ยูนิเซฟมุ่งส่งเสริม 'สภาพแวดล้อมอาหาร' ดีต่อสุขภาพ ในเอเชียแปซิฟิก
กรุงเทพฯ, 2 มี.ค. (ซินหัว) -- กลุ่มเยาวชนและคนดังจาก 8 ประเทศ ซึ่งรวมถึงจีน เข้าร่วมโครงการที่ได้รับการสนับสนุนโดยกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติหรือยูนิเซฟ (UNICEF) ในกรุงเทพฯ ในสัปดาห์นี้ เพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมทางอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกโครงการ "ฟิกซ์ มาย ฟู้ด" (Fix My Food) เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมสร้างสรรค์ระยะ 2 วัน สำหรับระดมความคิดและค้นหาหุ้นส่วนที่มีศักยภาพเพื่อช่วยเปิดตัวโครงการดังกล่าวในประเทศของตนเมื่อวันจันทร์ (27 ก.พ.) โรลันด์ คุปกา ที่ปรึกษาด้านโภชนาการระดับภูมิภาคจากยูนิเซฟ สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ระบุว่าอาหารสดแบบดั้งเดิมที่ดีต่อสุขภาพกำลังถูกแทนที่ด้วยอาหารขยะและเครื่องดื่มที่ผ่านการแปรรูปสูงและไม่ดีต่อสุขภาพ นำไปสู่การรับประทานอาหารแย่ๆ ที่ส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพและสวัสดิภาพของเด็กในภูมิภาค
(ภาพจาก
ยูนิเซฟ ประจำประเทศจีน : เมิ่งเชียนซาน (กลาง) นักการศึกษาด้านโภชนาการจากนครเฉิงตู มณฑลซื่อชวนทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เข้าร่วมโครงการ "ฟิกซ์ มาย ฟู้ด" ที่ได้รับการสนับสนุนโดยยูนิเซฟ ในกรุงเทพฯ วันที่ 27 ก.พ. 2023)[/caption]ยูนิเซฟเผยว่าวัยรุ่นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมากกว่า 1 ใน 3 ดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลอย่างน้อย 1 ขวดต่อวัน ขณะวัยรุ่นมากกว่าครึ่งบริโภคอาหารจานด่วน 1 ครั้งหรือมากกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนวัยรุ่นน้อยกว่าครึ่งรับประทานผักและผลไม้เพียงพอทุกวันยูนิเซฟได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลและหุ้นส่วนเพื่อส่งเสริมการบังคับใช้นโยบายและกฎหมายควบคุมการจำหน่ายและการทำการตลาดที่เพิ่มขึ้นของสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ดีต่อสุขภาพในภูมิภาคเลลี จูฮารี หัวหน้าฝ่ายการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ของยูนิเซฟ ประจำประเทศจีน กล่าวว่าจีนซึ่งมีความร่วมมือฉันมิตรกับยูนิเซฟ กำลังดำเนินบทบาทอย่างแข็งขันในประเด็นเด็กและอาหาร โดยองค์การฯ ทราบถึงความคืบหน้าในการบรรลุสิทธิเด็กในจีน และยังต้องทำงานอีกมากเพื่อปรับปรุงโภชนาการของเด็กอนึ่ง ยูนิเซฟหวังสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับผลกระทบของสภาพแวดล้อมทางอาหารที่กำลังเปลี่ยนแปลงต่อชีวิตเด็ก รวมถึงความจำเป็นเร่งด่วนสำหรับรัฐบาล ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในการดำเนินการร่วมกันเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางอาหารที่ดีต่อสุขภาพทั่วภูมิภาค โดยมีเยาวชนเป็นผู้นำการรณรงค์ พร้อมเสียงสนับสนุนจากกลุ่มคนดังและอินฟลูเอนเซอร์เฉินเฟยเผิง นักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัยวัย 24 ปี ซึ่งได้รับคำแนะนำจากสหพันธ์เยาวชนจีนให้เข้าร่วมการประชุม หวังว่าจะได้ทำงานร่วมกับเพื่อนและกลุ่มเยาวชนในจีนเมื่อเดินทางกลับจีน ผ่านโครงการครัวแห่งความหวัง (Hope Kitchen) หรือโครงการโภชนาการของรัฐบาล ซึ่งจะมีส่วนช่วยปรับปรุงการเข้าถึงตัวเลือกอาหารเพื่อสุขภาพที่มีราคาเอื้อมถึง หาง่าย มีบรรจุภัณฑ์ดี และการตลาดดี ที่ทุกคนต้องการซื้อแผนริเริ่มนี้จะดำเนินการใน 8 ประเทศที่เข้าร่วม ได้แก่ จีน กัมพูชา สหพันธรัฐไมโครนีเซีย ฟิจิ มองโกเลีย หมู่เกาะโซโลมอน ติมอร์-เลสเต และเวียดนาม โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานประจำประเทศของยูนิเซฟและหุ้นส่วน อันเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจยูนิเซฟในการระดมและเสริมสร้างพลังให้กลุ่มเยาวชนลงมือปฏิบัติจริงด้านเมิ่งเชียนซาน นักการศึกษาด้านโภชนาการจากนครเฉิงตู เมืองเอกของมณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน กล่าวว่าอาหารของเด็กมีอิทธิพลต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ขณะเดียวกัน สังคมทุกภาคส่วนจำเป็นต้องร่วมกันสร้างสภาพแวดล้อมทางอาหารที่เป็นมิตรต่อเด็ก และส่งเสริมระบบอาหารที่ยั่งยืนด้วย