รีเซต

ใช้เหมือนเดิม แต่ทำไม 'ค่าไฟ' แพงขึ้น?

ใช้เหมือนเดิม แต่ทำไม 'ค่าไฟ' แพงขึ้น?
TeaC
6 พฤษภาคม 2564 ( 18:19 )
22.1K
1
ใช้เหมือนเดิม แต่ทำไม 'ค่าไฟ' แพงขึ้น?

ข่าววันนี้ เคยสงสัยไหมว่า ทำไมค่าไฟแพงขึ้น ทั้ง ๆ ที่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเหมือนเดิม วันนี้ TrueID หาคำตอบมาไขข้อสงสัยให้แล้ว โดยเพจ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสุพรรณบุรี PEA Suphanburi ได้ระบุข้อมูลได้อย่างน่าสนใจ เพื่อให้ผู้ใช้ไฟฟ้าเกิดความเข้าใจ เมื่อได้รับบิลค่าไฟฟ้าว่า

 

ทำไม? ค่าไฟเดือนถึงแพง 

 


1. การไฟฟ้าแอบเก็บเงินค่าไฟฟ้าเพิ่มหรือไม่ทำไมค่าไฟฟ้าแพง


ตอบ การไฟฟ้าฯ คิดเงินจากหน่วยการใช้ไฟฟ้าแบบอัตราก้าวหน้ามาตลอด (ยิ่งใช้ไฟเยอะ ค่าไฟก็อาจจะยิ่งแพงขึ้น) โดยการคิดค่าไฟฟ้ายึดจากหน่วยการใช้จากมิเตอร์ของผู้ใช้ไฟฟ้าเอง โดยในบิลค่าไฟมีรายละเอียดหน่วยที่จด,หน่วยครั้งก่อน,หน่วยการใช้ ชี้แจ้งอย่าง  และการกำหนดอัตรา และราคาค่าไฟฟ้าต่อหน่วย การไฟฟ้าไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคาแต่มีหน่วยงานที่เป็นกลาง ซึ่งได้รับแต่งตั้งจาก นายกรัฐมาตรี เป็นผู้กำหนดราคานั่นก็คือ “คณะกำกับกิจการพลังงาน” โดยมีรายละเอียดราคาต่อหน่วยชี้แจงชัดเจน

 


2. ทำไมค่าไฟฟ้าถึงได้ขึ้นมามากขนาดนี้ ทั้งที่การใช้ไฟฟ้าใช้เท่าเดิม ไฟฟ้ามาทำอะไรกับมิเตอร์หรือไม่

ตอบ การไฟฟ้าฯ ไม่มีนโยบายให้พนักงานหรือผู้ใดไปกระทำการใดๆกับมิเตอร์ลูกค้าแน่นอน จะมีเพียงแต่ดูแลบำรุงรักษาและสับเปลี่ยนมิเตอร์กรณีฯมิเตอร์ชำรุดให้ท่านเท่านั้นเท่านั้น

 


3. ทำไมค่าไฟเดือนเมษายน 2564 (04/64) ถึงแพงกว่าเดือน กุมภาพันธ์ 2564(02/64) , มีนาคม 2564(03/64) ทั้งที่หน่วยการใช้ใกล้เคียงกันหรือเท่ากัน

ตอบ เนื่องจากเดือนกุมภาพันธ์ 2564 และมีนาคม 2564 การไฟฟ้า ฯ มีมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าโดยลดค่ากระแสไฟฟ้าให้ผู้ใช้ไฟฟ้าทุกบ้าน (เราลดให้ทุกบ้านที่เข้าเงื่อนไขเท่าเทียมกันไม่จำเป็นต้องมาแจ้งเพื่อขอลดครับ) เพียงแต่ในบิลค่าไฟจะแจ้งหน่วยการใช้ที่เราใช้จริง แต่ไม่ได้คิดเงินตามหน่วยนั้น โดยหากดูตามบิลค่าไฟฟ้าของเดือนกุมภาพันธ์ 2564 , มีนาคม 2564 จะมีแจ้งอยู่ในบิล เช่น ลด 163.00 หน่วย/คิดเงิน 300.00 หน่วย จากการใช้จริง 463.00 หน่วย และมีราคาต่อหน่วยเท่ากัน

 


4. วิธีการเช็คว่าทางการไฟฟ้าจดหน่วยที่เราใช้ถูกต้องหรือไม่


ตอบ สามารถดูได้จากบิลค่าไฟฟ้าจะมีคำว่าจดหน่วยครั้งหลังอยู่ สามารถนำไปเปรียบเทียบกับหน้ามิเตอร์ของเราได้เลยว่าเลขตรงกันหรือไม่ หากเลขหน้ามิเตอร์ที่เขาไปดูมากกว่าในบิลค่าไฟ หมายความว่าจดถูก เนื่องจากหากมีการใช้ไฟที่ต่อเนื่องเลขหน้ามิเตอร์ก็จะขึ้นไปเรื่อย ๆ 


‼️หมายเหตุ‼️  แต่หากเลขหน้ามิเตอร์ไม่ถูกต้องสามารถแจ้งการไฟฟ้าได้ที่เบอร์ตามบิลหรือการไฟฟ้าใกล้บ้านได้เลยครับพนักงานยินดีแก้ไขบิลให้ครับเนื่องจากในแต่ละเดือนผู้ใช้ไฟฟ้าค่อนข้างเยอะ ในบางครั้งอาจมีผิดพลาดมองเลขผิดได้บางทางการไฟฟ้าต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ


เปรียบเทียบให้เห็นภาพ  เช่น หากเปิดแอร์เวลาเดิม 19.00 น. – 06.00 น. อากาศในห้องที่เปิดแอร์เย็นเท่าเดิมจริง แต่ตัวที่ทำให้มิเตอร์หมุนเร็วและหน่วยการใช้ไฟขึ้นไว คือ คอมเพลสเซอร์ที่ตั้งอยู่ข้างนอก ถ้าอากาศข้างนอกร้อนแค่ไหน หน่วยการใช้ไฟก็ขึ้นไวเท่านั้นเพราะคอมเพลสเซอร์ทำงานหนัก ยิ่งถ้าเสียงคอมเพลสเซอร์ดังนั่นคือมิเตอร์กำลังหมุนอย่างเร็ว นั่นคือเงินที่คุณต้องจ่ายเพิ่มขึ้น

 

สำรวจสักนิด! บ้านที่มีปัญหาค่าไฟฟ้าแพง (ส่วนมาก) จะมาจากเครื่องใช้ไฟฟ้า ดังนี้

 

  • เครื่องปรับอากาศ
  • เครื่องฟอกอากาศ
  • ตู้เย็น ที่มีของเยอะ,เก่า
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสภาพเก่า

 

ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ หลายหน่วยงาน หลายองค์กร ต่างมีมาตรการให้ทุกคนทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home กันอีกครั้ง ซึ่งทำให้ทุกคนต้องกลับมาใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านกันมากขึ้น ดังนั้น การช่วยประหยัดพลังงานจึงเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน เพียงปรับแนวคิดสักนิด เปลี่ยนพฤติกรรมสักหน่อยได้ช่วยโลก ช่วยเซฟเงินในกระเป๋า ด้วยวิธีง่าย ๆ ตามนี้

 

5 วิธี ดูแลบ้าน SAVE ค่าไฟ สบายกระเป๋า



1. ถอดปลั๊กเป็นนิสัย ปิดไฟทุกครั้ง

วิธีนี้ช่วยประหยัดค่าไฟได้ แถมยังป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าที่อาจจะลัดวงจรได้ และมีข้อดีอีกอย่างคือฝึกให้เป็นคนรอบคอบ แค่ปิดสวิตช์หรือถอดปลั๊กก็ช่วยได้เยอะเหมือนกัน


2. แอปพลิเคชันควบคุมการใช้ไฟฟ้าในบ้าน  

ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ให้สามารถตั้งเวลาเปิด-ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือสั่งการผ่านแอฟพลิเคชันได้ นอกจากจะสั่งการได้ แล้วยังสามารถตรวจสอบสถานะได้อีกด้วย


3. เปลี่ยนใช้หลอด LED แทนหลอดไฟแบบเก่า

เพราะหลอด LED กินไฟน้อยกว่า ทำให้ประหยัดค่าไฟ แถมยืดระยะเวลาใช้ได้นานขึ้นด้วย

 

4. ซักผ้า / ล้างจาน ในปริมาณที่เหมาะสม

ช่วยประหยัดไฟ, น้ำ และทรัพยากรอื่น ๆ ได้มากกว่าทำครั้งละนิดละหน่อย

 

5. ปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 25 องศาเซลเซียส

เป็นอุณหภูมิที่เย็นพอเหมาะสำหรับอากาศบ้านเรา และช่วยประหยัดค่าไฟได้ดี หากอุณหภูมิภายนอกไม่ร้อนมากเกินไปอาจปรับอุณหภูมิขึ้นอีก 2-3 องศา และเปิดพัดลมช่วย ก็จะลดค่าไฟฟ้าลงได้อีก

 

รู้แบบนี้แล้ว อย่าลืมฝึกให้เป็นนิสัยในการช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้า แถมช่วย Save เงินในกระเป๋าได้อีกด้วย

 

#Workfromehomeทั้งทีต้องช่วยประหยัดพลังงานด้วย

 

ภาพ : มติชน

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง