นักวิจัยอิสราเอล-รัสเซีย พบยีนเอี่ยว 'การแก่ชราแบบสุขภาพดี'
เยรูซาเล็ม, (5 เม.ย.) ซินหัว -- เมื่อวันอาทิตย์ (4 เม.ย.) มหาวิทยาลัยเบนกูเรียน (BGU) ทางตอนใต้ของอิสราเอล แถลงว่าคณะนักวิจัยชาวอิสราเอลและรัสเซียได้ค้นพบยีนจำนวนหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อความชราที่มีโรค (pathological aging) แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อความชราตามปกติ
มหาวิทยาลัยฯ ระบุว่าจากการค้นพบดังกล่าว การทดสอบความเปลี่ยนแปลงในยีนกลุ่มหนึ่งอาจบอกได้ว่าแต่ละคนมีแนวโน้มแก่ชราอย่างมีสุขภาพดีหรือไม่ ขณะเดียวกันคณะนักวิจัยยังสามารถจำแนกได้ว่ายีนตัวไหนมีคุณสมบัติดีกว่าในการการรักษาแบบตรงจุด ซึ่งสามารถป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้
การศึกษาฉบับหนึ่ง ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารเอจจิง (Aging) คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฯ และสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสโกลโกวา (SIST) ในกรุงมอสโก เมืองหลวงของรัสเซีย วิเคราะห์บทบาทของยีนเอสไออาร์ที6 (SIRT6) ในการแก่ชรา
ยีนตัวดังกล่าวมีบทบาทซ่อมแซมดีเอ็นเอ โดยหนึ่งในสาเหตุหลักของการแก่ชราคือการสะสมความเสียหายของดีเอ็นเอที่ไม่ได้รับการซ่อมแซม ซึ่งสามารถนำไปสู่โรคความเสื่อมของระบบประสาทชนิดต่างๆ ได้ เช่น โรคพาร์กินสัน (Parkinson's ) และโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's)