รีเซต

สุดสะพรึง! พบปลาประหลาด มีฟันแหลมคม 555 ซี่ โตเต็มวัยสูงสุด 1.5 เมตร

สุดสะพรึง! พบปลาประหลาด มีฟันแหลมคม 555 ซี่ โตเต็มวัยสูงสุด 1.5 เมตร
ข่าวสด
19 พฤศจิกายน 2564 ( 18:20 )
312

สิ่งมีชีวิตบนโลกแห่งนี้มีหลากหลายสปีชีส์ที่ยังไม่มีการสำรวจ พบเห็น หรือศึกษาอย่างละเอียด รวมไปถึงปลาลิงคอดแปซิฟิก (Pacific lingcod) ในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ

 

ตามของ Live Science ดร. คาร์ลี โคเฮน ด้านชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน กล่าวว่า "ทุกพื้นผิวของกระดูกในปากของปลาถูกปกคลุมด้วยฟัน" ซึ่งมีฟันมากที่สุดในโลก โดยมีฟันประมาณ 555 ซี่เรียงรายไปด้วยขากรรไกรทั้งสองชุด

 

ปลาลิงคอดแปซิฟิก (Pacific lingcod) หรือ Ophiodon elongatus เป็นปลานักล่าที่น่าสะพรึงกลัว พบในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ

 

เมื่อโตเต็มวัยจะมีความยาวถึงประมาณ 50 เซนติเมตร แต่มีรายงานว่าบางตัวโตได้ถึง 1.5 เมตร โดยมีฟันหลายร้อยซี่เรียงอยู่ในปากโดยที่ฟันทั้งหมดนั้นคมกริบ

 

 

 

ปลาลิงคอดไม่มีฟันเหมือนมนุษย์ แต่มีฟันที่แหลมคมและมีขนาดเล็กมากแทบจะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าครอบคลุมนับร้อยบนกราม

 

เพดานแข็งของพวกมันยังปกคลุมไปด้วยหินงอกหินย้อยเล็ก ๆ หลายร้อยก้อน และด้านหลังชุดกรามยังมีชุดกรามเสริมอีกชุดหนึ่งที่เรียกว่ากรามคอหอย

 

ซึ่งปลาใช้ในการเคี้ยวอาหารในลักษณะเดียวกับที่มนุษย์ใช้ฟันกราม เนื่องจากฟันของปลาลิงคอดมีขนาดเล็กมาก การค้นหาว่าปลาเหล่านี้สูญเสียฟันได้เร็วแค่ไหนจึงไม่ใช่เรื่องง่าย

 

 

 

คาร์ลี และหัวหน้าทีมวิจัย เอมิลี คาร์ นักศึกษาชีววิทยาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยเซาท์ฟลอริดา เก็บปลาลิงคอด 20 ตัวในตู้ปลาที่ห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน

 

โดยนักวิจัยจับปลาลิงคอดไว้ในตู้ปลาที่เต็มไปด้วยสีย้อมที่ผสมสีแดงเจือจาง ทำให้ฟันของปลาเป็นสีแดง ต่อมานักวิจัยทำการย้ายปลาไปที่ตู้ปลาที่เต็มไปด้วยสีย้อมสีเขียวเรืองแสง เพราะจะทำให้ฟันของปลากลายเป็นคราบชัดเจน

 

 

เมื่อเอมิลีวางกระดูกฟันปลาไว้ใต้กล้องจุลทรรศน์ในห้องปฏิบัติการที่มืด และคำนวณอัตราส่วนของฟันสีแดงกับฟันสีเขียวทั่วกระดูกฟันทั้งหมดในปากของปลาลิงคอด รวมแล้วเธอนับฟันได้กว่า 10,000 ซี่จากทั้งหมด 20 ตัว จึงชี้ให้เห็นว่าปลาเหล่านี้สูญเสียฟัน ในอัตราที่น่าอัศจรรย์โดยเฉลี่ย 20 ซี่ต่อวัน

 

ยกตัวอย่างเช่น ปากคอหอยดูเหมือนจะสูญเสียฟันเร็วกว่าส่วนอื่น ๆ โดยการศึกษายังพยายามค้นหาว่าการให้อาหารปลาลินคอดที่ไม่เหมือนกันจะสร้างความแตกต่างให้กับฟันที่ถูกแทนที่หรือไม่ คาร์ลีระบุว่า "การให้อาหารปลานั้นไม่มีการเปลี่ยนให้ฟันเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงยังคงเป็นปริศนา"

 

ตามที่โคลี อีวาน นักนิเวศวิทยาปลาจากมหาวิทยาลัยไรซ์ของฮูสตัน ซึ่งไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษากล่าวในนิวยอร์กไทม์ว่า

 

“ยิ่งฟันของปลาลิงคอดทื่อเท่าไหร่ มันก็จะยิ่งจับเหยื่อได้ยากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น ความสามารถในการผลัดฟันและเปลี่ยนฟันจึงมีความสำคัญมาก อีกทั้งฟันทั้งหมดจะต้องอยู่ในจุดที่ถูกต้อง”

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง