วงการดาราศาสตร์พบเรื่องน่าขนลุก ดวงดาวสามารถกลืนกินดาวชนิดอื่น ๆ ได้
เรื่องนี้ทางด้านหอดูดาว ESO ในประเทศชิลีได้มีการจับมือร่วมกับทีมนักวิจัยทางด้านดาราศาสตร์ในการจับตาเฝ้าสังเกตการณ์ดาวที่อยู่ในระบบดาว HR 6819 โดยมีระยะห่างจากโลกประมาณ 1000 ปีแสง จนถึงตอนนี้ทางด้านนักดาราศาสตร์ได้มีการกล่าวว่า ระบบนี้ประกอบด้วยดาวฤกษ์และหลุมดำที่อยู่ใกล้กัน โดยจะโคจรรอบระบบด้วยความเสถียรทุก 40 วัน
ที่สำคัญก็คือ นักวิจัยได้ให้เหตุผลสำคัญที่ชวนน่าขนลุกที่ว่า จากการตีความแล้ว สรุปได้ว่า ระบบดาวคู่ได้มีการเคลื่อนที่เพื่อไปกลืนกินดวงดาวจากชั้นบรรยากาศของดาวคู่
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2020 นักดาราศาสตร์ได้มีการประกาศสำคัญเกี่ยวกับเรื่องที่ว่า หลุมดำได้เข้าใกล้ดาวโลกมากที่สุดเท่าที่เคยเข้าใกล้มา แต่ในทางทฤษฎีแล้วนั้น ทางด้าน Thomas Rivinius หัวหน้าทีมวิจัย ESO ในประเทศชิลีได้มีการพูดถึงเรื่องนี้ว่า เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ทีมวิจัยได้เฝ้าดูนั้นเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า มันมีความแตกต่างทางทฤษฎีและเป็นเรื่องง่ายที่จะใช้เครื่องมือในการแยกแยะได้
เอกสารฉบับใหม่ที่ได้มีการตีพิมพ์ในนิตยสารนั้นได้มีการกล่าวว่า ทีมวิจัยได้เห็นชอบระบบดาว HR 6819 ไม่มีหลุมดำเข้ามาเกี่ยวข้อง คำถามก็คือ ดาวเคราะห์ได้มีการโคจรใกล้กันด้วยการกระทำของดาวฤกษ์เปลือย (Stripped-star) หรือโคจรใกล้กันเพราะการกระทำของหลุมดำกันแน่ ผลลัพธ์ที่ออกมาชี้ว่า จากการวิเคราะห์ของทีมวิจัยจากการใช้เครื่องมือกล้องโทรทรรศน์ VLT ได้ยืนยันแล้วว่า ไม่มีแสงดาวคู่อยู่บริเวณวงโคจร ในขณะที่ดาวอื่น ๆ สามารถแยกแสงออกมาได้
Abigail Frost นักวิจัยได้มีการกล่าวว่า ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ช่วยทำให้ทีมวิจัยสามารถต่อจิ๊กซอว์ชิ้นสุดท้ายและทำให้เราลงความเห็นสรุปได้ว่า HR 6819 เป็นระบบดาวคู่ที่ไม่มีหลุมดำเข้ามาเกี่ยวข้องและมีลักษณะของการเป็น “แวมไพร์” (Vampire) โดยเป็นดาวที่มีการดูดกลืนดาวคู่
ข้อมูลจาก : futurism.com
ภาพจาก : wikimedia.org