รีเซต

จ่ายไม่ไหว! ลูกค้าประกันภัย ทิ้งกรมธรรม์พุ่ง 6 แสนฉบับ เตือน ทำใหม่ยาก ผลปย.ไม่เท่าเดิม

จ่ายไม่ไหว! ลูกค้าประกันภัย ทิ้งกรมธรรม์พุ่ง 6 แสนฉบับ เตือน ทำใหม่ยาก ผลปย.ไม่เท่าเดิม
มติชน
4 กุมภาพันธ์ 2564 ( 14:25 )
111
จ่ายไม่ไหว! ลูกค้าประกันภัย ทิ้งกรมธรรม์พุ่ง 6 แสนฉบับ เตือน ทำใหม่ยาก ผลปย.ไม่เท่าเดิม

ประชาชาติธุรกิจ รายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ช่วง 9 เดือนของปี 2563 (ม.ค.-ก.ย. 63) พบว่า กรมธรรม์ประกันชีวิตในระบบมีการยกเลิกและขาดอายุ (lapse) รวมทั้งสิ้น 676,017 ฉบับ แบ่งเป็นประกันชีวิตตลอดชีพ 331,715 ฉบับ, ประกันออมทรัพย์ 190,388 ฉบับ,ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล 76,979 ฉบับ, ประกันชีวิตชั่วระยะเวลา 56,902 ฉบับ, ประกันภัยกลุ่ม 11,913 ฉบับ, ประกันชีวิตควบการลงทุน (ยูนิตลิงก์) 4,341 ฉบับ, ประกันบำนาญ 2,364 ฉบับ, ประกันยูนิเวอร์แซลไลฟ์ 1,401 ฉบับ และแบบประกันชีวิตอื่น ๆ 14 ฉบับ

 

สอดคล้องกับอัตราผู้ถือกรมธรรม์ประกันชีวิตต่อประชากรลดลงมาอยู่ที่ 39.50% จาก 39.65% ของช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งมีส่วนที่ส่งผลกระทบต่อกำไรบริษัทประกันชีวิตในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563 ทั้งระบบลดลงไปกว่า 11,818 ล้านบาท เหลือกำไรสุทธิรวม 28,974 ล้านบาท สวนทางเงินให้กู้โดยมีกรมธรรม์เป็นประกัน (policy loan) ทั้งระบบเพิ่มขึ้น 20.78% มาอยู่ที่ 175,883 ล้านบาท

 

ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต เผยว่า ตั้งแต่ไตรมาส 4/63 เป็นต้นมาในระบบประกันชีวิตจะเริ่มเห็นสัญญาณการขาดอายุกรมธรรม์สูงขึ้น เนื่องจากหมดช่วงเวลาช่วยเหลือ (great period) พบว่ามีลูกค้าจำนวนมากไม่ได้จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตต่อ ซึ่งหากพ้นระยะเวลาการชำระไปแล้ว 30 วันในระบบประกันชีวิต ก็จะให้ลูกค้าทำรายการกู้กรมธรรม์อัตโนมัติ (automatic premium loan : APL)

 

โดยที่บริษัทประกันจะกู้ยืมเงินจากมูลค่าเงินสดในกรมธรรม์ลูกค้าเพื่อมาชำระเบี้ยแทนจึงจะเห็นว่าการกู้กรมธรรม์มีสัดส่วนสูงขึ้น ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวก็ส่งผลเสียทั้งต่อลูกค้าและผลกระทบต่อบริษัทประกัน

 

เตือนลูกค้า กลับมาทำใหม่ยาก-ผลตอบแทนไม่เหมือนเดิม

นายไบรอัน สมิธ กรรมการผู้อำนวยการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.อลิอันซ์อยุธยา แคปปิตอล (AYUD) กล่าวว่า ในปี 2564 ถือเป็นปีแห่งความท้าทายมาก เพราะยอดขายประกันไม่โตจากภาวะเศรษฐกิจซึม และแย่ลงไปอีกจากผลกระทบโควิด-19 แม้สินค้าความคุ้มครองและสุขภาพ (protection & health) จะได้รับความสนใจแต่กำลังซื้อไม่มี ซึ่งจะส่งผลต่อสัญญาณการขาดอายุกรมธรรม์ในไตรมาส 1/64 จะสูงขึ้นไปอีก

 

“ตอนนี้เราต้องคิดแผนเพื่อบอกลูกค้าว่า การยกเลิกกรมธรรม์ไปแล้วจะกลับมาทำใหม่จะยากมาก เพราะถ้าเป็นประกันสุขภาพต้องตรวจสุขภาพใหม่ ขณะที่ประกันออมทรัพย์ผลตอบแทนอาจจะไม่ได้เหมือนเดิม เพราะอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกต่ำมาก” นายไบรอันกล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง