รีเซต

เกาะติด มาตรการช่วยเหลือทางการเงิน โควิดรอบใหม่

เกาะติด มาตรการช่วยเหลือทางการเงิน โควิดรอบใหม่
TNN ช่อง16
13 มกราคม 2564 ( 10:46 )
94

"สภาพคล่อง" ไม่เพียงเป็นคำสำคัญในภาคธุรกิจ แต่ประชาชน มนุษย์เงินเดือน พ่อค้าแม่ขาย ต่างก็เผชิญกับปัญหาสภาพคล่องตึงตัวเหมือนกัน โดยเฉพาะในช่วงที่มีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 รัฐสั่งปิดกิจการชั่วคราว

จนมีหลายฝ่ายออกมาเรียกร้องมาตรการช่วยเหลือ เติมสภาพคล่อง ให้กับภาคประชนชนคนทั่วไป หรือแม้กระทั่งภาคธุรกิจ  SMEs รายย่อย ทั่งในรูปแบบ เงินให้เปล่า สินเชื่อ และการลดภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นต่างๆ เพื่อให้สภาพคล่องของทุกคนเพิ่มขึ้น พร้อมสำหรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลคาดว่าจะใช้เวลาคุมการแพร่ระบาดได้ ภายในเดือนมีนาคมนี้ 


เปิด Timeline โครงการ "เราชนะ"

เมื่อวานนี้ (12 ม.ค.64) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแถลงอนุมัติมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 หลากหลายมาตรการ มาตรการที่สนใจ ทั้งการแจกเงิน ในโครงการ "เราชนะ" ซึ่งนายกรัฐมนตรี เคาะออกมาแล้ว 3,500 บาท ต่อเดือน ให้ระยะเวลา 2 เดือน เยียวยา 3 กลุ่มหลัก คือ แรงงานนอกระบบ ,อาชีพอิสระ , และภาคการเกษตร โดยให้กระทรวงการคลัง ไปพิจารณา กำหนดเงื่อนไขผู้เข้าร่วมโครงการฯ ที่ได้รับผลกระทบในแต่ละกลุ่ม ก่อนนำมาเสนอที่ประชุม ครม.สัปดาห์หน้า 19 ม.ค.64 

เมื่อผ่านการพิจารณาแล้ว วันต่อมา 20 ม.ค.64 จะมีการเปิดให้ลงทะเบียน ผู้ได้รับสิทธิโครงการเราชนะ และคาดว่าจะเริ่มโอนเงินให้กับผู้ได้รับผลกระทบเร็วที่สุด ปลายมกราคมนี้ หรือ ไม่เกินสัปดาห์แรกของเดือน กุมภาพันธ์ ซึ่งจะดำเนินการใน 2 เดือน คือ กุมภาพันธ์ และมีนาคม เพราะ รัฐบาลเชื่อว่า จะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดรอบใหม่นี้ได้ ภายในเดือน มีนาคม 2564 

โดยวงเงินโครงการ "เราชนะ" ยังไม่มีการระบุวงเงิน เนื่องจากอยู่ระหว่างพิจารณา ซึ่งคาดว่า กลุ่มที่ได้รับสิทธิในโครงการนี้ อย่างที่บอก 3 กลุ่ม คือ แรงงานนอกระบบประกันสังคม ,อาชีพอิสระ และภาคการเกษตรแล้ว กลุ่มที่น่าจะได้อีกคือ ผู้ถือบัตรสวัสดิการณ์แห่งรัฐ ซึ่งทั้งหมด ได้รับเงินในโครงการ เราไม่ทิ้งกัน 5,000 บาท 3 เดือน เมื่อปีที่ผ่านมา แต่ปีนี้ อาจมีบางคนที่ไม่ได้ ยังคงต้องรอดูเงื่อนไขต่อไป 

ส่วนวงเงินที่ได้ จะมาจาก พ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ในส่วนของเงินเยียวยา 6 แสนล้านบาท ไม่ต้องกู้เพิ่ม และขอให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันเพื่อคุมสถานการโควิดให้ได้ เพื่อไม่ต้องใช้งบประมาณเพิ่มเติม 


สำหรับ แรงงานที่อยู่ในระบบประกันสังคมได้รับการช่วยเหลือเพิ่มขึ้นจากสิทธิเดิม อย่าง 

- กรณีว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง ชดเชย 70% ไม่เกิน 200 วัน (จากเดิม 50% ไม่เกิน 180 วัน)

- กรณีลาออกจากงาน ชดเชย 45% ไม่เกิน 90 วัน (จากเดิม 30% ไม่เกิน 90 วัน)

- กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย (เลิกจ้างจากรัฐสั่งปิด) ชดเชย 50% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 90 วัน 

-  ผู้ประกันตน ตรวจโควิด-19 ได้ฟรี 

จะเห็นว่า สิทธิที่เพิ่มมา จะทำให้มนุษย์เงินเดือนที่อาจตกงานในช่วงเศรษฐกิจมีปัญหาจากโควิด-19 อย่างนี้ พอที่จะมีสภาพคล่องพอในประคับประคองชีวิตของตนเองต่อไปในสถานการณ์ที่ยากลำบากอย่างนี้ได้ 


 “คลัง” เผย “สภาพคล่อง”

มาที่ มาตรการทางการเงิน อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยืนยันว่า รัฐบาลมีสภาพคล่องเพียงพอในการดำเนินการ ช่วยเหลือ และให้สินเชื่อโดยสถาบันการเงินรัฐมีสภาพคล่องอยู่ 2.68 แสนล้านบาท และเมื่อรวมกับมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือ ซอฟท์โลน ของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ยังเหลือ 3.7 แสนล้านบาท รวมสภาพคล่อง 6.38 แสนล้านบาท เพียงพอที่จะดูแลทั้งประชาชนทั่วไป ธุรกิจขนาดย่อม และ SMEs ต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบ 

ไปดู 7 ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ ก่อนหน้านี้ รายการเศรษฐกิจ Insight รายงานไปแล้วว่า ทั้งหมดได้รับนโยบายจากกระทรวงการคลัง ให้ต่ออายุมาตรการทางการเงินต่างๆ ออกไปจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2564 ลองไปดูมาตรการที่ใช้ และต่ออายุมา  

 แบงก์รัฐเดินหน้า 4 มาตรการ

หลักๆ แบงก์รัฐเดินหน้า 4 มาตรการ ข้อแรก การพักชำระหนี้ ทั้งเงินต้นอย่างเดียว และเงินต้นหรือ ดอกเบี้ย , 2. ลดดอกเบี้ย , 3. ยืดระยะเวลาชำระหนี้ และสุดท้าย 4. ปรับโครงสร้างหนี้ ลักษณะนี้ กระทรวงการคลัง ให้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ 7 แห่ง ดูแลลูกหนี้ของตนเองอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในพื้นที่ 5 จังหวัดที่เป็นพื้นที่การแพร่ระบาดสูงสุด เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น 

ด้าน ธนาคารแห่งประเทศไทย ออกหนังสือเวียน ไปยังสถาบันการเงิน ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ และนอนแบงก์ ให้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รอบใหม่  แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประชาชนทั่วไป ลูกหนี้รายย่อย ให้สถาบันการเงิน ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ และนอนแบงก์ ช่วยลูกค้ารายย่อยของตนเองอย่างใกล้ชิด 

อีกรูปแบบหนึ่ง คือ ให้นายจ้าง และผู้ประกอบการ ยื่นขอสินเชื่อแทนลูกจ้างที่เป็นรายย่อย ซึ่งจะได้รับเงินสินเชื่อเร็วกว่าการขอสินเชื่อเป็นรายบุคคล ลักษณะจะคล้ายสินเชื่อสวัสดิการณ์ของบริษัท และโรงงานต่างๆ กลุ่มลูกค้ารายย่อยขยายเวลาขอรับความช่วยเหลือได้ไปจนถึง 30 มิ.ย.นี้ 


 “แบงก์ชาติ” ออกมาตรการช่วยลูกหนี้รายย่อยขั้นต่ำ 

มาตรการขั้นต่ำของธนาคารแห่งประเทศไทย คืออะไร ถ้าหากยังจำกันได้ คือมาตรการคล้ายกับการช่วยเหลือผลกระทบโควิด-19 ในรอบแรก และหมดมาตรการไปในช่วง 22 ต.ค.63 รอบนี้มาตรการจะใกล้เคียงกัน 

เริ่มที่ ลูกหนี้บัตรเครดิต ธนาคารแห่งประเทศไทย ขอให้ผู้ให้บริการทางการเงิน ปรับเป็นสินเชื่อระยะยาว 48 งวด หรือขยายระยะเวลาชำระหนี้ โดยดอกเบี้ยไม่เกิน 12% , 

สินเชื่อส่วนบุคคล เช้นกัน ปรับเป็นสินเชื่อระยะยาว 48 งวด หรือขยายระยะเวลาชำระหนี้ 

ขณะที่ ดอกเบี้ยไม่เกิน 22% 

สินเชื่อบุคคล(เป็นงวด) และสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ลดค่างวด 30%  เป็นการลดภาระหนี้ต่อเดือนให้รายย่อย คิดดอกเบี้ยไม่เกิน 22%  , สินเชื่อเช่าซื้อ ให้เลื่อนชำระค่างวด 3 เดือน ทั้งเงินต้น และดอกเบี้ย รวมถึงให้ขยายเวลาชำระหนี้ และสุดท้าย สินเชื่อบ้าน ให้เลื่อนชำระค่างวด 3 เดือน ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย 


7 แบงก์ชาติ ออกแนวทางช่วยเหลือลูกหนี้ “ทุกประเภท” โควิด-19 ระลอกใหม่ 
และกลุ่มลูกหนี้ทั่วไป ซึ่งรวมทั้งรายย่อย ,SMEs และธุรกิจขนาดใหญ่ ผู้ให้บริการทางการเงินเร่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มนี้ จำแนกตามลักษณะธุรกิจและพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งมีแนวทางต่าง ๆ 

1 ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เช่น ลดค่างวด ขยายระยะเวลาชำระหนี้ ต่ออายุวงเงินหรือคงวงเงิน เปลี่ยนประเภทหนี้จากสินเชื่อระยะสั้นเป็นสินเชื่อระยะยาว ปลอดชำระเงินต้นและ/หรือดอกเบี้ยชั่วคราว ลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำกว่าอัตราตลาด เป็นต้น
2 ให้เงินทุนหมุนเวียนและเสริมสภาพคล่องเพิ่มเติม 
3 พิจารณาชะลอการชำระหนี้สำหรับลูกหนี้ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท ภายใต้ พ.ร.ก. soft loan 
4 ผ่อนปรนเงื่อนไขอื่นตามความเหมาะสม


ส่วนมาตรการซอฟท์โลน กระทรวงการคลัง ยืนยันว่า กำลังหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย ใกล้ชิด เพื่อลดเงื่อนไขให้ SMEs เข้าถึงได้ง่ายขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเติมสภาพคล่อง 
ยังต้องลุ้นว่า เงื่อนไขโครงการ "เราชนะ" แจกเงิน 3,500 บาท 2 เดือน จะมีเงื่อนไขออกมาอย่างไร และสุดท้ายแต่ละกลุ่มที่มีลุ้นได้รับเงิน ใครจะถูกตัดเงื่อนไขจากตรงไหน 

และมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นมาตรการขั้นต่ำ ยังต้องรอแนวทางของแต่ละผู้ให้บริการทางการเงิน ว่าจะดำเนินการมากกว่ามาตรการขั้นต่ำหรือไม่ ซึ่งน่าจะมีการทยอยแถลงออกมา จากแต่ละแบงก์ และนอนแบงก์ สำหรับรายละเอียดของมาตรการต่างๆ
ที่สำคัญ ต้องย้ำอีกครั้ง ตามกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ขอรับความช่วยเหลือทางการเงินรอบนี้ ขอให้เน้นไปที่การขอแบบออนไลน์ ทั้งจากโมบายแบงกิ้ง และเว็บไซต์ 

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก รายการ "เศรษฐกิจ Insight" วันพุธที่ 13 มกราคม 2564


เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE



ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง