หุ้นไทยเผชิญปัจจัยเสี่ยงรุมเร้า ตัวไหนน่าเก็งกำไร เช็กที่นี่ !

ตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมาดีดปรับตัวขึ้นตามภูมิภาค เด้งรับข่าวสหรัฐ-จีน บรรลุข้อตกลงการค้าเบื้องต้น ปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างกันในอัตราที่สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ส่งผลให้ตลาดคลายความกังวลบางส่วนต่อประเด็นสงครามการค้าและกระตุ้นแรงซื้อหุ้นทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยีและพลังงาน แต่หลังจากนั้นไม่นานดัชนีพลิกร่วง และเผชิญแรงขายทำกำไร โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มแบงก์ หุ้นกลุ่มพลังงานที่มีปัจจัยลบเรื่องราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลง
ผสมโรงแรงกดดันหลักมาจาก MSCI Rebalance และลดน้ำหนักการลงทุนจำกัด upside ของตลาด และแรงกดดันจากหุ้นกลุ่มค้าปลีก (CRC, HMPRO) ที่ฟื้นตัวช้ากว่ากลุ่ม ไฟแนนซ์ (KTC) หลุดออกจากดัชนี MSCI รอบนี้ และ กลุ่มปิโตรฯ (PTTGC, SCC, IVL) Spread ผลิตภัณฑ์อ่อนตัวลงระยะสั้น ขณะที่ AOT ผิดหวังงบ 1Q25 มีกำไรสุทธิต่ำเพียง 5.1 พันล้านบาท -5%q-q และ 13%y-y ต่ำกว่าที่ตลาดคาด q-qโต 16% และ y-y โต 17% แม้ Analyst meeting ชี้แจงว่าเป็นรายการ one-time แต่กลับเพิ่มความสงสัยให้กับตลาดถึงความสามารถในการจ่ายชำระหนี้ของ King Power ส่งผลให้ดัชนี (12-16 พ.ค.) ลดลง 1.34% w-w ลงมาปิดที่ 1,194 จุด ต่ำกว่า 1,200 จุด
สำหรับแนวโน้มหุ้นไทยสัปดาห์หน้าจะเป็นอย่างไร มีปัจจัยบวก-ลบที่จะต้องติดตามอะไรบ้าง และหุ้นตัวไหนยังน่าลงทุน TNN ONLINE พาไปไขคำตอบจากกูรูตลาดทุน
เริ่มจาก “ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์” AISA, CFTe ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัย บล.กรุงศรี มองว่า ตลาดแกว่ง Sideways หรือ Sideways Up ประเมินแนวต้านแรกอยู่ที่ 1,227 จุด แนวต้านต่อไปที่ 1,242 จุด แนวรับแรกที่ 1,194 จุด แนวรับถัดไป 1,182 จุด โดยแรงหนุนหลักตลาดยังคงอยู่ที่พัฒนาการเจรจาการค้าเพิ่มเติมในส่วนจีนและสหรัฐฯที่ผู้นำจะหารือกัน รวมถึงการพิจารณาข้อเสนอประเทศอื่น ๆ รวมถึงฝั่งไทยข้อเสนอที่ยื่นเบื้องต้นมีสัญญาณตอบรับทางบวก ยังคาดหวังได้ว่าไทยน่าจะได้รับข้อเสนอใกล้เคียงชาติอื่น ประเมินหุ้นที่น่าสนใจลงทุนคือ
- กลุ่ม Reopening Trade (เทคโนโลยี เกษตร China Plays นิคม)
- หุ้นที่มีภาพ Downside เศรษฐกิจ, ความเสี่ยงเงินเฟ้อ, Yield ที่มีโอกาสสร้าง Positive Surprise ใน 2 เดือนนี้จากภาพมาตรการกีดกันการค้าที่ยังผ่อนคลายระหว่างเจรจา อาทิ โรงไฟฟ้า เช่าซื้อ หนี้สูง High Yield รวมถึง China Plays
ส่วนการโยก LTF ไปกองทุน Thai ESGX คาดเม็ดเงินใหม่เข้ามาประมาณ 9 พันล้านบาท – 1.5 หมื่นล้านบาท
🔆หุ้นที่ได้รับประโยชน์ มอง 9 หุ้น Deep Value ซึ่งเป็นหุ้นที่มีพื้นฐานมั่นคงใน 1-2 ปีนี้ มีโอกาสเป็นเป้าหมายเม็ดเงินลงทุน
- CPALL ราคาเป้าหมาย 80.00 บาท
- BDMS ราคาเป้าหมาย 37.50 บาท
- MINT ราคาเป้าหมาย 38.00 บาท
- BH ราคาเป้าหมาย 240.00 บาท
- GPSC ราคาเป้าหมาย 37.00 บาท
- SCGP ราคาเป้าหมาย 16.00 บาท
- HMPRO ราคาเป้าหมาย 11.20 บาท
- KBANK ราคาเป้าหมาย 178.00 บาท
- BBL ราคาเป้าหมาย 130.00 บาท
ปัจจัยบวก-ลบที่ต้องติดตาม
- 19 พ.ค. รายงาน GDP ไตรมาสแรกของปี คาด +2.9%y-y vs prev. +3.2%y-y
- 19 พ.ค. ติดตามการประชุมบอร์ดกระตุ้นเศรษฐกิจ
- 19-23 พ.ค. ความคืบหน้าเจรจาการค้ากับสหรัฐฯ หลังรัฐฯยื่นข้อเสนอเบื้องต้นไปแล้ว เช่น กำหนดการวันเจรจา
- 19 พ.ค. กิจกรรมเศรษฐกิจ เม.ย. ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีน ตลาดคาด +5.9%y-y จากเดิม. +7.7%, ยอดค้าปลีก คาด +6.0%y-y จากเดิม +5.9%
- 22 พ.ค. Flash PMI ผลิต และบริการของจีน เดือนพ.ค.
- 23 พ.ค. เงินเฟ้อ CPI ของญี่ปุ่น ตลาดคาด 3.6%y-y ทรงตัว
หุ้นเด่นแนะนำ
🔆• GULF (TP25F-56.5): Yield มีโอกาสอ่อนลงตามภาพเงินเฟ้อสหรัฐฯระยะสั้น + เป็นหนึ่งในหุ้นได้ประโยชน์จากแนวทางรัฐฯ ไทยจะเจรจากับสหรัฐฯ
🔆• SCC (TP Con-210): คาดแรงหนุนพัฒนาการหารือการค้าระหว่างผู้นำสหรัฐฯ - จีนเพิ่ม
🔆• WHA (TP25F-6.4) : การเจรจาการค้าสหรัฐฯ – ไทย เริ่มคืบหน้าหนุนหุ้น
ฝั่ง “วทัญ จิตต์สมนึก” ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์กลยุทธ์ บล.พาย มองว่า SET INDEX จะกลับมาแกว่งในกรอบแคบและมีโอกาสซึมตัวลง เพราะว่าสะท้อนปัจจัยหนุนด้านเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีนไปแล้ว แต่ปัจจัยพื้นฐานของไทยถือว่าไม่เด่นทั้งกำไรบริษัทจดทะเบียนที่ส่วนใหญ่แล้วกำไรลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่เศรษฐกิจไทยกำลังจะเผชิญกับความเสี่ยงจากการส่งออกและการท่องเที่ยว ปัจจัยที่ต้องติดตามได้แก่การค้าระหว่างประเทศของไทยและตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆของสหรัฐฯ ประเมินกรอบเคลื่อนไหวที่ 1,170 – 1,220 จุด
ส่วนกรณีการเปิดให้สามารถโยก LTF ไปเป็น ThaiESGX นั้น ไม่มีผลอย่างมีนัยยะต่อตลาดหุ้นไทย เพราะเป็นเพียงการชะลอแรงขาย แต่แรงซื้อจะต้องพิจารณาเงินที่ไหลเข้ามาจากกอง ThaiESGX ข้อมูลล่าสุดจาก ก.ล.ต. รายงานว่าช่วง IPO ของกอง Thai ESGX มีเม็ดเงินเข้ามาไม่ถึงพันล้านบาท (ค่อนข้างน้อย) โดยรัฐบาลตั้งเป้าหมายคาดหวังวงเงินในระดับ 2 หมื่นล้านบาท
ส่วนหุ้นที่คาดว่าจะได้ประโยชน์มองไปที่กลุ่มผลกระทบจำกัดจากทิศทางเศรษฐกิจไทย ประกอบไปด้วยค้าปลีกที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจำเป็น (CPALL ,CPAXT) ธนาคารพาณิชย์ (BBL, KBANK ,KTB ,SCB)
หุ้นเด่นแนะนำ
- CPALL แนวโน้ม SSSG มีทิศทางแข็งแกร่งกว่ากลุ่มต่อเนื่อง รายงานกำไรสุทธิ 1Q25 ที่ 7.6 พันล้านบาท (+20%YoY, +6%QoQ) ทำสถิติสูงสุดใหม่ ดีกว่าที่เราและตลาดคาด กำไรที่เติบโตแข็งแกร่งหนุนจากยอดขายสาขาเดิมของ 7-11 ที่เติบโต 3% YoY จากยอดขายกลุ่มอาหารพร้อมทานและ Personal Care ที่เติบโตดี รวมกับการเติบโตของกำไรของ CPAXT จากการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม (Makro +1.05% และ Lotus’s +0.5%) ขณะที่เราคาดว่าแนวโน้มกำไร 2Q25 จะเติบโต YoY ต่อเนื่องตามการเพิ่มขึ้นของยอดขาย Ready-to-eat และ Ready-to-drinks และ Synergy benefits ของ CPAXT
ปิดท้าย “ณัฐพล คำถาเครือ” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์การลงทุน บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) มองว่า ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์หน้าปัจจัยสำคัญคือการประกาศจีดีพีไตรมาส 1/68 ตลาดดว่าขยายตัว3-3.2% YOY และปัจจัยที่กดดันตลาดคือสถานการณ์การเมืองในประเทศที่ต้องติดตามต่อเนื่อง ทั้งคดีฮั้วสว. โหวตงบประมาณปี 69 วาะระ 1 กรณี ศาลฎีกาฯ นัดไต่สวน "ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรีวันที่ 13 มิ.ย.นี้ ปมรักษาตัวชั้น 14 รวมถึงการเจรจาการค้าระหว่างไทยและสหรัฐว่าจะเริ่มเมื่อไร ให้กรอบแนวรับ 1,175 จุด แนวต้านที่ 1,215 จุด ส่วนหุ้นเด่นแนะนำ หุ้นที่ราคาลงลึก BBIK ราคาเป้าหมาย 39.75 บาท