รีเซต

จับตา! เขื่อนจีนแตก ลาวระบายน้ำ แม่น้ำโขงเพิ่มสูง ไทยเตรียมระวังน้ำท่วมฉับพลัน

จับตา! เขื่อนจีนแตก ลาวระบายน้ำ แม่น้ำโขงเพิ่มสูง ไทยเตรียมระวังน้ำท่วมฉับพลัน
Ingonn
27 กรกฎาคม 2564 ( 10:45 )
4.5K

 

เป็นอีกเรื่องที่ถาโถมเข้ามาช่วงวิกฤตโควิด-19 นั่นก็คือ สถานการณ์น้ำท่วม โดยทางกองอำนวยการน้ำแห่งชาติได้ออกมาแจ้งเตือนประชาชน 7 จังหวัดลุ่มแม่น้ำโขง เฝ้าระวังระดับน้ำล้นตลิ่งได้ และยังมีกระแสข่าวเขื่อนจีนแตกทำน้ำท่วมหนัก จนคนไทยหวั่นกระทบน้ำท่วมไปด้วย ซึ่งสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน พร้อมทั้งพายุเจิมปากาที่ถล่มหนักในภาคเหนือ ต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากสูง

 

วันนี้ TrueID ได้รวบรวมสถานการณ์น้ำจากกระแส จีนปล่อยน้ำจากเขื่อนและลาวระบายน้ำลงแม่น้ำโขงมาฝากทุกคนกัน

 

 


เขื่อนจีนแตกน้ำจะท่วมถึงไทยไหม


จากที่มีรายงานจากสื่อต่างประเทศว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนเกิดเหตุเขื่อน 2 แห่งแตกในเมืองฮูหลุนเป้ยเอ่อร์ ในเขตปกครองตนเองมองโกเลียทางตอนเหนือของสาธารณรัฐประชาชนจีนประกอบกับเกิดฝน 1,000 ปี ตกหนักอย่างต่อเนื่องในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในมณฑลเหอหนาน จนต้องมีประกาศเตือนเขื่อนอี้เหอถาน 

 

 

เขื่อนอีกแห่งในเมืองลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน อาจพังถล่มได้ตลอดเวลา ทำให้ประเทศทางตอนใต้ลงมา อย่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประเทศไทย ต้องมีการเตรียมการรับมือและเฝ้าระวังสถานการณ์การระบายมวลน้ำใหญ่จากพื้นที่ตอนบนอย่างใกล้ชิด ซึ่งในส่วนของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเองในขณะนี้ ก็มีประกาศให้เขื่อนน้ำอูทำการปล่อยระบายน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และอีกแห่งคือเขื่อนไซยะบุรี ก็ได้มีการเร่งระบายน้ำมากขึ้นเพื่อรองรับมวลน้ำใหญ่จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงจะเพิ่มขึ้นสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 1-2 สัปดาห์นี้ 

 

 

ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำโขงให้เฝ้าระวัง และเตรียมการอพยพทันทีหากเกิดความรุนแรง เนื่องจากปริมาณน้ำนั้นมีมวลขนาดใหญ่มากและอาจต้องใช้ระยะเวลาหลายวันกว่าการระบายน้ำจะเข้าสู่ภาวะปกติ ประกอบกับสถานการณ์พายุดีเปรสชัน “เจิมปากา” ที่กำลังปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน และอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทย ทําให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกหนักบางพื้นที่ทําให้ เกิดลมกระโชกแรง น้ำไหลหลาก และดินสไลด์  เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง  

 

 


ผลกระทบลาวระบายน้ำสู่แม่น้ำโขง


กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ออกประกาศแจ้งเตือนระดับน้ำในแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน  ฉบับที่ 4/2564 ความว่า เนื่องจากอิทธิพลพายุโซนร้อน “เจิมปากา” ซึ่งขณะนี้ได้อ่อนกำลังเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน และอ่าวตังเกี๋ย ที่ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง บริเวณสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และส่งผลให้เกิดน้ำหลากไหลลงแม่น้ำโขง ประกอบกับเขื่อนน้ำอู สปป.ลาว ระบายน้ำลงสู่แม่น้ำโขงประมาณ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการวิเคราะห์โดยกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) คาดว่าจะมีน้ำไหลผ่านเขื่อนไซยะบุรี สปป.ลาว อยู่ในเกณฑ์ 8,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน บริเวณ 7 จังหวัด ริมแม่น้ำโขงบริเวณท้ายเขื่อนไซยะบุรี

 

 

 

จังหวัดเสี่ยงระดับแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้น


1.จังหวัดเลย ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 2.00 เมตร ช่วงวันที่ 25 – 27 กรกฎาคม 2564 ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 2.38 เมตร  

 


2.จังหวัดหนองคาย ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 2.00 เมตร ช่วงวันที่ 25 – 28 กรกฎาคม 2564 ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 4.37 เมตร  

 


3.จังหวัดบึงกาฬ ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 2.10 เมตร ช่วงวันที่ 25 – 29 กรกฎาคม 2564 ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 6.80 เมตร  


4.จังหวัดนครพนม ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 2.10 เมตร ช่วงวันที่ 25 – 29 กรกฎาคม 2564 ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 4.41 เมตร 

 


5.จังหวัดมุกดาหาร ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 2.50 เมตร ช่วงวันที่ 25 – 31 กรกฎาคม 2564 ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 4.13 เมตร  

 


6.จังหวัดอำนาจเจริญ ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 2.50 เมตร ช่วงวันที่ 25 – 31 กรกฎาคม 2564ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 4.00 เมตร  

 


7.จังหวัดอุบลราชธานี ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 2.50 เมต ช่วงวันที่ 25 – 31 กรกฎาคม 2564 ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 5.36 เมตร

 

 


ความคืบหน้าสถานการณ์แม่น้ำโขง


คณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย(TNMCS) ประสานไปยังสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRCS) เพิ่มข้อมูลการคาดการณ์ปริมาณน้ำในแม่น้ำโขง จากเดิม 3 วันล่วงหน้า เป็น 5 วันล่วงหน้า เพื่อให้ประเทศไทยสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในการวางแผนเตรียมรับสถานการณ์ในแม่น้ำโขงได้อย่างต่อเนื่อง โดยทาง MRCS ได้เริ่มดำเนินการให้แล้วตั้งแต่วันที่ 26 ก.ค. 64 และ สทนช. ได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์คาดการณ์ สรุปผลการคาดการณ์เป็นดังนี้

 


- สถานีเชียงแสน จ.เชียงราย มีแนวโน้มลดลง

 


- สถานีเชียงคาน จ.เลย คาดการณ์ว่าระดับน้ำจะเริ่มลดลงในวันนี้ (27 ก.ค. 64) โดยระดับน้ำปัจจุบัน ณ เวลา 11.45 น. อยู่ที่ 10.56 ม. (ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 5.44 ม.)

 


- สถานีหนองคาย จ.หนองคาย คาดการณ์ว่าระดับน้ำจะสูงสุดในวันพรุ่งนี้ (27 ก.ค. 64) อยู่ที่ระดับ 7.82 ม. (ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 4.38 ม.) และจะเริ่มลดลงในวันที่ 28 ก.ค. 64

 


- สถานีนครพนม จ.นครพนม คาดการณ์ว่าระดับน้ำจะสูงสุดในวันที่ 29 ก.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 7.86 ม. (ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 4.14 ม.) และจะเริ่มลดลงในวันที่ 30 ก.ค. 64

 


- สถานีมุกดาหาร จ.มุกดาหาร คาดการณ์ว่าระดับน้ำจะสูงสุดในวันที่ 30 ก.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 8.10 ม. (ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 4.40 ม.) และจะเริ่มลดลงในวันที่ 31 ก.ค. 64

 


- สถานีโขงเจียม จ.อุบลราชธานี คาดการณ์ว่าระดับน้ำมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยวันที่ 31 ก.ค. 64 ระดับน้ำอยู่ที่ 11.90 ม. (ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 2.60 ม.) 

 

 

 

ทั้งนี้ กอนช. จะติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขงอย่างใกล้ชิด หากมีสถานการณ์เปลี่ยนแปลงจะได้แจ้งให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมการเฝ้าระวังผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ส่วนสถานการณ์น้ำที่แม่น้ำยัง คาดการณ์ระดับน้ำที่อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด จะเพิ่มขึ้นถึงระดับตลิ่งลำน้ำ ในวันนี้ (27 ก.ค.64) 

 

 

ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมการป้องกันเป็นการล่วงหน้า หากมีฝนตกเพิ่มในระยะต่อจากนี้ และขอให้เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำล้นตลิ่งบริเวณที่ลุ่มต่ำซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพื้นการเกษตรและชุมชนด้วย 

 

 

 

ข้อมูลจาก กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ , กระทรวงมหาดไทย

 

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง