ตรวจสอบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่าน - ไม่ผ่าน ต้องทำอย่างไรบ้าง สรุปไว้ที่นี่!
ตรวจสอบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่าน - ไม่ผ่าน เตรียมใช้สิทธิเดือนมีนาคม 2566 โดยใช้บัตรประชาชนแทนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ พร้อมยืนยันตัวตนตามธนาคารที่กำหนด
ตรวจสอบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่าน - ไม่ผ่าน
บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566 ผู้ที่ผ่านการลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เตรียมใช้บัตรประจำตัวประชาชนเป็นบัตรสวัสดิการฯ แทน และเริ่มใช้สิทธิได้ภายในเดือนมีนาคมนี้ โดยสามารถเช็คประกาศผลลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่าน 3 ช่องทาง ดังนี้
- ผู้ลงทะเบียนสามารถตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติด้วยตนเอง ผ่านทางเว็บไซต์ https://บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th/ หรือ http://welfare.mof.go.th
- ผู้ลงทะเบียนสามารถตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติผ่านหน่วยงานรับลงทะเบียนทั้ง 7 หน่วยงาน ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (ธนาคารกรุงไทยฯ) สำนักงานคลังจังหวัด ที่ว่าการอำเภอทุกอำเภอ สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร และศาลาว่าการเมืองพัทยา
- โทรศัพท์สอบถามได้ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และ Call Center โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โทร. 02-1092345 (เวลาทำการ 08.30 – 17.30 น.)
ขั้นตอนตรวจสอบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
- เข้าเว็บไซต์ https://บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th/ หรือ http://welfare.mof.go.th
- คลิก ตรวจสอบสถานะการลงทะเบียน
- คลิก ระบุเลขที่บัตรประชาชนจำนวน 13 หลัก
- คลิก ระบุวัน เดือน และ พ.ศ. ที่เกิด
- คลิกตรวจสอบข้อมูล
ผู้ลงทะเบียนที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติสามารถยืนยันตัวตนได้ตั้งแต่วันที่ประกาศผลผู้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติเป็นต้นไป โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ผู้ลงทะเบียนจะต้องยืนยันตัวตนผ่านอุปกรณ์การยืนยันตัวตน (Full E KYC) โดยใช้บัตรประจำตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ (Smart Card)
- ยืนยันตัวตน ณ ธนาคารตามที่กระทรวงการคลังกำหนด ได้แก่ ธนาคารกรุงไทยฯ ธ.ก.ส. และธนาคารออมสิน
- สามารถใช้สิทธิผ่านบัตรประชาชนในเดือนถัดไปได้ทันที
ผู้ลงทะเบียนที่ผ่านคุณสมบัติรอบอุทธรณ์และยืนยันตัวตนเรียบร้อยแล้ว สามารถเริ่มใช้สิทธิ์ผ่านบัตรประจำตัวประชาชน (กระทรวงการคลังโดยคณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมจะพิจารณาให้สิทธิประโยชน์ย้อนหลังตามรายการที่กำหนด)
เช็คบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2566 ได้อะไรบ้าง
ทุกวันที่ 1 ของเดือน (ไม่สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และไม่สะสมในเดือนถัดไป)
- วงเงินซื้อสินค้า 200/300 บาทต่อเดือน
- วงเงินซื้อสินค้า ตามมาตรการช่วยเหลือเงินพิเศษ 200 บาทต่อเดือน (เฉพาะเดือนมกราคม 2566)
- ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 100 บาทต่อ 3 เดือน (ม.ค. - มี.ค. 66)
- ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ประกอบด้วย
- ค่าโดยสารรถ บขส. 500 บาทต่อเดือน
- ค่าโดยสารรถไฟ 500 บาทต่อเดือน
- ค่าโดยสารรถ ขสมก./รถไฟฟ้า (MRT/BTS/ARL) 500 บาทต่อเดือน (สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่อาศัยอยู่ในเขต กทม. และปริมณฑล)
ทุกวันที่ 18 ของเดือน (สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และสะสมในเดือนถัดไปได้)
- เงินชดเชยค่าไฟฟ้า ไม่เกิน 315 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน (สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ได้ลงทะเบียนกับ กฟน. กฟภ. และกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 315 บาทต่อเดือน)
- เงินชดเชยตามจำนวนเงินที่ชำระค่าน้ำประปา ไม่เกิน 100 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน (สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ได้ลงทะเบียนกับ กปน. กปภ. ที่ใช้น้ำประปาไม่เกิน 315 บาทต่อเดือน จะได้รับเงินคืนค่าน้ำประปาไม่เกิน 100 บาท (ที่ได้ชำระเงินแล้ว) ส่วนที่เกินจาก 100 บาท ผู้ถือบัตรฯ เป็นผู้ชำระเอง)
ทุกวันที่ 22 ของเดือน (สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และสะสมในเดือนถัดไปได้)
- เงินเพิ่มเบี้ยความพิการ 200 บาทต่อเดือน (สำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่มีบัตรประจำตัวคนพิการและได้รับเงินเบี้ยความพิการ)
ข้อมูลจาก กระทรวงการคลัง
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.
คลิกเลย >>> TrueID Community <<<