รีเซต

TPIPL ธุรกิจปูน-ขึ้นค่าFtหนุน ล็อกเป้าลดต้นทุนดันอีบิทดา

TPIPL ธุรกิจปูน-ขึ้นค่าFtหนุน ล็อกเป้าลดต้นทุนดันอีบิทดา
ทันหุ้น
6 ธันวาคม 2566 ( 11:30 )
52
TPIPL ธุรกิจปูน-ขึ้นค่าFtหนุน ล็อกเป้าลดต้นทุนดันอีบิทดา

#TPIPL #ทันหุ้น – TPIPL คาดปี 2567 ธุรกิจปูนซีเมนต์เติบโต ต้นทุนพลังงานลด ดัน EBITDA พร้อมโรงฟ้าได้รับประโยชน์ขึ้นค่า Ft พร้อมนำ RDF ใช้เป็นเชื้อเพลิง เล็งแผนปีหน้าใช้เงินลงทุน 4-5 พันล้านบาท บริหารลดต้นทุนโครงการปูนซีเมนต์เป็นหลัก เผยธุรกิจวัสดุก่อสร้าง เป็นธุรกิจสร้างแวลูเพิ่ม

 

นายประเสริฐ อิทธิเมฆินทร์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) TPIPL เปิดเผยว่า การดำเนินปี 2567 โดยธุรกิจปูนซีเมนต์คาดว่าจะดีขึ้น จากต้นทุนพลังงานลดลงทำให้มี EBITDA ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ธุรกิจปิโตรเคมี มองส่วนต่าง (สเปรด) ราว 500-600 ดอลลาร์สหรัฐ  และปริมาณขายก็น่าจะดีขึ้น โดยบริษัทมุ่งผลิตภัณฑ์ประเภทเอทิลีนไวนิลแอซีเตด (EVA) ซึ่งมีกำไรขั้นต้นที่ดี (Margin)

 

อีกทั้งปีหน้าจะไม่มีปิดซ่อมบำรุงเหมือนปีนี้ ขณะที่ธุรกิจโรงไฟฟ้า ค่าไฟฟ้าแปรผัน (Ft) ที่เพิ่มขึ้นทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้น รวมไปถึงยังมีการใช้ เชื้อเพลิงขยะ (RDF) มาแทนถ่านหินมากขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าลดลง

 

*ต้นทุนพลังงานลดลง

 

สำหรับไตรมาส 3/2566 บริษัทมียอดจำหน่ายปูซีเมนต์รวม 2.75 ล้านตัน  แบ่งเป็นการจำหน่ายในประเทศ 2.34 ล้านตัน และส่งออก 4 แสนตัน ซึ่งนับเป็นระดับที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาส 2/2566  ขณะที่ 9 เดือน ปี 2566 ปริมาณขายปูนซีเมนต์ทำได้ 8.9 ล้านตัน แบ่งเป็นการจำหน่ายในตลาดในประเทศ 7 ล้านตัน  และเป็นการส่งออกกว่า 1 ล้านตัน

 

ขณะที่ไตรมาส 4/2566 ราคาพลังงานมีการปรับตัวลดลงอย่างราคาถ่านหินที่ลดลงทำให้ ผู้ประกอบการได้มีการปรับลดราคาขายปูนซีเมนต์ลงบ้าง แต่ราคาถ่านหินที่ลดลงมากกว่าทำให้ยังสามารถทำ EBITDA ดีขึ้น ในธุรกิจปูนซีเมนต์จากต้นทุนที่ต่ำลง

 

ณ ปัจจุบันบริษัทมีสต๊อกถ่านหิน ราว 6 แสนตัน โดยมีต้นทุน 2,800-2,900 บาทต่อตัน โดยราคาลดลงอย่างต่อเนื่องจากช่วงที่ผ่านมา ส่วนการผลิตปูนซีเมนต์ปกติจะใช้ถ่านหินราว 1.7-1.8 ล้านตัน แต่ขณะนี้มีการนำเชื้อเพลิงขยะ (RDF) เข้ามาทดแทนเดือนละ 1.2 แสนตัน หรือราวปีละ 1.4 ล้านตัน โดยตอนนี้ใช้ RDF ใช้เฉลี่ยราว 15% มีเป้าหมายที่ขึ้นเป็น 20% ซึ่งเป็นการช่วยลดต้นทุน

 

*ลงทุนรถอีวีลดต้นทุน

 

สำหรับธุรกิจวัสดุก่อสร้าง อย่างเช่น อิฐมวลเบา ซึ่งจะเป็นธุรกิจ Value Added  ที่ใช้ปูนซีเมนต์เป็นวัตถุดิบในการผลิต ปัจจุบันธุรกิจดังกล่าวดีขึ้นตามลำดับ  สำหรับงบลงทุนปี 2567 ทั้งกลุ่มบริษัทที่ประมาณ 4,000-5,000 ล้านบาท เพื่อใช้สำหรับโครงการลดต้นทุนกลุ่มปูนซีเมนต์เป็นหลัก โดยปัจุบันเหลือลงทุนอีกราว 1,000 ล้านบาท

 

อีกทั้งช่วงที่ผ่านมาบริษัทได้ลงทุนซื้อรถบรรทุกหินปูนที่ใช้พลังงานไฟฟ้า(EV Minning Truck) ขนาด 60 ตัน จำนวน 41 คัน และรถตักล้อยางที่ใช้พลังงานไฟฟ้า จำนวน 4 คัน แทนรถบรรทุกและรถตักล้อยางที่ใช้เครื่องยนต์สันดาป และดัดแปลง เครื่องยนต์สันดาปมาเป็นเครื่องพลังงานไฟฟ้า อีกจำนวน 8 คัน ซึ่งการลดงทุนดังกล่าวช่วงลดต้นทุนขนส่ง พร้อมกับการลดการปล่อยกีาซเรือนกระจกและลดการเกิดฝุ่น PM 2.5

 

สำหรับคดีความที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม โดยพนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องบริษัทตาม พ.ร.บ. แร่ และพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 นั้นปัจจุบันบริษัทใช้สิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาทุกคดี

 

“ขณะนี้คดีความทำเหมือง โดยคดีนี้ ศาลชั้นต้นสั่งให้ชำระค่าปรับหรือถมที่กลับเท่าเดิม แต่เนื่องจากบริษัทเห็นว่าเราไม่ได้กระทำผิดตามฟ้อง เลยใช้สิทธิฎีกา ดังนั้นจึงต้องรอรอศาลพิจารณาที่จะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทต่อไป”  นายประเสริฐ กล่าว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง