รีเซต

ข้าวหายาก แต่อินเดียยังขายให้สิงคโปร์

ข้าวหายาก แต่อินเดียยังขายให้สิงคโปร์
TNN ช่อง16
10 กันยายน 2566 ( 10:00 )
135

ในปี 2566 เป็นปีที่ทั่วโลกมีความเสี่ยง ในเรื่องของอาหารและการสร้างความมั่นคงทางอาหาร เพราะปัจจัย 3 เรื่องใหญ่คือ 

1) ผู้ผลิตธัญพืชรายใหญ่ของโลก อย่างยูเครนและรัสเซีย 

มีปัญหาในการส่งออกสินค้าธัญพืช เนื่องจากภาวะสงคราม 

2) เกิดภาวะเอลนีโญ ยาวนาน 3 ปี ทำกลุ่มประเทศผู้ผลิตอาหาร

ในแถบเอเชียเจอกับความแห้งแล้งถึง 3 ปี

3) ความกดดันทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างมหาอำนาจ เกรงจะเกิดสงคราม 

ทำให้มีการปรับนโยบายความมั่นคงทางอาหารกันใหม่ บางประเทศไม่ส่งออกพืชอาหาร

และประเทศขนาดใหญ่มีการตุนอาหารไว้ในภาวะฉุกเฉินจำนวนมาก 


ด้วยปัจจัยนี้ อินเดียจึงออกนโยบายระงับการส่งออกข้าวทุกชนิด ยกเว้นข้าวบาสมาติ ในเดือนกรกฎาคม 2566 

โดยอินเดียเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่สุดของโลก ทำให้เกิดการโยกย้ายตลาดซื้อขายข้าวกันทั่วโลก 


สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ว่า แม้จะระงับการส่งออกข้าวแต่รัฐบาลอินเดีย ยกเว้นการส่งออกข้าวให้กับสิงคโปร์ โดยอินเดียให้เหตุผลว่า อินเดียและสิงคโปร์ เป็นพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ที่มีความใกล้ชิดกันมาก 

โดยร่วมกันแบ่งปันผลประโยชน์ มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่แน่นแฟ้นเช่นเดียวกับความสัพมันธ์ในระดับประชาชน ที่ใกล้ชิดกันมากเช่นกัน นับเป็นความสัมพันธ์พิเศษ ระหว่างสองชาติ อินเดียจึงตัดสินใจขายข้าวให้กับสิงคโปร์ 

เพื่อความมั่นคงทางอาหารของสิงคโปร์ เพราะเป็นประเทศขนาดเล็ก 

ไม่มีพื้นที่ทำการเกษตร คำสั่งขายข้าวให้สิงคโปร์ จะทำอย่างเป็นทางการ ในเร็วๆนี้ 


สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า อินเดีย กำหนดนโยบาย ระงับส่งออกข้าว เพราะกำลังพยายามควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ก่อนการเลือกตั้งระดับรัฐในช่วงปลายปี 2566 


ทั้งนี้อินเดียมีประชากรมากถึง 1400 ล้านคน และมีฐานความเป็นอยู่แตกต่างกันมาก ประชากรส่วนใหญ่ยังมีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ และต้องใช้เงินจำนวนมากขึ้นซื้อหาอาหาร ในภาวะเงินเฟ้อ อินเดียจึงไม่ต้องการให้มีการส่งออกข้าวไปยังตลาดโลก แม้ว่าเวลานี้ข้าวจะมีราคาขยับสูงขึ้น เพราะเกรงว่าพ่อค้าจะส่งออกมากเก้นไป จนไม่เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ 

นอกจากนั้น ยังได้ขยายการควบคุมการส่งออกข้าว โดยเก็บภาษีข้าวนึ่งร้อยละ 20 ซึ่งมีผลจนถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2566 นี้ 


จากรายงานของ AGFlow.com ระบุว่า ในปี 2563 

สิงคโปร์นำเข้าข้าวทั้งหมดเท่ากับ 289 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ( 10,100 ล้านบาท) 

เป็นผู้นำเข้าข้าวอันดับที่ 31 ของโลก จากตลาดที่หลากหลายได้แก่

จากไทย 123 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (4,300 ล้านบาท) 

จากอินเดีย 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2,100 ล้านบาท) 

จากเวียดนาม 57.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1,998 ล้านบาท) 

จากจีน 11.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (400 ล้านบาท) 

จากกัมพูชา 8.57 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (300 ล้านบาท) 


แม้จะปลูกข้าวเองไม่ได้ แต่สิงคโปร์ได้ทำหน้าที่พ่อค้าคนกลาง ที่ซื้อมาขายไป โดยทำกำไรจากการส่งออกข้าวในปีเดียวกันนั้น 

ได้ถึง 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 2,800 ล้านบาท 


โดยส่งออกข้าวที่ซื้อมาไปให้ อินโดนีเซีย โมซัมบิก เบนิน มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ โดยปกติสิงคโปร์ นำเข้าข้าวเฉลี่ยปีละ 311,000 ตัน บริโภคในประเทศราว 250,000 ตันต่อปี เหลือส่งออกไปขายอีกราวปีละ 61,000 ตัน


ในบางปีสิงคโปร์ทำกำไรจากการค้าข้าวได้มากกว่านั้น เช่นในปี 2562 สหรัฐส่งออกข้าวไปยังตลาดสิงคโปร์ถึง 3.5 ล้านตัน 

มากกว่าปกติถึง กว่า 10 เท่า เพื่อขายต่อในประเทศที่สาม 


ข่าวโดย  สุกัญญา ไชยภาษี 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง