รีเซต

หมอห่วง คนตราดเครียดพุ่ง ติดอันดับจว. 'ฆ่าตัวตาย' สูง แนะหมั่นสังเกตอาการคนใกล้ชิด

หมอห่วง คนตราดเครียดพุ่ง ติดอันดับจว. 'ฆ่าตัวตาย' สูง แนะหมั่นสังเกตอาการคนใกล้ชิด
มติชน
27 กันยายน 2565 ( 13:45 )
110
หมอห่วง คนตราดเครียดพุ่ง ติดอันดับจว. 'ฆ่าตัวตาย' สูง แนะหมั่นสังเกตอาการคนใกล้ชิด

ช็อก! ตราด ติดอันดับต้นฆ่าตัวตายของประเทศ ขณะโรงพยาบาลตราดเปิดคลินิกจิตเวชรองรับ แนะญาติใกล้ชิดสังเกตอาการ

 

เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 27 กันยายน ที่ตึกอายุรกรรม โรงพยาบาลตราด นายวินัย บรรจงการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตราด เป็นประธานเปิดคลินิกอายุรกรรมขึ้น มีแพทย์ และพยาบาลร่วม

 

นายแพทย์ควรคิดณัฐฐา อรุณศรี หัวหน้ากลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลตราด กล่าวว่า จากฐานข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าจำนวนผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการด้านสุขภาพจิตและสารเสพติดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น กระทรวงสาธารณสุขได้มีแผนพัฒนาระบบริการสุขภาพจิตและยาเสพติด

 

โดยกำหนดเป้าหมายการบริการ ให้ผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤตฉุกเฉินทางด้านสุขภาพจิตได้รับการดูแลอย่างครอบคลุม มีนโยบายให้มีการเปิดหอผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด ที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงและมีภาวะเร่งด่วนฉุกเฉินได้รับการดูแลรักษาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

นายวินัย กล่าวว่า ปัจจุบันอัตราการฆ่าตัวตายของชาวตราดอันมีสาเหตุมาจากความเครียด การเสพยาเสพติด มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น และนำไปสู่การฆ่าตัวตาย ซึ่งจังหวัดตราดมีอัตราการฆ่าตัวตายมากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศแล้วในขณะนี้

 

โดย ปัญหาสุขภาพจิต ที่สำคัญของจังหวัดตราด ได้แก่ ปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จ พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้น อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จย้อนหลัง 3 ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ 2563 ถึง 2565 มีอัตราเท่ากับ 8.70, 6.56 และ 10.88 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ

นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ที่มีปัญหาอารมณ์ พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง จากโรคทางจิตเวชและจากการใช้สารเสพติดมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งคนไข้จิตเวชเหล่านี้จะต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วนเพราะอาจจะเกิดอันตรายกับบุคคลใกล้ชิด ทางฝ่ายปกครองและฝ่ายดูแลจึงต้องเร่งดำเนินการเปิดคลินิกจิตเวชขึ้นให้เร็วที่สุดเพื่อดูแลรักษาคนไข้กลุ่มนี้ อีกทั้งยังสามารถอำนวยความสะดวกให้กับญาติผู้ป่วยที่ไม่ต้องเดินทางไปรักษาที่โรงพยาบาลพระปกเกล้า หรือที่ศูนย์คนไข้จิตเวชที่ จ.สระแก้วในรายที่มีอาการป่วยรุนแรงด้วย

“กลุ่มคนไข้จิตเวชเป็นคนไข้ที่จะต้องเปิดตึกหรือห้องพิเศษเพราะคนไข้มักจะมีอาการรุนแรง จึงต้องมีความปลอดภัย และมีความแข็งแรง ซึ่งวันนี้ กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด และกลุ่มการพยาบาลจึงได้เปิดบริการ หอผู้ป่วยจิตเวชจำนวน 14 เตียง สำหรับผู้ป่วยจิตเวช ผู้ที่มีความผิดปกติของความคิด มีปัญหาอารมณ์ พฤติกรรม ก้าวร้าวรุนแรง ให้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที ในสถานที่ที่มีความปลอดภัย มีการเฝ้าระวังความเสี่ยงเป็นพิเศษ ได้มาตรฐาน และช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตสามารถเข้าถึงบริการได้มากขึ้น”

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตราด กล่าวอีกว่า สำหรับญาติที่ใกล้ชิดควรจะดูแลและเฝ้าสังเกตบุตรหลาน หรือคนใกล้ชิดหากมีอาการมีอาการเครียดมากกว่าปกติ มีการสื่อสาร ซึมเศร้า และเก็บตัว จากปัญหาหนี้สิน ความรุนแรงในครอบครัว เป็นปัจจัยสำคัญที่จะฆ่าตัวตายมากขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง