วันเทคโนโลยีไทย ทำไม? ต้องเป็นวันที่ 19 ตุลาคม
วันเทคโนโลยีไทย ทำไมต้องเป็นวันที่ 19 ตุลาคม!!! เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาบัญชาการปฏิบัติการทำฝนสาธิตตกลงเป้าหมายด้วยพระองค์เอง ในวันที่ 19 ตุชาคม พ.ศ. 2515 ณ เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และการสาธิตฝนครั้งนั้น ถือเป็นต้นกำเนินเทคโรโนลยีฝนหลวงที่พัฒนาเป็นการทำฝนมาถึงปัจจุบัน
ประวัติ วันเทคโนโลยีไทย
ทั้งนี้ วันที่ 19 ตุลาคมของทุกปี ยังจัดขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ในฐานะทรงเป็น "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย" และยังเป็นการร่วมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด ทรงศึกษาค้นคว้าวิจัย และทรงนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ตลอดจนเป็นการแสดงเทคโนโลยี ที่คิดค้นประดิษฐ์และพัฒนาโดยคนไทย เพื่อเป็นการกระตุ้นให้สาธารณชนเกิดความเชื่อมั่นและเข้าร่วมพัฒนาเทคโนโลยีของไทย
ฝนหลวง เทคโนโลยีบรรเทาความเดือดร้อน
สำหรับ โครงการฝนหลวง ยังเป็นโครงการที่ดำเนินการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนในเรื่องการขาดแคลนน้ำในการเกษตร เพื่อช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง โดยมีกรมฝนหลวงและการบินเกษตรสานต่องานศาสตร์พระราขา ปฏิบัติการฝนหลวงและพัฒนางานวิจัยมาตลอด
โดยประวติได้ระบุว่า เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนพสกนิกร เมื่อปี พ.ศ. 2498 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อนทุกข์ยากของราษฎรและเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตร จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานโครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง"(Artificial rain) ให้กับ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ไปดำเนินการ ซึ่งต่อมาได้เกิดเป็นโครงการค้นคว้าทดลองปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงขึ้น ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2512 ด้วยความสำเร็จของ โครงการ จึงได้ตราพระราชกฤษฎีการก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงขึ้นในปี พ.ศ. 2518 ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นหน่วยงานรองรับโครงการพระราชดำริฝนหลวงต่อไป
ข้อมูล : วิกิพีเดีย, ศูนย์ฝนหลวงหัวหิน