ตลาดบริการ "ดาต้าเซ็นเตอร์" ไทยโต 8% เอกชนแห่ใช้บริการ ลดค่าใช้จ่าย เข้าถึง Solution AI

"ศูนย์วิจัยกสิกรไทย" คาดตลาดบริการดาต้าเซ็นเตอร์ในปี 2568 คาดว่าจะมีสัดส่วนสูงถึง 43.3% ของตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ไทยโดยรวม ทั้งนี้ องค์กรธุรกิจไทยมีแนวโน้มหันมาเลือกใช้บริการดาต้าเซ็นเตอร์แทนการลงทุนเอง เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเข้าถึง Solution AI สาหรับวิเคราะห์ข้อมูลที่ผู้ให้บริการนาเสนอควบคู่กับการจัดเก็บข้อมูล
ในปี 2568 รายได้ธุรกิจบริการดาต้าเซ็นเตอร์ไทยคาดว่าจะขยายตัว 8% ตามความต้องการใช้งานที่มากขึ้นใน 3 ตลาดหลัก ได้แก่ ตลาดภาคการเงิน และตลาดภาคค้าส่ง-ค้าปลีก ที่ขยายตัวได้ดีตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาใช้จ่ายออนไลน์มากขึ้น ในขณะที่ตลาดภาคบริการสุขภาพ จะขยายตัวตามกระแสรักสุขภาพและการเข้าสู่สังคมสูงอายุ
ธุรกิจบริการดาต้าเซ็นเตอร์ไทยกาลังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา รายได้รวมมีทิศทางเติบโตเฉลี่ย 12.6% ต่อปี ความต้องการบริการจัดเก็บข้อมูลในไทยส่วนใหญ่ราว 94% มาจากองค์กรธุรกิจเอกชน โดยเติบโตตามความเปลี่ยนแปลงในการนาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในธุรกิจ ทั้งเพื่อการวางแผนและการเข้าถึงลูกค้า โดยเฉพาะในปัจจุบันที่หลายองค์กรธุรกิจไทยเริ่มทดลองและนาเทคโนโลยี AI มาใช้ ส่งผลให้ปริมาณข้อมูลที่ต้องประมวลผลและจัดเก็บขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทาให้ความต้องการใช้บริการดาต้าเซ็นเตอร์เพิ่มสูงขึ้น
ปัจจุบัน องค์กรธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะขนาดกลางและขนาดเล็ก หันมาเลือกใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกแทนการลงทุนดาต้าเซ็นเตอร์เอง ซึ่งต้องใช้ทรัพยากรและเงินลงทุนสูง ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน บุคคลากร และเทคโนโลยี สาหรับปี 2568 คาดว่าตลาดบริการดาต้าเซ็นเตอร์จะมีสัดส่วนสูงถึง 43.3% ของมูลค่าตลาดโดยรวม
นอกจากนี้ องค์กรธุรกิจยังเลือกใช้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ เนื่องจากผู้ให้บริการในปัจจุบันมักเปิดให้บริการ Solution สาหรับวิเคราะห์ข้อมูลด้วย AI ควบคู่ไปกับบริการจัดเก็บข้อมูล ทั้งนี้ ในปี 2567 องค์กรไทยกว่า 17.8% ได้นา AI มาใช้แล้ว และอีกกว่า 73.3% มีแผนจะนามาใช้ในอนาคต
โดยรายได้รวมธุรกิจบริการดาต้าเซ็นเตอร์ในไทยราว 72% มาจาก 3 ตลาดหลัก ได้แก่ ภาคการเงินที่มีสัดส่วนตลาดสูงสุดราว 27% รองลงมาคือ ภาคค้าส่งและค้าปลีก 25% และภาคบริการสุขภาพ 20%
ธุรกิจบริการดาต้าเซ็นเตอร์สาหรับภาคการเงิน มีแนวโน้มเติบโตตามความต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบชาระเงินสมัยใหม่ ได้แก่ PromptPay และ e-Wallet ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันมากกว่า 90% ของจานวนธุรกรรมชาระเงินของไทยในปัจจุบัน และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยในปี 2568 จานวนธุรกรรมโดยรวมผ่านระบบชาระเงินทั้งสองดังกล่าว คาดว่าจะเติบโตราว 13.6%
ธุรกิจบริการดาต้าเซ็นเตอร์สาหรับภาคค้าส่งและค้าปลีก มีแนวโน้มเติบโตตามการขยายตัวของโมเดิร์นเทรดและอีคอมเมิร์ซ ที่คาดว่าจะขยายตัว 4.8% และไม่น้อยกว่า 8% ในปี 2568 ทาให้ความต้องการใช้งานบริการดาต้าเซ็นเตอร์เป็นที่ต้องการมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่มีปริมาณการสั่งซื้อเพิ่มขึ้นสูงในระยะเวลาอันสั้น เช่น เทศกาลวันหยุดหรือแคมเปญลดราคาครั้งใหญ่ เพราะบริการดังกล่าวมีความยืดหยุ่นในการเพิ่มพื้นที่จัดเก็บตามความต้องการได้ทันที
ธุรกิจบริการดาต้าเซ็นเตอร์สาหรับภาคบริการสุขภาพ มีแนวโน้มเติบโตตามความต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลผู้ป่วย ซึ่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งจากจานวนผู้ป่วยคนไทยที่มีทิศทางเติบโตราว 7.4% ต่อปี หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตามกระแสรักสุขภาพ และการเข้าสู่สังคมสูงอายุของไทย รวมถึงผู้ป่วยชาวต่างชาติ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นราว 5% ในปี 2568 โดยเฉพาะกลุ่ม Medical Tourism ที่ยังเข้ามาใช้บริการรักษาพยาบาลในไทยต่อเนื่อง