รีเซต

ศึกรัสเซีย-ยูเครนดันพลังงานทางเลือกพุ่งกระฉูดแค่ไหน

ศึกรัสเซีย-ยูเครนดันพลังงานทางเลือกพุ่งกระฉูดแค่ไหน
TNN ช่อง16
8 พฤษภาคม 2565 ( 13:25 )
184

ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่กินเวลากว่า 2 เดือน ทำให้หลายประเทศทั้งสหรัฐฯ และยุโรป ออกมาแสดงจุดยืนต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้น ประเทศทางภูมิภาคเอเชียอย่างญี่ปุ่นก็ออกมาแสดงจุดยืนด้วยการคว่ำบาตรรัสเซีย 


อย่างไรก็ดี แม้ในช่วงหลังๆ ความกังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้เริ่มลดน้อยลงเนื่องจากมีสัญญาณที่ดีขึ้น แต่คาดว่าคงต้องใช้เวลาอีกสักพักกว่าที่ความขัดแย้งจะยุติลงและจากการที่รัสเซียขู่ระงับการส่งออกพลังงานและน้ำมันให้แก่สหภาพยุโรป กลายเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ทั่วโลกตื่นตัวและเป็นแรงผลักดันสำคัญให้การใช้พลังงานทางเลือกมาถึงเร็วขึ้นกว่าเดิม เพราะยุโรปต้องพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียเป็นหลัก 


โดยปริมาณก๊าซธรรมชาติและถ่านหินที่ยุโรปใช้ทั้งหมดราว 45% และน้ำมันกว่า 27% ถูกนำเข้ามาจากรัสเซียทั้งสิ้น  นอกจากนี้รัสเซียยังบังคับให้กลุ่มประเทศที่ไม่ได้เป็นพันธมิตรจ่ายค่าพลังงานในสกุลเงินรูเบิ้ลของรัสเซีย 


ซึ่งก็ได้สร้างความวุ่นวายต่อธนาคารกลางในกลุ่มประเทศนี้ด้วยการเป็นผู้ส่งออกก๊าซธรรมชาติ น้ำมันและถ่านหินลำดับต้นๆ ของรัสเซียทำให้คำขู่นั้นส่งผลเป็นวงกว้าง กระทบตั้งแต่ภาคการผลิตไปจนถึงภาคการบริโภค สหภาพยุโรปต้องเผชิญกับปัญหาต้นทุนด้านพลังงานที่สูงขึ้น


แม้จะสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยกระจายการนำเข้าพลังงานจากผู้ผลิตรายอื่นๆ เช่น นำเข้าน้ำมันจากกลุ่มประเทศ OPEC ซึ่งก็ต้องใช้ระยะเวลามากกว่าหนึ่งไตรมาสในการหาปริมาณน้ำมันที่สามารถทดแทนได้ หรือ การนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากสหรัฐฯ และถ่านหินจากออสเตรเลีย เป็นต้น


ทางออกในระยะสั้นนี้ ช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ระยะหนึ่งเท่านั้น เพราะสหภาพยุโรปยังคงต้องพึ่งพาแหล่งพลังงานจากประเทศอื่นอยู่ดี ดังนั้น คณะกรรมาธิการยุโรป หรือ European Commission จึงได้ประกาศร่างมาตรการที่เรียกว่า “REPowerEU” ที่มีเป้าหมายคือการตัดขาดการพึ่งพาพลังงานที่นำเข้าจากรัสเซียภายในปี 2030 และเร่งการนำพลังงานทดแทนหรือพลังงานหมุนเวียน อาทิ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานความร้อนใต้พิภพ มาใช้เพื่อทำให้สหภาพยุโรปมีแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนในระยะยาวและสามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเอง


 ปัจจุบัน ประเทศในยุโรปอย่าง สวีเดน ไอซ์แลนด์ และนอร์เวย์ มีสัดส่วนการผลิตพลังงานจากพลังงานหมุนเวียนภายในประเทศมากกว่าครึ่งหนึ่งแล้ว

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้สหภาพยุโรปตระหนักได้ว่าการพึ่งพาทรัพยากรและแหล่งพลังงานจากประเทศอื่นเป็นจำนวนมาก อาจเป็นข้อต่อรองที่ทำให้รับภาระหนักอึ้งได้


 โดยเฉพาะทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างน้ำมัน ถ่านหิน แร่ธาตุหรือก๊าซธรรมชาติ การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาดจึงมีความสำคัญ เพราะเป็นกลุ่มพลังงานทางเลือกที่ไม่หมดไปและยังเป็นคำตอบของการขับเคลื่อนเข้าสู่โลกที่ยั่งยืนหรือ Sustainabilityตลอดระยะเวลา 14 ปีที่ผ่านมา เฉพาะส่วนของพลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาดมีเงินลงทุนไหลเข้ามาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยในปี 2021 พบว่ามีเม็ดเงินลงทุนเพิ่มเข้ามาอยู่ในระดับที่มากถึง 7.55 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งปรับขึ้นจากปีก่อนๆ กว่า 27% 


เห็นได้ว่าโลกกำลังให้ความสนใจพลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาดมากกว่าพลังงานดั้งเดิมอย่างน้ำมันและถ่านหิน เช่น


    หุ้นพลังงานหมุนเวียนหรือ Renewable Energy มีเม็ดเงินไหลเข้าลงทุนกว่า 3.6 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 6.5% หนุนจากการเข้าลงทุนโดยเฉพาะในด้านของพลังงานลมและพลังแสงอาทิตย์


    Electrified Transport ที่รวมถึงรถยนต์ EV และ โครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับการเดินทางด้วยระบบไฟฟ้า ปรับเพิ่มขึ้นจากปีก่อนมากถึง 77%

    นอกจากนี้ Bloomberg ยังคาดว่าจะมีเงินลงทุนจากทั่วโลกในปี 2022 ไหลเข้ามาในด้านของพลังงานสะอาดอย่างมหาศาล โดยได้รับแรงหนุนจากบริษัทผู้นำทางด้านรถยนต์และรัฐบาลทั่วโลกพยายามผลักดันการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่แพร่หลายมากขึ้นเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ Net-Zero Economy


นี่คือจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่เชื่อว่าจะเป็นแรงผลักดันให้การใช้พลังงานทางเลือกมาถึงเร็วขึ้นกว่าเดิม ด้วยปัจจัยที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ภาวะโลกร้อน ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และจุดหมายที่นักลงทุน บริษัทผู้ประกอบการและรัฐบาลเริ่มหันมาให้ความสนใจพลังงานทางเลือกกันมากขึ้นเพื่อก้าวเข้าสู่ Net-Zero Economy


ทั้งนี้ หากนักลงทุนมีความสนใจอยากลงทุนในเรื่องของพลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียนและสิ่งแวดล้อม KBank Private Banking แนะนำให้ลงทุนในกองทุน K-CHANGE และ K-CLIMATE ซึ่งจะตอบรับกับแนวโน้มการขับเคลื่อนเข้าสู่โลกที่ยั่งยืนได้เป็นอย่างดี


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง