รีเซต

“จุลพันธ์”ยันออกพ.ร.บ.งบประมาณเพิ่มเติมไม่กระทบไทม์ไลน์แจกเงินดิจิทัล

“จุลพันธ์”ยันออกพ.ร.บ.งบประมาณเพิ่มเติมไม่กระทบไทม์ไลน์แจกเงินดิจิทัล
ทันหุ้น
21 พฤษภาคม 2567 ( 14:12 )
3
“จุลพันธ์”ยันออกพ.ร.บ.งบประมาณเพิ่มเติมไม่กระทบไทม์ไลน์แจกเงินดิจิทัล

#ทันหุ้น “จุลพันธ์”ยันการออกพ.ร.บ.งบประมาณเพิ่มเติมไม่กระทบไทม์ไลน์แจกเงินดิจิทัลของรัฐบาล แจงเหตุที่ออกเพราะงบ 67 เบิกจ่ายได้ดี ทำให้ไม่สามารถเกลี่ยมาใช้ในโครงการดังกล่าวได้ คาดสรุปวงเงินและรายละเอียดเสนอครม.ภายใน 2 สัปดาห์

 

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติให้รัฐบาลออกพ.ร.บ.งบประมาณเพิ่มเติมในปี 2567 เพื่อนำมาใช้จ่ายในโครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต ส่วนจำนวนเงินงบประมาณเพิ่มเติมจะเป็นจำนวนเท่าไหร่ ครม.ได้มอบหมายให้ 4 หน่วยงานเศรษฐกิจ ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง สภาพัฒน์ สำนักงบประมาณ และ ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นผู้พิจารณาร่วมกัน

 

เขากล่าวว่า การจัดทำงบประมาณเพิ่มเติมนั้น มีขั้นตอนในทางปฏิบัติที่ 4 หน่วยงานหลักจะต้องเข้ามาร่วมพิจารณา ซึ่งต้องเป็นไปตามกรอบกฎหมาย อาทิ พ.ร.บ.งบประมาณ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง และ พ.ร.บ.บริหารหนี้สาธารณะ คาดว่า จะใช้เวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์ ในการพิจารณา เพราะมีสาระสำคัญของกฎหมายไม่กี่ข้อ เมื่อพิจารณาแล้วเสร็จก็จะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของครม.จากนั้น ก็เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร ยืนยัน ไม่กระทบไทม์ไลน์การแจกเงินดิจิทัลของรัฐบาล

 

สำหรับเหตุที่รัฐบาลต้องออกพ.ร.บ.งบประมาณเพิ่มเติมในปีงบประมาณ 2567 เพราะหนึ่งในแหล่งเงินเดิมที่รัฐบาลเตรียมนำมาใช้จากการเกลี่ยงบประมาณรายจ่ายในปี 2567 นั้น ไม่เพียงพอ เนื่องจาก การเบิกจ่ายงบประมาณในปี 2567 นั้น ค่อนข้างดี ทำให้ไม่สามารถจัดสรรไปใช้ในโครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ตได้ ขณะเดียวกัน ก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กระทรวงการคลังไปหาแนวทางการหาแหล่งเงิน โดยหนึ่งในแนวทาง คือ การทำงบประมาณเพิ่มเติม

 

ทั้งนี้ 3 แหล่งเงินที่จะนำมาใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ประกอบด้วย 1.จากการเกลี่ยงบประมาณรายจ่ายปี 2567 จำนวน 1.75 แสนล้านบาท, จากงบประมาณ 2568จำนวน 1.527 แสนล้านบาท และจากพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง มาตรา 28 อีก 1.723 แสนล้านบาท รวมเป็น 5 แสนล้านบาท

 

ส่วนแหล่งเงินที่รัฐบาลจะนำมาใส่ในงบประมาณเพิ่มเติมดังกล่าวนั้น จะมาจาก 2 ส่วนหลัก คือ 1.การจัดเก็บรายได้ใหม่ ซึ่งเดิมยังไม่ถูกบรรจุไว้ในแผนการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2567 และ 2.การขาดดุลเพิ่มเติม

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง