รีเซต

พากย์เสียง 'ละคร-หนังไทย' หนุนนศ.จีน เรียนรู้ภาษาวัฒนธรรม

พากย์เสียง 'ละคร-หนังไทย' หนุนนศ.จีน เรียนรู้ภาษาวัฒนธรรม
Xinhua
6 กันยายน 2565 ( 19:00 )
117

กว่างโจว, 6 ก.ย. (ซินหัว) -- หากลองค้นหาคำว่า "ประเทศไทย" บนแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตจีน แน่นอนว่าจะพบกับอาหารสารพัดเมนูน่ารับประทาน ทิวทัศน์ทะเลสวยหาดทรายงาม และวัฒนธรรมศาสนาพุทธอันเก่าแก่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความประทับใจของชาวจีนที่มีต่อประเทศไทย

 

ทว่าสำหรับ "เหลียงเมิ่งฮุ่ย" นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยภาษาและการค้าระหว่างประเทศกว่างตง มองว่าละครและภาพยนตร์ไทยกลายเป็นสะพานแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่ช่วยให้หนุ่มสาวชาวจีนรุ่นใหม่เข้าใจประเทศไทยยิ่งขึ้นเหลียงเริ่มสนใจประเทศไทยตอนชมภาพยนตร์เรื่อง "สิ่งเล็กเล็กที่เรียกว่ารัก" ขณะเรียนมัธยมปลาย ซึ่งวัฒนธรรมในรั้วโรงเรียนและเรื่องราวของวัยรุ่นไทยที่นำเสนอในภาพยนตร์นั้นไม่เพียงแต่ดึงดูดเหลียงเท่านั้น แต่ยังกลายเป็นที่พูดถึงอย่างกว้างขวางในหมู่ชาวเน็ตจีนเหลียงจึงตัดสินใจสมัครเข้าเรียนสาขาวิชาภาษาไทยด้วยความชื่นชอบละครและภาพยนตร์ไทย โดยเธอเผยว่าแต่ก่อนเคยดูละครไทยแบบมีคำแปล รู้สึกว่าภาษาไทยเสียงดังและฟังดูเยอะไปหน่อย แต่หลังจากได้สัมผัสกับภาษาไทยจริงๆ ก็พบว่าภาษาไทยให้ความสำคัญกับจังหวะและการออกเสียงมาก และคนทั่วไปก็พูดจานุ่มนวลสุวศิน เกษมปิติ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย เผยว่าแม้นักศึกษาส่วนใหญ่สามารถออกเสียงและใช้น้ำเสียงได้ดี แต่บทสนทนาในหนังสือกับชีวิตจริงแตกต่างกันมาก ดังนั้นหนึ่งในวิธีเรียนภาษาไทยที่ดีที่สุดคือการพากย์ละครไทย เพราะการลองพากย์เสียงละครควบคู่กับแก้ไขข้อผิดพลาดของการออกเสียงช่วยให้สามารถจับจังหวะและอารมณ์ของภาษาได้ดียิ่งขึ้นนอกจากการเรียนการสอนในห้องเรียนแล้ว มหาวิทยาลัยฯ ยังจัดการแข่งขันพากย์ละครและภาพยนตร์ไทยเป็นประจำทุกปี เพื่อให้นักศึกษาได้แสดงทักษะการเรียนรู้ของตนในทางปฏิบัติ โดยนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ ยังเคยคว้ารางวัลชนะเลิศจากการประกวด "การอ่านภาษาไทยสำหรับผู้เรียนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา" ที่จัดโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี 2020ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตกลายเป็นช่องทางใหม่ในการรับชมละครและภาพยนตร์ไทย ส่งผลให้บรรดา "ไท่หมี่" หรือแฟนคลับละครไทยในจีนค่อยๆ ขยายตัวเป็นวงกว้าง รวมถึงมีการตั้งกลุ่มนักแปลและนักพากย์ ซึ่งช่วยส่งเสริมละครไทยแพร่หลายบนอินเทอร์เน็ตจีนอย่างมีประสิทธิภาพอวี๋หาน บัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทยจากมหาวิทยาลัยฯ หนึ่งในสมาชิกทีมนักแปลละครไทย เผยว่าเธอเน้นแปลละครไทยเฉพาะกลุ่มเป็นส่วนใหญ่ เพื่อส่งเสริมความแพร่หลายของละครไทยเฉพาะกลุ่มในตลาดจีน โดยเธอได้ร่วมแปลละครไทยมามากกว่า 10 เรื่องแล้ว"หลายคนอาจชอบละครไทยแนววัยรุ่นในรั้วสถานศึกษา ส่วนละครไทยที่มีจังหวะการเล่าเรื่องเนิบๆ และสอดแทรกวัฒนธรรมที่ลึกซึ้งนั้นไม่ค่อยเป็นที่นิยมนัก" อวี๋กล่าว พร้อมแสดงความคิดเห็นว่าละครไทยมีความสำคัญต่อการเผยแพร่วัฒนธรรมไทย ดังนั้นการมีส่วนร่วมในการแปลละครไทยเฉพาะกลุ่มจะช่วยให้ผู้ชมได้รับชมละครไทยน้ำดีและเข้าใจวัฒนธรรมไทยมากขึ้น [caption id="attachment_306152" align="aligncenter" width="800"] (แฟ้มภาพซินหัว : นักศึกษามหาวิทยาลัยภาษาและการค้าระหว่างประเทศกว่างตง ร่วมแข่งขันพากย์ละครไทย)[/caption][caption id="attachment_306150" align="aligncenter" width="800"] (แฟ้มภาพซินหัว : นักศึกษามหาวิทยาลัยภาษาและการค้าระหว่างประเทศกว่างตง พากย์ละครไทยในห้องเรียน)[/caption][caption id="attachment_306149" align="aligncenter" width="800"] (แฟ้มภาพซินหัว : นักศึกษามหาวิทยาลัยภาษาและการค้าระหว่างประเทศกว่างตง แสดงละครไทยเรื่องบุพเพสันนิวาส)[/caption][caption id="attachment_306171" align="aligncenter" width="800"] (แฟ้มภาพซินหัว : นักศึกษามหาวิทยาลัยภาษาและการค้าระหว่างประเทศกว่างตง แสดงละครไทยเรื่องบุพเพสันนิวาส)[/caption][playlist type="video" ids="306148"]

ข่าวที่เกี่ยวข้อง