รีเซต

สรุป! M-FLOW ทำไม? ไม่ Flow สมชื่อ

สรุป! M-FLOW ทำไม? ไม่ Flow สมชื่อ
TeaC
24 กุมภาพันธ์ 2565 ( 12:56 )
391

ข่าววันนี้ วิ่งก่อน จ่ายทีหลัง สโลแกนของระบบ M-Flow หรือมอเตอร์เวย์ไร้ไม้กั้น จากกรมทางหลวงตั้งใจ หวังพัฒนาระบบ เพื่อลดรถติดหน้าด่านเก็บเงิน ในด่านนำร่อง บนถนนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หมายเลข 9 ด่านธัญบุรี 1 ด่านธัญบุรี 2 ด่านทับช้าง 1 และด่านทับช้าง 2 แต่ระบบ M-Flow กลับไม่ Flow อย่างที่คิด!!! และดูท่าจะเกิดกระแสสังคมตีกลับอย่างหนักหน่วง เกิดคำถามมากมายหากมองหลากหลายมิติ ทั้ง "คนมีรถพร้อมปรับตัวใช้ระบบหรือยัง?" หรือ "ระบบพร้อมให้บริการจริงหรือยัง?"

 

หลังจากเพิ่งเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา นับนิ้วจนถึงวันนี้ 10 วันพอดี แต่เสียงที่สะท้อนออกมาไปทางแนวบ่นกันระงมไปทั่วทุกหย่อมยากของผู้ใช้ถนน ใช้งาน ระบบ M-Flow ที่ไม่ Flow อย่างที่คิด ทั้งกรณีหลายคนโดนปรับเงินเกินจริงกันหลายเท่า เพียงเพราะไม่ได้ลงทะเบียน หรือบางกรณีจ่ายค่าปรับช้ามากกว่า 2 วัน ทำให้โดนปรับเพิ่ม หรือบางกรณ๊เจอระบบธนาคารขัดข้อง สถานะการจ่ายเงินยังคงค้างอยู่ที่เดิม ทั้งที่จ่ายเงินไปแล้ว ที่กล่าวข้างต้นคือ "ปัญหาที่ผู้ใช้ M-Flow เจอ"

 

คำถามต่อมา ได้แต่คิดแล้วก็สงสัย ความไม่ Flow ของ M-Flow เกิดจากอะไร?

สรุป! ความไม่ Flow ของ M-Flow 

วิ่งก่อน จ่ายทีหลัง!!! เทรนด์การตลาดยุคนี้ที่ กรมทางหลวง กระตุ้นให้ผู้ใช้ถนนได้ร่วมใช้ ระบบเก็บค่าผ่านทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือ มอเตอร์เวย์ โดยจุดประสงค์ของ M-Flow

 

  • เพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้ทางด้วยการเพิ่มช่องเก็บค่าผ่านทางเป็นแบบ AI ภายใต้ชื่อ ระบบ M-Flow
  • ไม่มีไม้กั้น (Multi – Lane Free Flow) 
  • จัดเก็บค่าผ่านทางในภายหลังโดยหักผ่านบัตรเครดิต-บัตรเดบิต หรือ บัญชีธนาคาร
  • สามารถเลือกได้ว่าจะจ่ายเป็นรายครั้ง หรือเป็นรายเดือน

 

เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัดหน้าด่านเก็บค่าผ่านทาง และลดการสัมผัสเงิน ในสังคมไร้เงินสด ซึ่งดู ๆ แล้วก็น่าจะเป็นระบบที่สะดวกสบายสำหรับผู้ใช้ถนนดี

 

ทำไม? M-Flow ไม่ Flow อย่างที่คิด

หลังจากที่เปิดตัวให้ผู้ใช้ถนนได้ใช้อย่างเป็นทางการ หลากหลายเสียงที่เกิดขึ้นดูจะโน้มเอียงไปทางวิพากษ์วิจารณ์ถึงระบบ M-Flow ที่ไม่ Flow หลังจากเริ่มใช้งาน อาทิ กรณีดาราชื่อดังอย่าง "หลุยส์ สก๊อตต์" ที่ออกมาโพสต์ถึงระบบทางด่วนดังกล่าว "โดนค่าปรับไป 780 บาท เห็นแล้วจะเป็นลม แต่ก็ต้องยอมจ่ายเพราะกลัวโดนคดีอาญา"

 

หรือล่าสุดพระเอกหนุ่ม "ก๊อต จิรายุ ตันตระกูล" ก็ได้ออกมาแชร์ประสบการณ์ตรงถึงการใช้บริการ M-Flow ด้วยเช่นกัน และโดนค่าปรับ 10 เท่า จากความไม่รู้ไม่เข้าใจของตัวเอง โดยโพสต์ภาพข้อความบอกว่า จาก 60 บาท กลายเป็น 600 บาท M-FLOW ที่ไม่ FLOW ข้าพเจ้าต้องจ่ายเพิ่มเป็น 10 เท่า จากความไม่รู้ไม่เข้าใจ ยอมรับว่าไม่รู้เรื่องนี้มาก่อน

 

และยังมีกรณีของผู้ใช้ M-FLOW ที่เจอปัญหาจากการใช้งานด้านต่าง ๆ เกิดเสียงวิพากษ์จารณ์อย่างมากมาย ทั้งคอมเมนต์ถึงการใช้งานผ่านเพจเฟซบุ๊ก M-Flow จำนวนมาก เกิดการแชร์ของแต่ละโพสต์กว่า 200 ครั้ง ยกตัวอย่าง  

 

  • M-Flow ทำเพื่ออะไร ปรับโหดเกินไปไหม

  • รอบเย็นวันนี้ผ่านด่านธัญบุรี1 รถหายไปไหนกันหมด m-flow วิ่งฉิว ไม่ m-flow ติดหน้าด่านแต่ไม่ยาวมาก เพราะจัดระเบียบกันใหม่หรือคนกลัวติดเลี่ยงไปทางอื่นกันแล้ว?

  • จ่ายไป 2 รอบระบบยังเอ๋อแดก เข้าไปเช็คอีกทียังขึ้นค้างชำระ โทรไปก็ไม่ติด

  • ประชาสัมพันธ์วงแคบ คนไม่รู้เรื่องตั้งเยอะ ไอเราความเคยชิน Easy Pass เกมไปดิ

  • วิ่งผ่านเมื่อเช้า แต่ในะระบบยังไม่ขึ้นค่าชำระ ผ่านไปครึ่งวันยังไม่มียอดที่ต้องชำระ ฝากผู้เกี่ยวข้อง เมื่อรถวิ่งผ่านอยากให้ขึ้นยอดชำระในระบบเลย อย่าให้ต้องมานั่งเสียค่าปรับย้อนหลังเพราะสาเหตุระบบมันแย่นะคะ

  • ได้ทำการสำรวจสถานะแต่พบว่ารายการไม่พบค่าค้างชำระ แต่วันนี้โดนปรับจำนวนเงิน 660 บาท แบบนี้ต้องทำยังไงครับเพราะว่าไม่ได้เพิกเฉย ในการชำระเงิน พอมาตรวจวันนี้พบว่าโดนปรับแบบนี้ต้องทำยังไงครับ ไม่ได้มีเจตนารในการหลบหนีการจ่ายเงิน การจ่ายเงิน 660 เสียค่าปรับ 600 บาทผมว่ามันโหดไปครับ สำหรับสถานการณ์ช่วงนี้รบกวนผู้ใหญ่โปรดพิจารณาอีกครั้งด้วยนะครับมันโหดเกินไป

  • ฯลฯ

 

ระบบ M-Flow ไม่ Flow?

จากเสียงวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าว สะท้อนให้ต้องฉุกคิดว่า ระบบ M-Flow ที่พัฒนาโดยมีจุดประสงค์เพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้ทางด้วยการเพิ่มช่องเก็บค่าผ่านทางเป็นแบบ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ นวัตกรรมติดเทรนด์ที่ทั่วโลกต่างพัฒนาและหลายประเทศเริ่มนำมาใช้ทดแทนคน เช่น หุ่นยนต์นักข่าว สุทธิชัยหยุ่น หรือหุ่นยนต์ส่งของ หุ่นยนต์เฝ้าบ้าน ซึ่งทุกคนอาจรับรู้ถึงประโยชน์ของนวตกรรมดังกล่าวมาบ้างแล้ว แต่การนำเทคโนโลยีมาใช้บางธุรกิจก็อาจส่งปัญหาได้เช่นเดียวกัน

 

โดย M-Flow เป็นทางเลือกใหม่ของการชำระค่าผ่านทางพิเศษที่สะดวกรวดเร็วไม่ต้องหยุดหรือชะลอรถ โดยใช้เทคโนโลยี Video Tolling ซึ่งเป็นระบบกล้องตรวจจับป้ายทะเบียนอัตโนมัติ (Automated License Plate Recognition) ด้วยเทคโนโลยี AI ร่วมกับระบบการตรวจจับยานพาหนะอัตโนมัติ (AVI) เพื่อใช้ตรวจสอบยานพาหนะและระบุตัวตนผู้ใช้ทาง ทำให้สามารถระบายรถได้เร็วกว่าระบบเดิม รองรับการใช้งานของรถทุกประเภทและมีระบบแจ้งเตือนการใช้งานสำหรับช่องทางการชำระเงิน ผู้ใช้บริการสามารถชำระเงินค่าผ่านทางได้หลากหลายช่องทางอย่างสะดวกสบาย

 

แต่เมื่อระบบไม่ Flow อย่างที่คิด ก็เปลี่ยนเป็นปัญหาสารพัดเกิดขึ้นซ้ำซากอยู่ดี

 

หน่วยงาน ไม่ Flow?

ด้วยความที่เป็นระบบใหม่ การนำเทคโนโลยีมาใช้ทดแทนคน ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ต้องศึกษาอย่างมาก และเสียงวิพากษ์วิจาร์ที่เกิดขึ้น ในส่วนของการประชาสัมพันธ์ การสื่อสารถึงบริการ ข้อมูลต่าง ๆ เข้าถึงผู้ใช้งานระบบไม่ทั่วถึง ไม่เคลียร์ ไม่ชัดเจน เมื่อเกิดปัญหา หากหน่วยานแก้ไขไม่ตรงจุด  ตอบไม่ชัด ไม่มีระบบการทำงานที่ Flow อาจยิ่งทำให้เกิดปัญหาสะสมมากขึ้นไปอีก แทนที่เปิดให้บริการจะแก้ปัญหารถติดได้สำเร็จ กลับเพิ่มปัญหามากกว่าแค่เรื่องรถติด

 

คำถามเลยวนมาให้ตั้งฉุกคิดอีกครั้ง ระบบพร้อมที่จะให้บริการหรือยัง?

 

ผู้ใช้ถนนไม่ Flow?

ในแง่การรับรู้ถึงข้อมูลข่าวสาร การทำความเข้าใจในการใช้บริการ M-FLOW ที่ผู้ใช้รถ ใช้ถนนต้องศึกษาตั้งแต่

  • M-Flow คืออะไร?
  • วิธีสมัครใช้งาน
  • เงื่อนไขต่าง ๆ
  • ค่าปรับหากทำผิดกฏการใช้งาน

ซึ่งต้องยอมรับว่า อาจเป็นไปได้ที่ผู้ใช้งาน ใช้ถนน ยังเข้าถึงข้อมูลได้น้อย หรือได้รับการสื่อสารที่ไม่ครบถ้วนอย่างถูกต้อง 

 

อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างจะ Flow ได้ ต้องมีความพร้อมทุกด้านที่ทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกัน ทั้งมาตราการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ไม่ใช่เป็นภาระของคนใดคนหนึ่ง ผู้ใช้งานที่ต้องพร้อมศึกษาการใช้บริการ และสิ่งสำคัญเมื่อมีปัญหาก็ต้องพร้อมที่จะแก้ไขให้ถูกต้อง

 

ทุกอย่างจะได้ Flow สมชื่อ 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง