รีเซต

นักวิจัยจีนพัฒนากลยุทธ์ใหม่รักษา 'มะเร็งเต้านม' ชนิดลุกลามร้ายแรง

นักวิจัยจีนพัฒนากลยุทธ์ใหม่รักษา 'มะเร็งเต้านม' ชนิดลุกลามร้ายแรง
Xinhua
5 มกราคม 2567 ( 19:29 )
40

(แฟ้มภาพซินหัว : แพทย์ดูแลผู้ป่วยที่โรงพยาบาลในนครเสิ่นหยาง มณฑลเหลียวหนิงทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน วันที่ 2 ม.ค. 2024)

เซี่ยงไฮ้, 5 ม.ค. (ซินหัว) -- คณะนักวิทยาศาสตร์ของจีนได้พัฒนากลยุทธ์ใหม่ในการรักษาโรคมะเร็งเต้านมชนิดลุกลามร้ายแรง ซึ่งเปลี่ยนเนื้องอกร้ายที่ดื้อต่อการรักษาให้อยู่ในสถานะที่สามารถรักษาได้มากขึ้น โดยแนวทางใหม่นี้สามารถบูรณาการเข้ากับแนวทางการรักษาที่มีอยู่เดิม เพื่อปรับปรุงผลลัพธ์ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิดไม่มีสามตัวรับ (triple-negative)

ผลการศึกษาจากวารสารไซเอนซ์ ทรานสเลชันนัล เมดิซิน (Science Translational Medicine) เมื่อวันพฤหัสบดี (4 ม.ค.) ระบุว่าคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฟู่ตั้นของจีนได้วิเคราะห์เมตาบอลิซึมของตัวอย่างเนื้องอกร้ายจากผู้ป่วยที่มีระดับความบกพร่องของกระบวนการซ่อมแซม (HRD) แตกต่างกัน จำนวน 401 ราย

รายงานระบุว่าระดับความบกพร่องของกระบวนการซ่อมแซมที่แตกต่างกันนั้นสะท้อนการตอบสนองของเนื้องอกร้ายต่อยาที่สร้างความเสียหายแก่ดีเอ็นเอ (DNA) ของมัน โดยผู้ป่วยที่มีระดับความบกพร่องดังกล่าวต่ำมีแนวโน้มที่จะไม่เกิดการตอบสนองข้างต้น

คณะนักวิจัยยังบ่งชี้โมเลกุลตัวหนึ่งชื่อจีดีพี-เอ็ม (GDP-M) ซึ่งขัดขวางการซ่อมแซมของดีเอ็นเอในเซลล์เนื้องอกร้ายและเพิ่มระดับความบกพร่องของกระบวนการซ่อมแซมในผู้ป่วย โดยส่งเสริมการย่อยสลายของโปรตีนที่เกี่ยวพันกับมะเร็งเป็นหลัก

ขณะผลการทดลองกับหนูทดลองพบว่าโมเลกุลข้างต้นทำให้เนื้องอกร้ายที่เต้านมตอบสนองต่อยาที่ทำปฏิกิริยากับดีเอ็นเอ เช่น ซิสพลาติน (cisplatin) และกระตุ้นภูมิคุ้มกันต้านเนื้องอก โดยโมเลกุลนี้ยังแสดงความสามารถเพิ่มศักยภาพของยารักษามะเร็งเต้านมแบบมุ่งเป้าที่ชื่อพีเออาร์พี (PARP) อีกด้วย

อนึ่ง คณะนักวิจัยระบุว่าการค้นพบใหม่นี้บ่งชี้กลยุทธ์ทางคลินิกที่ผสมผสานโมเลกุลจีดีพี-เอ็ม กับการบำบัดแบบมุ่งเป้าที่การซ่อมแซมดีเอ็นเออื่นๆ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง