิน

 

ทั้งนี้จะมีการแถลงเรื่องภาพรวมหนี้แบบครบวงจร ซึ่งจะครอบคลุมทั้งหนี้ในระบบ และหนี้นอกระบบอีกครั้งในวันที่ 12 ธ.ค.

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง