รีเซต

บุหรี่ไฟฟ้าระบาดหนัก! เปิดข้อมูล "เด็กประถม" ลองสูบแล้ว 42.8%

บุหรี่ไฟฟ้าระบาดหนัก! เปิดข้อมูล "เด็กประถม" ลองสูบแล้ว 42.8%
TNN ช่อง16
27 กุมภาพันธ์ 2567 ( 12:19 )
52
บุหรี่ไฟฟ้าระบาดหนัก! เปิดข้อมูล "เด็กประถม" ลองสูบแล้ว 42.8%

นักวิชาการ ระบุ บุหรี่ไฟฟ้าระบาดหนัก พบเด็กประถมปลายเคยลองสูบแล้วถึง 42.8 % สาเหตุหลักมาจากปัญหาความอยากรู้อยากลอง

สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และภาคีเครือข่าย จัดเสวนาในหัวข้อ “ บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย: ใครได้ใครเสีย? ” โดยการนำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริง ในด้านการพิจารณากฎหมายบุหรี่ไฟฟ้าของไทย เพื่อปกป้องเด็กไทยของภัยจากบุหรี่ไฟฟ้า


รศ.พญ.เริงฤดี ปธานวนิช อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ระบุถึงสถานการณ์การสูบบุหรี่ของเด็กอายุ 13-15 ปี พบว่า ตั้งแต่ปี 2019 มาจนถึง 2022 นั้น เกือบ 1 ใน 5 ของเด็ก ม.ต้น ของประเทศไทย สูบบุหรี่เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 17.6 โดยเฉพาะตั้งแต่ปี 2019 ที่ถือเป็นช่วงที่มีการผลิตบุหรี่ไฟฟ้าแบบใช้แล้วทิ้ง อัตราการสูบในเยาวชนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 


ส่วนเด็กประถมศึกษาตั้งแต่ ป. 4 ถึง ป. 6 ที่มีการเก็บข้อมูลพบว่า เด็กประถมร้อยละ 42.8 เคยสูบบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในสมัยที่เป็นบุหรี่มวน


สาเหตุของเด็กประถมศึกษาสูบบุหรี่ไฟฟ้า พบว่าร้อยละ 60 มีความอยากรู้อยากลอง รู้สึกว่าเท่และใช้ตามโซเชียลมีเดียจำนวนร้อยละ 20 สุดท้ายก็คือ ครอบครัวแนะนำให้สูบ ที่มีถึงร้อยละ 15 ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่า ความรู้ความเข้าใจเรื่องของบุหรี่ไฟฟ้า อาจจะรับรู้ไม่กว้างพอ ว่าบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายกับเด็กและเยาวชน ซึ่งเด็กที่เริ่มสูบพบว่า สูบตั้งแต่เริ่มเข้า ป. 4 


ส่วนแหล่งที่มาของบุหรี่ไฟฟ้าสำหรับเด็กประถมศึกษาร้อยละ 73 ได้จากมาครอบครัวเพื่อนและในชุมชน คือสิ่งที่น่ากลัวของบุหรี่ฟ้าคือ บุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายต่อปอดและหัวใจ และบุหรี่ไฟฟ้า 1 แท่ง มีนิโคตินเท่ากับบุหรี่ธรรมดา 20 ม้วน และไอระเหยยังมีอานุภาพขนาดเล็กที่เรียกว่า PM 1 และ PM 2.5 ปริมาณสูงเทียบเท่ากับบุหรี่มวน ดังนั้นความอันตรายจึงไม่ได้อันตรายกับผู้ที่สูบ แต่รวมถึงผู้ที่รับควันบุหรี่มือสองไปด้วย ซึ่งผลวิจัยจาก 44 ชิ้นสรุปว่า บุหรี่ไฟฟ้าไม่ช่วยเลิกบุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้าทำคนที่เลิกบุหรี่ไปแล้ว กลับมาติดบุหรี่ใหม่เพิ่มขึ้น 5 เท่า


ด้าน รศ.ดร. สุชาดา ตั้งทางธรรม นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ กรรมการสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย ระบุว่า ขณะนี้มีความต้องการทำให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย จึงควรควรศึกษาและบอกให้สังคมรับรู้ และตรวจสอบได้ว่าเกิดประโยชน์คุ้มค่าอย่างไร และต้องคำนึงถึงภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่จะตามมาด้วย




ภาพจาก AFP

ข่าวที่เกี่ยวข้อง