รีเซต

ยาน 'ฮายาบูสะ2' ของญี่ปุ่น เก็บตัวอย่างก๊าซจากอวกาศสำเร็จครั้งแรก

ยาน 'ฮายาบูสะ2' ของญี่ปุ่น เก็บตัวอย่างก๊าซจากอวกาศสำเร็จครั้งแรก
Xinhua
16 ธันวาคม 2563 ( 11:46 )
63
ยาน 'ฮายาบูสะ2' ของญี่ปุ่น เก็บตัวอย่างก๊าซจากอวกาศสำเร็จครั้งแรก

โตเกียว, 16 ธ.ค. (ซินหัว) -- เมื่อวันอังคาร (15 ธ.ค.) องค์กรสำรวจอวกาศแห่งญี่ปุ่น (JAXA) รายงานว่าภารกิจสำรวจอวกาศ "ฮายาบูสะ2" (Hayabusa2) ประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์แบบและบรรลุเป้าหมายนำตัวอย่างจากดาวเคราะห์น้อยที่อยู่ห่างไกล รวมถึงตัวอย่างก๊าซจากอวกาศ กลับมายังโลกเป็นครั้งแรก

 

คณะนักวิจัยจากองค์กรฯ แถลงว่ามีการตรวจพบอนุภาคทรายสีดำจำนวนหนึ่งภายในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลของแคปซูลที่ลงจอดบริเวณทะเลทรายของออสเตรเลียเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. โดยอนุภาคเหล่านี้กระจายเข้ามาอยู่ภายในอุปกรณ์ระหว่างที่ยานสำรวจทำการลงจอดบนดาวเคราะห์น้อย "ริวกุ" (Ryugu)หน่วยเก็บข้อมูลยังมีการกักเก็บก๊าซจากดาวเคราะห์น้อยและถือเป็นครั้งแรกที่มีการส่งตัวอย่างก๊าซจากอวกาศมายังโลก โดยซึดะ ยูอิจิ ผู้จัดการโครงการของแจ็กซา เรียกภารกิจนี้ว่าความฝันที่เป็นจริง "ตอนนี้เรามีอนุภาคดาวเคราะห์น้อยจากนอกชั้นบรรยากาศโลก ซึ่งเป็นสิ่งที่เราใฝ่ฝันมายาวนานแล้ว

 

(แฟ้มภาพซินหัว : ภาพที่ฮายาบูสะ 2 บันทึกได้ หลังเสร็จสิ้นการลงจอดและการเก็บตัวอย่างจากริวกุ)

 

ทั้งนี้ ยานสำรวจอวกาศฮายาบูสะ2 ซึ่งถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศในเดือนธันวาคม 2014 โคจรถึงดาวเคราะห์น้อยในเดือนมิถุนายน 2018 และประสบความสำเร็จในการลงจอดบนริวกุ ก่อนเก็บตัวอย่างหินจากดาวดังกล่าวเป็นครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ปีถัดมาการลงจอดครั้งแรกบนดาวเคราะห์น้อยริวกุถูกเลื่อนออกไประยะหนึ่ง หลังแจ็กซาทำการตรวจสอบพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อย ซึ่งในเวลานั้นอยู่ห่างจากโลกประมาณ 300 ล้านกิโลเมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 900 เมตร ว่ามีลักษณะขรุขระมากกว่าที่คาดการณ์ จึงต้องใช้เวลาตรวจสอบมากขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่ายานอวกาศจะลงจอดได้อย่างปลอดภัยอย่างไรก็ดี องค์กรฯ ได้ตรวจสอบจนพบพื้นผิวที่ราบเรียบบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตรของริวกุ ซึ่งปราศจากหินขนาดใหญ่กว่า 60 เซนติเมตร จึงนำยานสำรวจลงจอดบนพื้นที่ดังกล่าวที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 6 เมตร เล็กกว่าที่วางแผนไว้ในตอนแรกขณะปฏิบัติภารกิจ ก่อนที่จะฮายาบูสะ2 จะทำการลงจอดบนดาวเคราะห์น้อย ได้มีการปล่อยหุ่นยนต์สังเกตการณ์ขนาดเล็กหรือ "มาสคอต" (MASCOT) ผลงานจากการพัฒนาร่วมกันโดยหน่วยงานอวกาศของเยอรมนีและฝรั่งเศส ซึ่งประสบความสำเร็จในการลงจอดบนริวกุ

 

(แฟ้มภาพซินหัว : บรรยากาศในแจ็กซา กรุงโตเกียว เมืองหลวงของญี่ปุ่น วันที่ 22 ก.พ. 2019)[/caption]นอกจากนี้ฮายาบูสะ2 ยังปล่อยหุ่นยนต์สำรวจขนาดเล็ก (robotic rover) 2 ตัว ลงบนพื้นผิวดาวเคราะห์น้อย ซึ่งได้ทำหน้าที่ถ่ายภาพริวกุและงานอื่นๆ อย่างการวัดอุณหภูมิพื้นผิวแจ็กซาเผยว่าภาพของริวกุที่บันทึกโดยหุ่นยนต์ในช่วงแรกเผยให้เห็นลานหินตะปุ่มตะป่ำ ไร้ซึ่งพื้นผิวที่ราบเรียบสำหรับการลงจอดของยานหลักอนึ่ง ฮายาบูสะ2 มีน้ำหนัก 600 กิโลกรัม ถูกปล่อยจากศูนย์อวกาศทาเนกาชิมะ (Tanegashima) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่นเมื่อเดือนธันวาคม 2014 โดยไม่พบอุปสรรคใหญ่ตลอดการเดินทางรวม 3.2 พันล้านกิโลเมตร และประสบความสำเร็จในการกลับสู่พื้นโลก ทั้งยังพาแคปซูลที่อาจมีตัวอย่างดิน หิน และก๊าซจากริวกุกลับมาด้วย โดยตัวอย่างที่เก็บมาได้นั้นคาดว่ามีน้ำและสสารอื่นๆ เจือปนอยู่ ซึ่งอาจเกื้อหนุนต่อการดำรงชีวิต    

ข่าวที่เกี่ยวข้อง