รีเซต

'กล่องสุ่ม' ตีตลาดเจน Z ในจีน ผู้เชี่ยวชาญเตือนระวังเสพติด

'กล่องสุ่ม' ตีตลาดเจน Z ในจีน ผู้เชี่ยวชาญเตือนระวังเสพติด
Xinhua
25 ธันวาคม 2563 ( 21:29 )
127
'กล่องสุ่ม' ตีตลาดเจน Z ในจีน ผู้เชี่ยวชาญเตือนระวังเสพติด

กว่างโจว, 25 ธ.ค. (ซินหัว) -- จวงฉู่เสียน วัย 26 ปี ตื่นเต้นกับกล่องสุ่มตุ๊กตาซอนนี่แอนเจิล (Sonny Angel) ชิ้นแรกของเธอมาก และเธอได้ตุ๊กตาที่ใส่หมวกหัวแกะตัวหนึ่งมาจากกล่องนี้

 

ระหว่างขลุกตัวอยู่ในแวดวงตุ๊กตาซอนนี่แอนเจิลตลอด 5 ปี เธอเก็บสะสมหุ่นฟิกเกอร์ในซีรีส์ต่างๆ ได้มากกว่า 30 ตัวแล้ว "ฉันชอบเวลานำมาจัดเรียงบนโต๊ะทำงานหรือขอบหน้าต่าง มันดึงความเป็นเด็กในตัวฉันออกมาได้" เธอกล่าวกล่องสุ่มเป็นอะไรที่เรียบง่ายแต่น่าตื่นเต้น ผู้บริโภคไม่รู้ล่วงหน้าว่าจะได้หุ่นฟิกเกอร์ตัวไหนจนกว่าจะแกะกล่องออกมา "รางวัลที่เปลี่ยนแปลงได้" นี้สร้างความสนุกสนานมากขึ้นเป็นพิเศษ บางคนอาจได้สิ่งที่ต้องการ ในขณะที่บางคนอาจจะไม่ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับโชคกล่องปริศนาหรือกล่องสุ่ม มีต้นกำเนิดมาจากกาชาปองและถุงโชคดีของญี่ปุ่น

 

ขณะที่ในประเทศจีน แนวคิดนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในกลุ่มคนรุ่นเจนแซด หรือผู้ที่เกิดในช่วงกลางทศวรรษ 90 และต้นปี 2000รายงานที่เผยแพร่โดยม็อบเทค (MobTech) แพลตฟอร์มข้อมูลอัจฉริยะระบุว่า ผู้บริโภคหลักของกล่องสุ่มในจีน คือสาวออฟฟิศและนักศึกษามหาวิทยาลัยวัยเจนแซดในเมืองระดับหนึ่ง โดยผู้ซื้อที่เป็นเพศหญิงคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 62.6รายงานคาดการณ์ว่าตลาดกล่องสุ่มของจีนจะเติบโตเกิน 3 หมื่นล้านหยวน (ประมาณ 1.37 แสนล้านบาท)

 

ภายในปี 2024รายงานอีกฉบับจากทีมอลล์ (Tmall) ยักษ์ใหญ่ด้านอีคอมเมิร์ซของอาลีบาบา ก็ยืนยันถึงการเติบโตของตลาดดังกล่าวเช่นกัน โดยแสดงให้เห็นว่าคอลเลกชันหุ่นฟิกเกอร์กลายเป็นงานอดิเรกที่ได้รับความนิยมสูงสุดในหมู่ผู้บริโภคที่เกิดหลังปี 1995 แซงหน้ารองเท้าแฟชันและอีสปอร์ตรายงานยังระบุว่าผู้บริโภคราว 200,000 คนใช้เงินมากกว่า 20,000 หยวนในปีที่ผ่านมาซื้อกล่องสุ่มในทีมอลล์ราคากล่องสุ่มอยู่ที่ระหว่าง 49-100 หยวน

 

นักจิตวิทยาและนักสังเกตการณ์ทางสังคมกล่าวว่ากล่องสุ่มมอบความรู้สึกคล้ายกับคำกล่าวที่ว่า "ชีวิตก็เหมือนกล่องช็อคโกแลต ที่เราไม่รู้ว่าจะเปิดมาเจอกับอะไร" ให้แก่ผู้บริโภคในราคาที่ไม่สูงนักเว่ยเหวินฉี รองศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยครูหัวหนาน กล่าวว่าความเจริญที่เพิ่มขึ้นในจีนทำให้คนรุ่นใหม่ยุคมิลเลนเนียลให้ความสำคัญกับ "คุณค่าทางความรู้สึก" ของผลิตภัณฑ์มากกว่าฟังก์ชันการใช้งานผู้บริโภคสามารถรับความพึงพอใจจากการซื้อกล่องสุ่มได้ทันที และ "เซอร์ไพรส์ที่ซ่อนอยู่"

 

ในกล่องนั้นก็ทำให้เกิดความรู้สึกสมหวังผู้ตอบแบบสอบถามหลายคนเห็นว่าการซื้อกล่องสุ่มเป็นวิธีง่ายที่สุดวิธีหนึ่งในการเพิ่มความสุขของตน ทั้งยังเป็นสื่อกลางในการติดต่อทางสังคม เนื่องจากนักสะสมสามารถแลกเปลี่ยนหุ่นฟิกเกอร์ที่ซ้ำกัน หรือนำไปปล่อยขายในตลาดมือสองได้"ในยุคแห่งข้อมูลข่าวสารที่ผู้คนห่างเหินกันมากขึ้นเรื่อยๆ กล่องสุ่มช่วยให้พวกเขาได้รู้จักกับคนที่มีความชอบคล้ายคลึงกัน และค้นพบความรู้สึกของการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม" เว่ยกล่าวอย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญยังเตือนถึงอันตรายของการเสพติดและการบริโภคมากเกินไปที่เชื่อมโยงกับกล่องสุ่มเหล่านี้ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น"เราสามารถใช้จ่ายเพื่อความสุขได้ แต่มันไม่ควรเกิดขึ้นจากอารมณ์ชั่ววูบ" เว่ยกล่าว พร้อมแนะนำผู้ปกครองและหน่วยงานให้ความสนใจกับเรื่องนี้มากขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง